WebBoard :กฎหมาย|ขอสอบถามเรื่อง กฎหมายแรงงาน ด่วนค่ะ อาจารย์

ขอสอบถามเรื่อง กฎหมายแรงงาน ด่วนค่ะ อาจารย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขอสอบถามเรื่อง กฎหมายแรงงาน ด่วนค่ะ อาจารย์

  • 20668
  • 40
  • post on 15 พ.ย. 2552, 20:12

ข้อบังคับของบริษัทมีสิทธิลาฉุนเฉินได้....ข้อเท็จจริงมี ดังนี้ค่ะ
ดิฉันทำเรื่องลาฉุกเฉินด้วยวาจาโทรไปลาตามกำหนดเวลาข้อบังคับของบริษัท และให้คนไปทำงานแทนดิฉัน แต่เนื่องจากเกิดความเข้าใจผิดระหว่างดิฉันกับคนทำแทน(ที่รับทำงานแทนให้) ทางบริษัทเลยมีใบวอนนิ่ง(ใบเตือน) ให้ดิฉันโดยให้เหตุผลว่าเพราะความผิดพลาดของดิฉันเอง และทางบริษัทกำหนดให้คนมาทำหน้าที่แทนในวันถัดไป (ซึ่งดิฉันต้องจ่ายค่าทำแทนเป็นเงิน 800 บาทให้คนทำแทนเรียบร้อยแล้ว) เมื่อทางบริษัทออกใบเตือนให้แล้วยังระงับสิทธิการลาฉุกเฉินอีก เท่ากับว่า เป็นไปลงโทษพร้อมกับการใบเตือน แถมดิฉันยังต้องเสียตังส์ค่าให้คนทำงานแทนอีก (ซึ่งความจริงดิฉันก็ยอมเสียเรียบร้อยแล้ว) การกระทำของบริษัทที่ให้ทั้งใบเตือน และระงับสิทธิการลาฉุกเฉินโดยถาวรแบบนี้อีก โดยพร้อมๆ กันแบบนี้ บริษัทจะทำได้หรือไม่ค่ะ เพราะดูในกฎหมายแรงงานแล้วถ้าไม่ใช่ความผิดร้ายแรงและได้มีการชดเชยความผิดพลาดโดยให้คนมาทำงานแทนแล้ว ก็น่าจะมีเฉพาะใบเตือนมาเท่านั้น แต่นี้ได้ระงับสิทธิการลาฉุกเฉินไปด้วย อยากเรียนถามว่า บริษัททำถูกต้องหรือไม่ และถ้าไม่ถูกต้องดิฉันสามารถนำข้อกฎหมายแรงแรงข้อไหนมาอ้างอิงกับทางบริษัทได้บ้างค่ะ ดิฉันควรทำเช่นไร .....รบกวนด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง
 

โดยคุณ วันวิสา (124.122.xxx.xxx) 15 พ.ย. 2552, 20:12

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 40

ดิฉันทำงานเปนพนักงานขับรถสิบล้อส่งของและลากิจแต่มีเหตุขัดของที่ไม่สามากับไปทำงานได้ทางบริษัทโอนเงินเดือนมาให้แล้วแต่ยังมีเงินพิเศษที่ทางบริษัทจะต้องให้ในกรณีที่วิ่งได้2เที่ยวใน1วันเพิ่มอีก200แต่ทางบริษัทแจ้งว่าเงินนี้จะได้ทุกวันที่15ของทุกเดือนพอติดต่อกับไปเขาบอกให้ไปลาออกพอถามว่าถ้าไปลาออกจะได้เงินที่เหลือไหมเขาบอกว่่าได้แต่ต้องส่งมอบอุปกรณ์ที่ให้เราก่อนขึ้นรถประมานว่าถ้าของที่เขาให้มาแล้งเราคืนให้ไม่ครบก็จะหักเงินในส่วนของเราเหมือนเขาพูดให้เรากลัวถ้าเราไปอาจติดลบจึงต้ิงเลยตามเลยไปแต่รถคันที่ดิฉันขับได้มีคนอื่นขับออกไปก่อนที่ดิฉันส่งมอบเลยอยากรู้ว่าเขาจะเช็คยังไงในเมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างอยู่ในรถถ้าเปนแบบนั่นก่อนที่เจาจะให้คนอื่นขับก็ต้องให้เรามาส่งมอยก่อนไม่ใช่หรอคะ

โดยคุณ อุมาพร จิตตรีสาร 15 ธ.ค. 2561, 14:36

ความคิดเห็นที่ 39

 สัวดีคับอาจารย์   ในกรณีที่บริษัทร์ไม่ได้เสียภาษีนั้นผิดกฎหมายมั้ยคับแต่ทางบริษัทร์

หักเงินค่าประกันสังคมทุกเดือนเลยคับทัมไงดีคับ

โดยคุณ เลิศวิิทย์ พัชนีย์ 20 ม.ค. 2559, 16:27

ตอบความคิดเห็นที่ 39

หากบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลย่อมเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 66 เจ้าพนักงานภาษีอากรมีอำนาจดำเนินคดีบริษัทดังกล่าวได้ตามกฎหมาย

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 7 มี.ค. 2559, 11:26

ความคิดเห็นที่ 38

 หากเรสถูกให้หาคำตอบมาแสดงว่าเพื่อนร่วมงานรับไม่ได้กับวาจาของเราและให้เราพิจารณาตัวเองและต้องการคำตอบเราจะทำงัย

โดยคุณ 25 พ.ย. 2558, 17:26

ความคิดเห็นที่ 37

 สอบถามเรื่องการจ้างงานค่ะ คือทางสหกรณ์ ที่ทำงานยุได้ทำระเบียบใหม่ให้จ้างเจ้าหน้าที่ อัตราขั้นต่ำ 9,000 / เดือน แต่ก่อนที่จะได้รับระเบียบใหม่นี้ ได้รับเงินเดือนละ 6,480/เดือน ไม่ทราบว่า ดิฉันจะได้เงินเดือนตามระเบียบใหม่นี้ไหมค่ะ เพราะทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี เหมือนกัน สัญญาจ้างปี/ปี แล้วเบิกจ่ายเงินเดือนเป็น ค่าตอบแทนเต้าหน้าที่บัญชี อยากรุ้ว่าจะได้ตามระเบียบไหมค่ะ

โดยคุณ 29 ต.ค. 2558, 10:02

ตอบความคิดเห็นที่ 37

หากลักษณะหรือสภาพของงานเป็นเช่นเดียวกัน กฎหมายกำหนดให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงานนั้นตามความในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 26 พ.ย. 2558, 16:34

ความคิดเห็นที่ 36

  คือบริษัทที่ดิฉันเคยทำงานด้วย เป็น บ.รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งไม่มีสัญญาจ้างงานและ ไม่มีสวัสดิการ   มีแค่ใบสมัครเท่านั้น  และตลอดเวลาตั้งแต่วันที่มาสัมภาษณ์งานจนถึงวันที่ลาออก นายจ้างไม่เคยพูดถึงกฎระเบียบของบริษัทเรื่องการลาออกเลยแม้แต่ครั้งเดียว  มีแต่บอกเวลาเข้างานออกงาน ดิฉันไม่มีประสบการณ์ทำงานกับ บ. นี้เป็นที่แรกค่ะ    ดิฉันลาออกกระทันหัน แจ้งต่อนายจ้างเองไม่ได้เขียนใบลาออกค่ะ  ซึ่งวันที่ลาออกดิฉันได้ส่งมอบงานที่รับผิดชอบอยู่ให้กับหัวหน้างานและเป็นงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว  นายจ้างรับรู้และอนุญาตให้ลาออกได้ แล้วยังบอกว่าเงินค่าจ้างที่ค้างอยุ่จนถึงวันที่ลาออกจะโอนเข้าบัญชีให้   ซึ่งดิฉันมีพยานอยู่ในเหตุการณ์วันที่ลาออก(พนักงานในออฟฟิต และหัวหน้างาน)  ซึ่งเป็นเวลา เดือนกว่าเกือบ2 เดือนแล้วนับตั้งแต่วันที่ลาออก  ดิฉันจึงได้ทวงถามเรื่องค่าจ้างที่นายจ้างบอกจะโอนให้  นายจ้างแจ้งกลับมาว่าไม่ให้แล้วก้อจะฟ้องร้องดิฉันว่าทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย  ดิฉันจึงอยากทราบว่า

1.ถ้านายจ้างสามารถฟ้องร้องดิฉันได้หรือไม่  

2.ถ้านายจ้างฟ้องร้องได้ ดิฉันจะมีสิทธิชนะคดีหรือไม่  เนื่องจากทางนายจ้างอ้างว่ามีหลักฐานที่ดิฉันทำให้ บ. เค้าเสียหาย  แต่ก่อนดิฉันลาออก7 วันๆไม่มีงานอะไรที่ดิฉันต้องรับผิดชอบ นอกจากทำแก้แบบโครงการก่อสร้างที่กำลังจะสร้างต่อไปล่วงหน้า  ซึ่งดิฉันทำจนแล้วเสร็จ ก่อนวันที่ลาออก และส่งมอบงานเรียบร้อยแล้วและมีพยานยืนยัน

3.ดิฉันมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้างคะ

โดยคุณ wanlada 24 ก.ย. 2558, 21:27

ตอบความคิดเห็นที่ 36

1.หากมีคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างมีสิทธิฟ้องท่านต่อศาลแรงงานก็ได้ตามมาตรา 8(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ 2522
2.การฟ้องหรือแก้ต่างต่อสู้คดี ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะ จึงขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน
3.ข้อสงสัยอื่นควรโทรปรึกษาทนายคลายทุกข์ 02-9485700
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 21 ต.ค. 2558, 14:03

ความคิดเห็นที่ 35

 ขอคำชี้แนะคะ 

คือดิฉันเป็นพนักงานบริษัทใต้หวันที่ไทย และหัวหน้าได้เรียกฉันไปประชุมเมื่อวันจันทร์ที่แล้วได้บอกว่าให้ดิฉันทำงานถึงแค่31 สิงหาคมนี้แค่ 1 อาทิตย์  เนื่องจากบริษัทได้มีการปรับองค์กรภายในใหม่ และทางบริษัทจะให้ เงินเดือน + ค่าชดเชย 1 เดือน ดิฉันทำงานมา 6เดือนเต็มแล้วคะ แต่ข้อกฎหมายที่ว่าถ้าโดนออกจากงานโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย1 เดือน ดิฉันจะต้องได้รับ ค่าตกใจ + ค่าชดเชย รวมกันเป็น2 เดือน (ค่าชดเชย(ค่าจ้างที่ทำเป็นเดือนสุดท้าย ) + ค่าชดเชยพิเศษ + ค่าตกใจ) แบบนี้หรอเปล่าคะ ช่วยอธิบายให้หน่อยค่ะ 

โดยคุณ นานา 29 ส.ค. 2558, 22:28

ตอบความคิดเห็นที่ 35

หากเป็นกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้วนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ก.ย. 2558, 11:05

ความคิดเห็นที่ 34

สวัสดีครับอาจาร

 มีเรื่องสอบถาม ประเด็นนายจ้างเปลี่ยนแปลงการออกเงินเดือนพนักงานจากราย 15 วันเป็นรายเดือนซึ่งเหตุผลพนักงานรายวันมีน้อน พนักงานยอมรับได้ แต่บริษัทยินดีให้พนักงานทำการเบิกเงินมาสำรองใช้ได้คือเขียนเบิกวันที่ 10 อนุมัติจ่าย 16 เป็นต้นแต่บริษัทจะทำการคิดดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 5 หักหน้าสลิปเงิน ถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่ครับ

โดยคุณ สมบัติ ประสงค์ดี 18 เม.ย. 2558, 16:14

ตอบความคิดเห็นที่ 34

กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครึ่ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น การที่นายจ้างเปลี่ยนกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างในลักษณะดังกล่าวจึงชอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานดังกล่าวแล้ว

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 20 พ.ค. 2558, 16:55

ความคิดเห็นที่ 33

 อาจารย์ค่ะ คือบริษัทเก่าค้างจ่ายเงินเดือน 1 เดือน ตอนนี้ไปทำเรื่องฟ้องนายจ้างที่ศาลแล้ว ศาลนัดวันที่ 3 กุมภา 57 นี้ ไม่ทราบว่าทำเรื่องมอบฉันทะให้คนอื่นไปแทนได้ไหม แล้ว ณ วันนั้นต้องไปเจอกับนายจ้างด้วยใช่ไหม 

2.หนูมีหวังจะชนะคดีไหมค่ะ คือก่อนลาออกได้แจ้งด้วยวาจา 1 อาทิตย์ ทวงๆๆนายจ้างมาตลอดแต่ไม่ยอมโอนให้สักที เลยทนไม่ไหวจึงต้องมาพึ่งศาล อันที่จริงเงินเดือนแค่เดือนนึงบางคนอาจมองว่าเสียเวลาน่ะ แต่ไม่อยากปล่อยให้คนไม่ดีทำแบบนี้กับคนอื่นๆได้อีก ตอนทำงานอยู่ก็จ่ายเงินช้า ปกติต้องจ่ายทุกสิ้นเดือน แต่ทำไปทำมาเลยไปเป็นครึ่งเดือน แล้วเราก็ต้องดิ้นรนวิ่งหายืมเงินเพื่อมาใช้ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเช่าหอ ค่าโทรศัพท์ ซึ่งจะมีค่าปรับและดอกเบี้ยอีกมากมาย นี่แหละค่ะคือภาระที่หนักเลย 

อาจารย์ช่วยตอบหนูด้วยน่ะค่ะ

โดยคุณ สิรินาฎ 18 ธ.ค. 2556, 14:31

ตอบความคิดเห็นที่ 33

หากท่านไม่สะดวกหรือไม่เหตุขัดข้องใดไม่สามารถไปศาลในวันนัดดังกล่าวได้ ท่านควรแต่งทนายเป็นตัวแทนดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลก็ได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวนั้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 23 ธ.ค. 2556, 11:36

ความคิดเห็นที่ 32

 รื่องมีอยู่ว่า ในองค์กรบริษัทแห่งหนึ่งเกี่ยวกับด้านงานบริการบำรุงรักษารถยนต์ ได้มีการทุจริตปลอมแปลงเอกสาร(ใบเสร็จรับเงิน)ของพนักงานในองค์กรในการร่วมทุจริต รู้เป็นใจกันทั้งองค์กร แต่ที่หลักๆ มีการเงิน พนักงานแจ้งซ่อมปัญหา บริษัทได้มีการตรวจสอบแล้วได้นำเอกสารที่พนักงานได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่(ใบเสร็จรับเงิน)เป็นหลักฐาน แล้วได้กล่าวให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานทันทีหลักๆ 5 คน(จริงๆทำกันทั้งหมดองค์กร) ด้วยวาจา แต่ไม่ได้ให้พนักงานที่ทุจริตดังกล่างเซ็นรับทราบยินยอมว่าทุจริตแต่อย่างไร และทางบริษัทได้ออกหนังสือรายชือพนักงานทั้ง 5 คนดังกล่าวส่งไปยังสถานประกอบการที่ใกล้เคียงเพื่อให้รับทราบกับพฤติกรรมของบุคคลทั้ง 5 คนนี้ได้ทุจริต เพื่อไม่ให้พนักงาน 5 คนนี้ไปทำงานที่อื่นได้ แต่ไม่ได้ส่งไปยังสำนักงานกรมแรงงาน และยังไม่ได้แจ้งฟ้องดำเนินคดีแต่อย่างไร ทางบริษัทก็ได้มีจุดบกพร่องของการบริหารระบบงานในองค์กร ทางผู้บริหารและผู้จัดการไม่มีความรู้ความเข้าใจพอทางด้านระบบ IT ในระบบงานในบริษัท บริษัทเป็นการบริหารงานแบบครอบครัว ไม่เข้มงวดพอ แรงพลักดันอะไรที่ทำให้พนักงานถึงทุจริตได้ พอทราบได้คือมาจาก คือ
1.อัตตราค่าแรงการจ้างที่บริษัทให้พนักงานนั้นได้ไม่ถึง 300บาท/วัน ตามกฎหมายแรงงานบังคับ พนักงานที่จ้างอยู่ราวๆ 7000-8000 1คน/1เดือน ไม่รวมหักค่าประกันสังคม
2.ทางบริษัทได้มียอดการขายผลิตภัณฑ์บำรุงรักษารถยนต์ให้กับทางพนักงานขายแต่ละเดือนต้องทำยอดให้ได้ตามเป้า แต่ไม่มีการจัดค่าคอมมิชชั่นจากการขายผลิตภัณฑ์ ยอดการบริการในระบบงานต่างๆการขายเเพ๊คเก็จ ไม่มีพิเศษให้แก่คนขาย
3.ระบบการปฏิบัติงานในองค์กรไม่มีการตรวจสอบอย่างเข็มงวด ผู้จัดการขาดความรู้ทางด้านระบบ IT น้อยกว่าพนักงาน จึงทำให้มีแรงพลักดันเกิดการทำทุจริตได้
ระยะเวลาตั้งแต่ปลดพนักงานออกจากองค์กรนั้นจนถึงวันนี้รวมระยะเวลาก็ประมาณ 1 เดือนครึ่งได้แล้ว รอรวบรวมเอกสาร(ใบเสร็จรับเงินปลอม)ที่พนักงานจัดทำขึ้นรวบรวมไว้
คำถามต้องการปรึกษาว่า
1.กรณีที่บริษัทได้ปลดพนักงานให้พ้นสภาะด้วยวาจาดังกล่าวนั้นและได้ส่งเอกสารแจ้งการทุจริตของพนักงานไม่ให้พนักงานสามารถไปสมัครทำงานที่ไหนได้นั้นแล้วยังไม่ได้แจ้งความและกรมแรงงานประกันสังคมนันผิดหรือเปล่า พนักงานสามารถฟ้องกลับได้หรือไม่
2.รอรวมรวมเอกสารแล้วแจ้งดำเนินคดีกับพนักงานทั้ง 5 คนนั้นได้อยู่ใช่หรือไม่
3.การที่บริษัทยังไม่ได้แจ้งไปยังสำนักงานกรมแรงงานเรื่องพนักงานทุจริตนั้น ล่าช้าไปหรือไม่และถ้าพนักงานดังกล่างทราบแล้วฟ้องกลับเราจะนำหลักฐานมาฟ้องได้หรือไม่

โดยคุณ ANAN 18 ธ.ค. 2556, 11:31

ความคิดเห็นที่ 31

ขอเรียนถามว่าถ้าทางบริษัทไม่ปรับอัตราค่าจ้าง ให้เป้นค่าแรงขั้นต่ำ คือ 300 บาทต่อวัน และการทำสัญญาจ้างของบริษัทจะส่งเมล์หน้าสัญญาจ้างงานมาให้พนังการเซน แต่ในสัญญาจ้างไม่ได้ระบุตำแหน่งงาน อัตราค่าจ้างต่อวัน แบบนี้ถือว่าบริษัททำถูกต้องหรือไม่คะ และดิฉันสามารถส่งเรื่องร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานโดยการส่งไปรษณีย์ได้ไหมค่ะ 

ขอความกรุณาด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทและการเซนสัญญาจ้าง 28 ก.พ. 2556, 16:29

ตอบความคิดเห็นที่ 31

ท่านควรยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการแก่นายจ้างตามกฎหมายต่อไป แต่การติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐท่านควรดำเนินการติดต่อด้วยตนเอง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 28 มี.ค. 2556, 15:45

ความคิดเห็นที่ 30

สวัสดีครับ

ผมมีเรื่องสงสัยครับ ผมเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ผมได้ทำอุปกรณ์ของบริษัทเสียหาย จากความประมาท เลินเล่อ บริษัทจะหักเงินค่าเสียหายได้หรือไม่ครับ

มูลค่าที่หักเท่าไหร่ในกรณีที่หักได้

ขอบคุณครับ

โดยคุณ แจ็ค 22 ม.ค. 2556, 08:51

ตอบความคิดเห็นที่ 30

ได้ครับ ตามมาตรา 76 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (5) หักได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้าง และต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย

โดยคุณ ทนายจัน 23 ม.ค. 2556, 09:38

ความคิดเห็นที่ 29

มีการร้องเรียนเรื่องค่าจ้างของลูกจ้างค่ะขอไปนานแล้วแต่เรื่องไม่ไปสักทีก็เลยมีการดำเนินการคือส่งเรื่องไปและมีการขู่ให้พนักงานโยกย้ายไปทามงานที่อื่นโดยที่พนักงานส่วนมากไม่เต็มใจอย่างนี้เราควรทามไงค่ะ 

โดยคุณ 17 ม.ค. 2556, 14:05

ตอบความคิดเห็นที่ 29

ดำเนินตามระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมต่อลูกจ้างนั้น

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 28 ม.ค. 2556, 14:13

ความคิดเห็นที่ 28

ขอเรียนถามอาจารย์นะค่ะ... ดิฉันทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งขณะนี้มีอายุงานได้ 8 เดือน...และได้รับการแจ้งจากฝ่ายบุคคลว่าให้ให้ดิฉันออก....พร้อมกับให้เหตุผลว่าดิฉับฝ่าฝืนกฎของบริษัท  ไม่เชื่อฟังหัวหน้างาน(ซึ่งมาทราบตอนหลังเปลี่ยนหัวหน้าให้ดิฉันเรียบร้อยแล้ว) บอกว่าดิฉันทำงานล่าช้าส่งผลให้บริษัทเีสียหาย  และบอกว่าจะชดเชยเงินให้อีก 1 เดือน  พร้อมกับให้ดิฉันเซ็นหนังยินยอมรับเหตุผล...ดิฉันไม่ยอมเซ็นเพราะทราบเหตุผลดีว่าเพราะผู้จัดการไม่ชอบดิฉันเป็นการส่วนตัว...ดิฉันเลยถามเค้าว่าในเมื่อทุกคนรู้อยู่แก่ใจทุกคนว่าอะไรคือเหตุผลที่ต้องออก..ทำไมยังทำกันได้...เค้าบอกว่าถึงจะไม่ยอมหรือดึงดันที่จะไปกรมแรงงานยังไงก้อสู้เค้าไม่ได้หรอกไม่ต้องพยายามที่จะสู้ยังไงดิฉันก้อไม่มีวันที่ดิฉันจะทำอะไรเค้าได้อยู่แล้วเสียเวลาเปล่าๆ  อาจารย์ค่ะ...ดิฉันไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเองเลยใช่มั้ยค่ะ...เหตุเพราะว่าดิฉันเป็นเด็กบ้านนอกไม่มีปากเสียงเลยหรือค่ะ...ขอคำแนะนำด้วยค่ะ...ขอให้อาจาย์ชี้แนะดิฉันบ้างว่าดิฉันสามารถที่จะต่อสู้อะไรเพื่อตนเองได้บ้าง....รบกวนอาจารย์ตอบด้วยนะค่ะ...ตอนนี้มืดแปดด้านแล้วค่ะ

โดยคุณ จิตติพร 3 ธ.ค. 2555, 21:21

ตอบความคิดเห็นที่ 28

หากท่านเห็นว่าการที่ตนถูกเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ท่านก็สามารถที่จะฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเป็นคดีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้แก่นายจ้างรับท่านเข้าทำงานต่อไปหรือจ่ายทดแทนให้แก่ท่าน

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 24 ธ.ค. 2555, 13:58

ความคิดเห็นที่ 27

หนูมีปัญหาอยากจะสอบถามค่ะ คือข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้น่ะค่ะ แม่ของหนูได้ทำงานอยู่ที่อพาตร์เม้นแห่งหนึ่งเป็นเวลา 18 ปี แล้วถูกไล่ออกในวันที่ 15 ตุลาคม 2555 โดนเจ้านายโทรมาทางโทรศัพท์ เหตุผลที่ไล่ออกไม่เกี่ยวกับที่แม่ทำงานค่ะ แต่มันเป็นเรื่องส่วนตัวของเจ้านายกับญาติพี่น้องของเขาเอง แล้วเขาบอกว่าจะให้ค่าเงินชดเชย 7 เดือน ต่อมาภายหลังเขากลับมาพูดว่าแม่ยังออกจากงานไม่ได้ จะต้องอยู่เพื่อตรวจสอบบัญชีแล้วหมอบหมายงานให้เขาก่อน หนูเลยสงสัยว่า ถ้าเรายังอยู่ที่ทำงานตรวจสอบบัญชีให้กับเจ้านายแล้วรอหมอบงานให้กับเจ้านาย แบบนี้มันจะเรียกว่าโดนไร่ออกหรือค่ะ

โดยคุณ ลูกสาวที่ดี 21 ต.ค. 2555, 09:42

ตอบความคิดเห็นที่ 27

การที่นายจ้างแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างดังกล่าวมีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว นายจ้างไม่อาจถอนการแสดงเจตนาดังกล่าว มารดามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคแรก(5)

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 2 พ.ย. 2555, 16:56

ความคิดเห็นที่ 26

 ขอปรึกษาบ้างค่ะ 

ดิฉันเป็นพนักงานขาย(P.C)ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง รายได้มาจากเงินเดือนและค่าคอมมิชชั่น

พอนโยบายรัฐฯปรับค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน บริษัทดิฉัน ก็ปรับสนองนโยบายรัฐฯเหมือนกัน แต่ปัญหาที่เกิดคือ บริษัทตั้งกฏว่า พนักงานขายทุกคนต้องขายให้บริษัท 1500 แต้ม ถึงจะได้ค่าคอมมิชชั่น ที่เกินจาก 1500 แต้ม ไม่ใช่ตั้งแต่แต้มแรก(แปลว่า 1500 แต้ม ขายฟรี) ลืมบอกค่ะ 1 แต้มเท่ากับ 1 บาท โดยให้พนักงานขายทุกคนเซ็นรับทราบและยินยอม(ตอนนั้น ใครๆก็ยังอยากมีงานทำ จึงต้องจำใจเซ็น)อยากทราบว่า บริษัท สามารถทำแบบนี้ได้จริงๆหรือ ค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทนจากการขายใช่ไหม ขายสินค้า 1 ตัว ได้ 40 แต้มโดยเฉลี่ยแล้ว เดือนๆหนึ่ง จะขายได้ 30-40 ตัวค่ะ นี่เท่ากับว่า แทบไม่ได้ค่าคอมจากการขายเลยนะค่ะ ใครพอไขข้อข้องใจได้บ้างไหมค่ะ

โดยคุณ 20 ต.ค. 2555, 10:41

ตอบความคิดเห็นที่ 26

ค่าคอมมิชชั่นที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในลักษณะดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในที่ลูกจ้างทำงานตามสัญญาสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ดังนั้น การที่นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกำหนดระเบียบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นอันเป็นค่าจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดิมที่มีผลใช้บังคับแล้วและไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ลูกจ้างจึงมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อให้สัญญาจ้างนั้นใช้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าคอมมิชชั่นตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไป

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 2 พ.ย. 2555, 16:55

แสดงความเห็น