WebBoard :กฎหมาย|คดีพรากผู้เยาว์

คดีพรากผู้เยาว์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

คดีพรากผู้เยาว์

  • 736
  • 1
  • post on 14 ก.ย. 2553, 17:14

รบกวนขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องคดีการพรากผู้เยาว์หน่อยคะ
เนื่องจากน้องชายดิฉันอายุ 18 ปี ได้คบหากับแฟนสาวน่าจะอายุประมาณ 17 ปี คืนนึงหญิงสาวได้โทรมาหาฝ่ายชายให้ออกไปรับ และขอมานอนค้างด้วยที่บ้าน เมื่อมาถึงที่บ้าน แม่ของฝ่ายชายได้ไล่ให้ฝ่ายหญิงกลับบ้าน แต่เธอไม่ไป พร้อมบอกว่าเช้าจะกลับเอง และอ้อนวอนขอพักที่บ้าน แต่พอรุ่งเช้าแม่กลับยังคงพบผู้หญิงคนนั้นอยู่ในบ้าน ซึ่งในคืนนั้นทั้งสองได้มีสัมพันธ์กันทางเพศตามที่ฝ่ายหญิงยินยอม พอสายยายของฝ่ายหญิงได้ออกตามหาหลาน จนมาพบอยู่ที่บ้านของน้องชายดิฉัน และได้กล่าวตักเตือนทั้งสองและให้เลิกคบกัน และไม่เอาเรื่องแต่อย่างใด แต่เมื่อฝ่ายหญิงกลับไป ได้ไปแจ้งความน้องชายให้คดีพรากผู้เยาว์
เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน และมีจดหมายจากศาลให้ไปรายงานตัวมาแล้ว จำนวน 2 ครั้ง และน้องชายก็ไปรายงานตัวทุกคน จนกระทั่งครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 10 สิงหาคม น้องชายของดิฉันได้ไปรายงานตัวอีกครั้ง และศาลได้ฝากขังตัวน้องชายอยู่ที่เรือนจำแปดริ้ว และขอหลักทรัพย์ในการประกันตัว 180,000 บาท แต่เนื่องจากเราไม่มีหลักทรัพย์ไปประกัน จึงปล่อยให้น้องติดคุกไป

หลังจากนั้นศาลได้นัดไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายหญิงเรียกร้อง เงิน 60,000 บาท แต่ทางเราไม่มีให้ และฝ่ายหญิงยังให้ความกลับคำว่าไม่ได้ยินยอมมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด (แต่ฝ่ายหญิงเคยให้ปากคำไว้ที่สน.แปดริ้วว่ายินยิม โดยมีบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน)

แต่ดูเหมือนว่าครอบครัวของฝ่ายหญิงจะทำเหตุแบบนี้เป็นกระบวนการเพื่อเรียกร้องเอาเงิน เพราะฝ่ายหญิงไม่ได้เป็นหญิงบริสุทธิ์มาก่อน และเคยผ่านผู้ชายมาแล้ว

อยากทราบว่าอย่างนี้เราควรทำอย่างไร และในกรณีแบบนี้ถือว่าเราผิดจริงหรือไม่ และฟ้องกลับได้ไหม

โดยคุณ อ้อม (203.148.xxx.xxx) 14 ก.ย. 2553, 17:14

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

1. ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาคจาร และไม่ว่าผู้เยาว์นั้นจะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม น้องชายก็ย่อมมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตาม ป.อ. มาตรา 319
2. แต่น้องชายของท่าน ก็ยังมีช่องทางในการต่อสู้คดี โดยนำคำให้การที่ฝ่ายหญิงเคยให้ไว้กับพนักงานสอบสวน ซึ่งขัดแย้งกับคำเบิกความในชั้นศาล มาใช้อ้างเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อต่อสู้คดีต่อไปได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 15 ก.ย. 2553, 14:49

แสดงความเห็น