WebBoard :กฎหมาย|สอบถามเรื่องถูกเรียกร้องเงินค่าทำขวัญ

สอบถามเรื่องถูกเรียกร้องเงินค่าทำขวัญ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สอบถามเรื่องถูกเรียกร้องเงินค่าทำขวัญ

  • 961
  • 3
  • post on 4 เม.ย. 2555, 07:58

 สืบเนื่องจากผมกลับรถบนถนนที่เป็นเส้นทึบ และถูกรถมอเตอร์ไซด์ชน ทางตำรวจลงบันทึกไว้ลักษณะเสียเปรียบเส้นทาง คู่กรณีได้รับบาดเจ็บแขนหัก

ผมทำประกัน2+ไว้ได้แจ้งประกันให้ทราบเพื่อให้เจ้าหน้าที่เคลมเข้ามาตรวจสอบแต่ทางมูลนิธิได้พาคู่กรณีไปรพ.ก่อนโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคม

ผมและประกันได้ไปพบร้อยเวรเพื่อแจ้งและลงบันทึกประจำวันไว้ และรอคู่กรณีมาเพื่ิอตกลงแต่คู่กรณีไม่สามารถมาได้ ทางร้อยเวรจึงให้นัดมาเพื่อตกตงกันใหม่หลังจากคู่กรณี

อาการดีขึ้นแล้ว วันนั้นผมก็ได้ไปที่รพ.ที่คู่กรณีเข้ารักษาตัวอยู่และเฝ้ารอเค้าผ่าตัดกระดูกที่แขนจนถึง21:00น. จึงลพี่ชายคู่กรณีกลับ

วันต่อมาผมก็ได้ลางานเพื่อไปเยี่ยมคู่กรณีและได้มอบเงินให้ทางคู่กรณีเพื่อเป็นค่ารถกลับบ้่านเป็นเงิน500บาท วันที่หมอนัดอีกครั้งผมก็เป็นผู้พาคู่กรณีไปหาหมอในช่วงเช้าแต่ไม่ได้พากลับ

แต่ก็ยังมอบเงินให้คู่กรณีอีก300บาทเพื่ิเป็นค่ารถกลับ 

ถึงเวลาเย็นได้โทรไปสอบถามอากรกับคู่กรณีและสอบถามถึงใบรับรองแพทย์ซึ่งระบุให้รักษาตัว90วัน และคู่กรณีได้เรียกร้องค่าทำขวัญจากผม20,000บาทซึ่งผมไม่สามารถให้ได้ 

อยากสอบถามว่าถ้าผมไม่จ่ายเงินในส่วนนี้ จะมีปัญหาอะไรหรือไม่ครับ เพราะทางประกันที่ทำไว้เองก็มีเงินค่าสินไหมทดแทนมอบให้คู่กรณีอยู่แล้ว และผมเองก็ไม่มีเงินจำนวนนั้นจริงๆ หากถูกฟ้องศาลทางศาลจะบังคับให้จ่ายเงินไหมครับ 

โดยคุณ ณัฐวัฒน์ (115.67.xxx.xxx) 4 เม.ย. 2555, 07:58

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ความรับผิดเพื่อการละเมิดอันเกิดจากการกระทำของตน กรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย กฎหมายกำหนดให้ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446,420 ซึ่งการที่คู่กรณีต้องเจ็บป่วยด้วยอาการบาดเจ็บทุกขเวทนาอันเกิดจากการกระทำโดยละเมิดของท่าน ย่อมเป็นค่าสินไหมให้ หากท่านไม่ชำระหนี้ค่าสินไหมดังกล่าว ก็ย่อมเป็นสิทธิของคู่กรณีที่จะฟ้องร้องท่านต่อศาลเพื่อบังคับคดีต่อไป ท่านจึงควรทำการเจรจาไกล่เกลี่ยขอประนอมหนี้กับคู่กรณี

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 9 เม.ย. 2555, 13:43

ความคิดเห็นที่ 2

สอบถามเพิ่มเติมครับ

จริงๆอยากตกลงให้จบเลยครับ  แต่เค้าร้องขอพร้อมกับค่าสินไหมทดแทนจากของทางประกัน ส่วนที่เค้าร้องขอเพิ่มเติมจากผมนั้นสำหรับผมมันสูงครับ ปัจจุบันผมผ่อนบ้านแล้วเหลือเงินเดือยแค่ 9,200 บาท และยังมีหนี้ของบัตรเครดิตอยู่ ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินให้ทางคู่กรณีได้ ซึ่งเท่าที่ทราบจากทางประกันค่าสินใหมที่ทางประกันชดเชยให้คือวันละ 300 บาท x วันที่รักษาตัว ซึ่งยอดเงินเองก็ไม่ต่ำกว่า20,000 บาทอยู่แล้วครับ ทางประกันเองก็ไม่ให้ตกลงอะไรกับคู่กรณี ซึ่งผมก็บอกเค้าว่าผมเองก็ไม่มีเงินให้ตามที่เค้ารองขอ เลยอยากขอคำแนะนำว่าควรทำอย่างไรครับ

โดยคุณ ณัฐวัฒน์ 4 เม.ย. 2555, 11:06

ตอบความคิดเห็นที่ 2

 กรณีอย่างนี้   ก็ไม่มีทางออกอย่างอื่น   นอกจากใช้การเจรจาต่อรองกัน  ถ้ายังตกลงกันไม่ได้   ก็ใช้วิธีการนัดเจรจากันรอบใหม่   หรือใช้คนกลางที่มือถีงและมีบารมีช่วยไกล่เกลี่ยให้  เรื่องน่าจะจบลงได้   ก็ขอให้ใจเย็น  อย่าไปหาเหตุชวนทะเลาะกันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 4 เม.ย. 2555, 16:45

ความคิดเห็นที่ 1

ในเมื่อคุณเป็นฝ่ายประมาท   ก็ต้องรับผิด  ตาม ปพพ. ม.420   และ ม.444  ที่เรียกว่าค่าสินไหมทดแทน   หรือคนทั่วไปเรียกว่าค่าทำขวัญ   ซึ่งถ้ามีการฟ้องร้อง   ศาลก็คงกำหนดให้ตามสมควรแก่กรณี .....    คู่กรณีแขนหัก   เขาเรียกร้อง  20.000  บาท  ตามความเห็นถือว่า   เขาเรียกร้องในจำนวนที่เหมาะสมแล้ว    ถ้าไม่มีเงินก้อน   ก็ใช้วิธีขอผ่อนชำระได้    หรือถ้าประกันเคลมได้สำเร็จ  ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร  ใช้การเจรจาด้วยบรรยากาศแบบถ้อยทีถ้อยถ้อยอาศัย   เรื่องน่าจะยุติลงได้ด้วยดีครับ.....ถ้าปล่อยให้มีการฟ้องร้อง    คงมีค่าใช้จ่ายต่างๆมากกว่าที่เขาเรียกร้องครับ

มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา 444 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป และค่า เสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่ บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในเวลาอนาคตด้วย
\"\"ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความ เสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคำพิพากษาว่ายัง สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาไม่ เกินสองปีก็ได้ 

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 4 เม.ย. 2555, 09:48

แสดงความเห็น