WebBoard :บังคับคดี|การถอนการบังคับคดี

การถอนการบังคับคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การถอนการบังคับคดี

  • 29405
  • 9
  • post on 14 ธ.ค. 2555, 21:28

ผมเป็นจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีหนี้กับทางโจทก์เป็นเงิน 110,000 บาท โดยโจทก์ยึดอสังหาริมทรัพย์เพื่อบังคับคดี ซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 ผมกับจำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวจนครบแล้ว แต่ทางโจทย์ยังไม่ถอนบังคับคดี และเรียกร้องเงินอีก 5,500 บาท เพื่อถอนการบังคับคดี ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีการตกลงกันในเรื่องเงินค่าถอนการบังคับคดี ถามว่าทางผมจะต้องจ่ายเงิน 5,500 บาท อีกไหม เพราะอะไร

ขอบคุณอย่างสูง

โดยคุณ ชวลิต ยะไม (124.120.xxx.xxx) 14 ธ.ค. 2555, 21:28

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 9

สอบถามค่ะ บริษัทสามารถเก็บเงินเพิ่มเป็นค่าใช้จ่ายในกานส่งเงินให้กรมบังคับคดีได้ไหมค่ะ

โดยคุณ มณ 1 มี.ค. 2561, 17:10

ความคิดเห็นที่ 8

โดยคุณ วสันต์ กันโสม 29 ก.ค. 2560, 21:43

ความคิดเห็นที่ 7

ดิฉันโดนยึดทรัพย์ จำเลยที่2(ผู้คำ้)  ไปขอเจรจากับตัวแทนโจทย์ บ.บริหารสินทรัพย์ฯ แต่ไม่ได้ขอสรุจากหนี้มูลค่าหนี้สินเงินต้น 199,000.-บาท ดอกเบี้ย10ปีอีก 217,000 รวมแล้วประมาณ4แสนกว่า จำเลยที่1 (ผู้กู้) ถูกฟ้องคดีอีกคดีหนึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและโดนยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยมีการฟ้องร่วมและเงินไม่พอกับการชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย โจทย์ได้รับเงินที่แบ่งจากการขายทอดตลาดเป็นจำนวน 207,000.- (มากกว่าต้น) แต่ภายหลังได้มีการติดประกาศยึดทรัพย์บ้านและที่ดินที่ของดิฉัน จึงเข้าไปติดต่อกับตัวแทนโจทย์และได้มีการตกลงว่าให้จ่ายเงินส่วนที่เหลือ ครั้งแรกตกลงว่าถ้าจ่ายและดิฉันได้ชำระแล้ว50,000.-บาทเพื่อถอนฟ้องอายัดทรัพย์ ภายหลังแจ้งว่าทางสำนักงานใหญ่ไม่อนุมัติและะต้ิงการชำระเพิ่มเติมอีก50,000.- บาท ดิฉันกลัวว่าบ้านจะขายทอดตลาดเพราะระยะการเจรจากันผ่านมา6เดือนยังไม่มีข้อสรุปจึ่งแต่งตั้งทนายเพื่อร้องขอต่อศาลให้พิทักษ์ทรัพย์ ตอนนี้ยังรอเอกสารแจ้งจากรึรอจดหมายจากศาลดีคะศาลคะ ตอนนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อคะ เจ้าไปเจราศาล

โดยคุณ TC2500 28 มี.ค. 2560, 09:32

ความคิดเห็นที่ 6

บ้านและที่ดิน โดนยึดจากกรมบังคับคดี และขายทอดตลาดได้แล้ว แต่เจ้าของเก่าติดค้างค่าส่วนกลางอยู่ ในกรณีอย่างนี้ ทางกรมบังคับคดี ต้องชำระค่าส่วนกลางอย่างไรครับ และต้องรอนานไหมครับ

โดยคุณ อาทิตย์ 29 พ.ย. 2559, 04:22

ความคิดเห็นที่ 5

ระยะเวลาถอนที่กรมบังคับดดี ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมส่ิงปลูกสร้าง
รณีปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ต้องรอถึง 2 อาทิตย์เลยหรือเปล่าคะเพราะเค้าแจ้งมาแบบนี้/ แต่ผมไปชำระมา จะเข้า 3 เดือนแล้วทางเจ้าหน้าที่ยังไม่ทำเรื่องอะไรให้เลยมีแต่คำตอบว่ากำลังทำให้อยู่ ผมควรจะทำยังไงต่อไปดีครับ ตอนนี้ก็จะได้กำหนดทางกรมบังคับคดีขายทอดตลาดแล้ว

โดยคุณ กฤษณ์ 7 ก.ค. 2559, 12:02

ความคิดเห็นที่ 4

 ระยะเวลาถอนที่กรมบังคับดดี ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมส่ิงปลูกสร้าง

รณีปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ต้องรอถึง 2 อาทิตย์เลยหรือเปล่าคะเพราะเค้าแจ้งมาแบบนี้

โดยคุณ ปิยะ 27 พ.ย. 2557, 11:50

ความคิดเห็นที่ 3

ในสหภาพความเป็นจรืงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่เคยจ่ายค่าฤชา

ธรรมเนียมในการถอนบังคับคดี ผลักภาระให้แก่จำเลย

ถ้าจำเลยไม่ชำระ จะถูกฟ้องร้องฐานไม่ชำระค่าธรรมเนียมการถอนบีงคับ

ความเสียหายจะเกิดแก่จำเลย

น่าจะมีกฏหมายรองรับกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัตตามมาตรา169 วรรคท้ายต้องมีบทลง

โทษเจ้าหนี้จึงจะยุติธรรมโดยเฉพาะเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน

/ธนาคารเป็นต้น

โดยคุณ กรรณิการ์ 23 ต.ค. 2556, 22:48

ตอบความคิดเห็นที่ 3

 นี่ก็หลักความเป็นจริง  เมื่อศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เเล้ว  ลูกหนี้ก็ยังไม่ยอมไปชำระหนี้ ทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียเวลาร้องขอบังคับคดี การที่เจ้าหนี้ต้องร้องขอบังคับคดี จึงเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั่นเอง  ดังนั้นเมื่อลูกหนี้จะขอให้ถอนบังคับคดี ลูกหนี้จึงต้องรับผิดชอบชำระค่าฤชาธรรมเนียมเอง

โดยคุณ เจ้าหนี้ 25 ต.ค. 2556, 21:07

ความคิดเห็นที่ 2

ความจริงแล้ว ก้อขึ้นอยุ่กับการตกลงของ โจทก์ กับ จำเลยเอง  แต่ถ้าไม่ได้ตกลงกัน  จำเลยต้องเป็นฝ่ายเสีย นะคับ  เพราะตามกระการ ยึดทรัย  เป็นเรื่อง ที่จำเลย ดื้อแพ่ง   ไม่ยอมชำเระหนี้  เป็นเหตุให้โจทก์ต้องยึดทรัพย์  เวลาถอนจำเลยตัองถอน  ค่าธรรมเนียมก็จะคิดเป็นร้อยละ  ตามที่ข้างบนบอกมา นั้นแหละคับ    เพราะผม ยึดมา เยอะแล้วคับ  ที่ดิน  เงินเดือน รถยนต์ รถจักรยานยนต์   ทีวี  ตุ้เย็น แอร์ ผมก็ยึด ที่ขายได้ผมยึดหมดเลยคับ  ถ้าไม่อยากเสียค่าถอนเยอะ ก้บอก จพค  เวลาที่เขาปัยยึดนะคับว่า  อย่าประเมิณราคาเยอะ  ถ้ามั่นใจว่าเราชำระหนี้ได้

โดยคุณ 20 ก.ย. 2556, 14:16

ความคิดเห็นที่ 1

 การถอนการบังคับคดี  เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะ (ฎีกา7638/2540)  ....  ถ้าเป็นคดีก่อน 28 กรกฎาคม 2548(กม.เก่า) เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3.5....ตาม ป.วิแพ่ง  ม.169/2 วรรคท้าย กรณีถอนการบังคับคดี กำหนดให้เจ้าหนี้  เป็นผู้รับผิดชอบในค่าฤชาธรรมเนียมครับ

มาตรา ๑๖๙/๒ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖๙/๓ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการยึด อายัด ขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือจากเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางไว้
          ในกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ผู้ค้ำประกันในศาล ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีในส่วนนั้นให้หักออกจากเงินที่ได้จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน
          ในกรณีที่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือมรดกให้เจ้าของรวมหรือทายาทผู้ได้รับส่วนแบ่งทุกคนเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีโดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือทรัพย์มรดกนั้น
        (วรรคท้าย)  ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา ๒๙๕ (๑) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี

โดยคุณ 15 ธ.ค. 2555, 11:34

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด