นายจ้างไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น|นายจ้างไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น

นายจ้างไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นายจ้างไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น

ดิฉันเป็นพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง

บทความวันที่ 11 เม.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 2516 ครั้ง


นายจ้างไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่น

         ดิฉันเป็นพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่งที่บริษัทให้ไปประจำเพื่อขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าค่ะ บริษัทได้ฝากเอกสารเพื่อให้ห้างแสตมบิลเพื่อสั่งจ่ายเงินให้แก่บริษัท ซึ่งไม่ใช้หน้าที่ของเรา (แต่ยอมทำให้ทุกครั้งที่สั่งให้ทำ)แต่มีวันหนึ่งไปแสตมบิลให้ไม่ทันกำหนดเวลา บริษัทแจ้งว่าจะไม่จ่ายเงินเดือนและค่าคอมมิชชั่นรวมถึงรายได้ทั้งหมดในเดือนนี้ให้จะเลื่อนไปจ่ายให้ต่อเมื่อห้างจ่ายเงินให้บริษัทแล้วเท่านั้น  อย่างนี้เราจะร้องเรียนไปมั้ยค่ะ  และถ้าได้ต้องดำเนินการอย่างไร และร้องเรียนได้ที่ไหน


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          เงินเปอร์เซ็นต์การขายหรือเงินค่าคอมมิชชั่นที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยไม่กำหนดตายตัว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสินค้าที่ขายได้ในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทุกเดือนตามผลงาน ไม่ใช่จ่ายให้เป็นครั้งคราว ถือได้ว่าเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน เงินเปอร์เซ็นต์การขายถือเป็นค่าจ้าง ดังนั้น หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือค่าคอมมิชชั่นดังกล่าว ลูกจ้างอาจร้องเรียนนายจ้างต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ๆลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่เพื่อทำการสอบสวนและมีคำสั่งกับนายจ้างต่อไป

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก