ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์|ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์

ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์

ทำงานอยู่แผนกสโตร์ อายุงาน 5 ปี นายจ้างเก่าขายกิจการให้นายจ้างใหม่

บทความวันที่ 7 มี.ค. 2556, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3356 ครั้ง


ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์

    
           ทำงานอยู่แผนกสโตร์ อายุงาน 5 ปี นายจ้างเก่าขายกิจการให้นายจ้างใหม่ จึงต้องเช็คสต๊อกส่งมอบกัน ผลการเช็คสต๊อกมีรายการไม่ตรงกับรายการในบัญชีสินค้าคงเหลือ นายจ้างใหม่จึงออกหนังสือเลิกจ้างข้อหาลักทรัพย์ ทั้งที่ชี้แจงให้รับทราบแล้วเป็นลายลักษณ์อักษร  ถึงรายละเอียดของผลต่าง และผู้ที่ควรรับผิดชอบ เรามีหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้จัดการทำงานแทนเรา  ช่วงที่ลาหยุดงาน มาทำงานตามเวลาทำงานปกติเช้ามาทำงานเย็นกลับ  ไม่ได้ถือหรือเอาทรัพย์สินใดๆ ในบริษัทฯ ออกไปด้วย กุญแจห้องสโตร์หัวหน้างานและผู้จัดการคนอื่นอีก 2 คน เขาก็มีติดตัวด้วย แต่นายจ้างแจ้งข้อหาเราลักทรัพย์ได้หรือไม่


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
          หากนายจ้างมีพยานหลักฐานตามสมควรที่ให้เห็นได้ว่าลูกจ้างลักทรัพย์นายจ้างอันเป็นการทุจริจต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างอันเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามความมาตรา 119(1) แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทั้งนี้ หากลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างดังกล่าวเห็นว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดตามที่นายจ้างกล่าวหา ก็มีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเป็นคดีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมเพื่อมีคำสั่งให้แก่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง หรือจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าทดแทนตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49


ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตรา 119
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
มาตรา 49
  การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก