คุณพ่อได้จดทะเบียนที่ดินให้เป็นพื้นที่ภาวะจำยอมร่วมกับเจ้าของที่ที่ใช้ทางเดินใช้ถนนร่วมกัน แล้วอยากทราบว่าเราที่เป็นลูกหลานของเจ้าของที่ 1 ใน นั้น สามารถจอดรถในที่ดังกล่าวได้หรือไม่
คำสั่งศาลให้ไปจดภาวะจำยอมแต่จำเลยไม่ยอมไปจดแต่โต้แย้งว่ามีชื่อคนตายอยู่ในโฉนดไม่ได้ฟ้องเพรากรมที่ดินทำชีอตกหล่นไม่มีชื่อในช่องผู้รับโอนทนายความก็เลยฟ้องเเค่4คนในช่องผู้รับโอนอยากถามว่าทำอย่างไรถีงจะจดภาวะจำยอมได้ต่อเมื่อคตีสิ้นสุดแล้ว
ท่านซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือใช้ทางภารจำยอมอันเป็นเจ้าขอสามยทรัพย์ สามารถที่จะใช้ทางภารจำยอมภารยทรัพย์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ตลอดทั้งสามารถจอดรถบนทางภารจำยอมนั้นได้ด้วย ตราบเท่าที่ไม่กีดขวางการใช้ทางเจ้าของสามยทรัพย์คนอื่น ๆ ทั้งไม่ถือเป็นการเพิ่มภาระให้เกิดขึ้นแก่ทางภารจำยอมอันเป็นภารยทรัพย์เกินสมควรแต่ประการใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1388 ดังนั้น ท่านมีสิทธิจอดรถบนทางภารจำยอมโดยพฤติการณ์ดังกล่าวได้
ขอบคุณ คุณเสน่ห์ เจษฎาสาธุชน ที่ช่วยตอบคำตอบนะคะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุหลักการเรื่องทางภาระจำยอมไว้ ดังนี้
มาตรา ๑๓๙๐ ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
มาตรา ๑๓๙๖ ภาระจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามยทรัพย์คนหนึ่งได้มา หรือใช้อยู่นั้น ท่านให้ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
(เจ้าของสามยทรัพย์ คือเจ้าของที่ดิน ที่ได้สิทธิใช้ที่ดินผู้อื่น(เจ้าของภารยทรัพย์)ที่จดทะเบียนภาระจำยอม)
ตอบ.....คุณก็จอดรถได้ เท่าที่ไม่ทำให้เขาไม่สะดวกในการใช้ทางภาระจำยอมครับ