กรณีที่ถือว่าจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล|กรณีที่ถือว่าจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล

กรณีที่ถือว่าจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กรณีที่ถือว่าจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล

พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาโดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยถูกจำคุกอยู่

บทความวันที่ 4 เม.ย. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3033 ครั้ง


กรณีที่ถือว่าจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2518
            พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาโดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยถูกจำคุกอยู่ในคดีอื่นของศาลนั้นแต่ได้หลบหนีไปจากเรือนจำเสียแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อโจทก์ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในขณะที่ยื่นฟ้องและจำเลยมิได้ถูกศาลสั่งขังไว้ในคดีนี้ทั้งข้อเท็จจริงก็ต่างกับคดีตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2514 ศาลย่อมไม่รับประทับฟ้อง

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2493
            อัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญา และยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย เพราะได้เคยฝากศาลขังไว้ในระหว่างสอบสวนจนพนักงานอัยการขอให้ศาลปล่อยไปแล้วนั้น ศาลย่อมไม่รับประทับฟ้องเพราะอัยการมีหน้าที่จะต้องจัดการให้ตัวจำเลยมาศาลเวลายื่นฟ้อง ตามที่ได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 515/2491

3.จำเลยได้หลบหนีประกันที่ได้รับการประกันตัวไปแล้ว พนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยอีกคดีหนึ่งโดยไม่นำตัวจำเลยมาศาลไม่ได้ เพราะไม่ถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจของศาล

4.จำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน และได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจไม่เกี่ยวกับอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2545
             พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์มีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 165 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการโจทก์คุมตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องนั้นสามารถนำมาใช้บังคับแก่คดีเด็กหรือเยาวชนได้ และไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาแล้วมีการประกันตัวไป แต่ภายหลังสถานพินิจดังกล่าวไม่อาจส่งตัวจำเลยต่อศาลในวันฟ้องได้เนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี กรณีจึงเป็นเรื่องระหว่างการควบคุมตัวจำเลยในชั้นสอบสวนโดยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาลประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ที่แก้ไขใหม่ก็มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้เดิมทั้งในปัจจุบันสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรก็เป็นหน่วยงานที่แยกออกไปจากศาลแล้ว ดังนั้น ในชั้นควบคุมตัวจำเลยในสถานพินิจจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราวถือว่าจำเลยหรือผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2529
           การฟ้องคดีอาญาต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงจะดำเนินคดีได้ ถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการไปต่างประเทศไม่อยู่ในขณะฟ้อง ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่าไม่มีตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้อง ศาลรับฟ้องไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165
           ห้างจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ร. มีอำนาจแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ในกิจการเช่นสำรวจแร่ ทำเหมือง ฯลฯ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ พ.ศ.2514ดังนี้ ห้างจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ ร.ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งการมอบอำนาจให้ร. เป็นเวลาภายหลังจากห้างจำเลยได้กระทำความผิดอาญาแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ร. ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยการมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจดังกล่าว การดำเนินคดีนี้ของ ร. จึงไม่ผูกพันห้างจำเลยและคำพิพากษาก็ไม่ผูกพันห้างจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยึดทรัพย์ของห้างจำเลยมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษาได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก