การชี้ตัวผู้ต้องหาผิดตัว |การชี้ตัวผู้ต้องหาผิดตัว

การชี้ตัวผู้ต้องหาผิดตัว

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การชี้ตัวผู้ต้องหาผิดตัว

เมื่อเช้ามีข่าวเกี่ยวกับเรื่องการชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา

บทความวันที่ 5 เม.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4786 ครั้ง


การชี้ตัวผู้ต้องหาผิดตัว 


           เมื่อเช้ามีข่าวเกี่ยวกับเรื่องการชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา โทรมหญิง ผู้เสียหายชี้ผิดตัว ทำให้จับแพะไปส่งศาลและติดคุกถึง 5 ปี เพิ่งจะมาทราบความจริงภายหลังว่า ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดตัวจริง จนทำให้ญาติจำเลยไปร้องขอรื้อฟื้นคดีใหม่ ซึ่งทำได้ตามกฎหมาย แต่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ หลายท่านถามว่า การชี้ตัวผู้ต้องหาหมายถึงอะไร ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเพื่อพิสูจน์ความผิดจำเลย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 การชี้ตัวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบสวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 133 วรรคห้า แต่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการชี้ตัวทุกคนคดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 2834/2550) ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นต้องชี้ตัวเท่านั้น และขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 133 วรรคห้า 

           ในทางปฏิบัติมีทั้งการชี้รูปและชี้ตัวผู้ต้องหา บางคดีชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนก็นำภาพผู้ต้องสงสัยมาให้ดูก่อนเป็นการชี้นำ ทั้งที่ผู้เสียหายและพยานอาจจำไม่ได้หรือไม่แน่ใจ หรือไม่เห็นเหตุการณ์จริง อันเป็นการชี้แพะ  แต่ในประเทศไทยไม่มีการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในเรื่องนี้ ทำให้เกิดช่องว่าง ให้ตำรวจที่ไม่ดีต้องการปิดคดีไวๆ ชี้นำให้พยานชี้บุคคลที่ตัวเองสงสัยเพื่อสร้างผลงานในการจับกุมก็มีแต่ตำรวจที่ดีๆ ก็มีเยอะ ตำรวจที่ไม่ดีก็เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ 

          ดังนั้นหากผู้ต้องหาคนใด พนักงานสอบสวนจะจัดให้มีการชี้ตัวควรแจ้งทนายความเข้าร่วมการชี้ตัวด้วย และหากเป็นการชี้ผิดตัวก็ต้องรีบหาหลักฐานมาหักล้างโดยเร็ว มิฉะนั้น อาจต้องกลายเป็นแพะเหมือนคดีนี้

ตัวบทกฎหมายอ้างอิงเกี่ยวกับการชี้ตัว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          มาตรา 131  ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
          มาตรา 133 พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายแล้วให้ถามปากคำบุคคลนั้นไว้
          การถามปากคำนั้นพนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานบุคคล
          ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ
            ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิง ให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ ผู้เสียหายจะขอให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำนั้นด้วยก็ได้
           ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทำความผิดในชั้นจับกุมหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีการยืนยันตัวผู้กระทำความผิดหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถจะป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายหรือพยานเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณี เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอม และให้บันทึกความยินยอมนั้นไว้
           มาตรา 133 ตรี  ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีชี้ตัวบุคคลใด ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็ก โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการชี้ตัวบุคคลนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย
           ในกรณีการชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้นเห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2550
           การที่จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ตรี เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้เด็กหญิง ณ. ผู้เสียหายชี้ตัวนั้น แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่างอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้และเห็นว่า มาตรา 133 ตรี หาใช่บทบัญญัติที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวทุกคดีไม่ กรณีเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะจัดให้มีการชี้ตัวหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ว่าหากจัดให้มีการชี้ตัวต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดให้มีการชี้ตัวจึงไม่มีกรณีที่จะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก