WebBoard :กฎหมาย|ที่หัวไร่ปลายนา

ที่หัวไร่ปลายนา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ที่หัวไร่ปลายนา

  • 6128
  • 4
  • post on 19 ส.ค. 2555, 21:47

ขอความช่วยหลือทางกฎหมายครับ คือเพิ่งซื้อที่ดินมา ด้านข้างติดที่สาธารณะประโยชณ์ ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์ ด้านหลังเป็นรัศมีเขา (ตามโฉนด) ปัญหามีอยู่คือ ที่ด้านหลังที่เป็นรัศมีเขาควรจะเป็นที่หัวไร่ของเรา แต่ว่าตั้งแต่เราเริ่มปรับปรุงที่ของเรา ทางสำนักก็ได้ตัดต้นไม้เผาต้นไม้หลังที่ของเรา เพื่อครอบครอง แต่เท่าที่ทราบทางป่าไม้ไม่อนุญาติ เราสามารถหยุดการครอบครอง และตัดไม้ได้ไหม เพราะต้องการให้ป่าเป็นป่าเหมือนเดิม     อยากทราบว่าที่ด้านหลังที่เป็นรัศมีเขา เป็นที่สาธาณะประโยชณ์หรือเปล่า ถ้าเป็นที่สาธารณะประโยชณ์ ทุกคนมีสิทธิ์เผาถางทำประโยชณ์ ชึ่งถ้าผมต้องการก็ทำได้ แต่ผมอยากใป่ยังคงเป็นอย่างเดิม จะทำอย่างไรเพื่อระงับการเผาถางของสำนักได้บ้างครับ เนื้อที่ของสำนักเท่าที่เห็นก็ไม่น้อยนะครับ  ขอขอบคูณล่วงหน้าสำหรับความช่วยเหลือชีแนะล่วงหน้าครับ

โดยคุณ วินัย (180.180.xxx.xxx) 19 ส.ค. 2555, 21:47

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

พี่ค่ะมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ

เรื่องมีอยู่ว่าบ้านหนูได้ทำการฉีดยาฆ่าหญ้าบริเวณข้างรั้ว(เป็นยาดูดซึม)แล้วยามันไปโดนต้นมะละกอที่เกิดเองข้างรั้ว(แต่ต้นมันอยู่นอกรั้วเรา) หนูกลัวจะมีคนมาเด็ดกินหนูก็เลยตัดทิ้งซึ้งมันเป็นเขตของทางสาธารณะแต่คนข้างบ้านเขามาโวยวายกับเรามาชี้หน้าว่าเราหน้าบ้านเราเลยจะเรียกค่าเสียหาย(เขาเป็นตำรวจ)อ้างสิทธิ์เขตหัวไร่ปลายนาของเขาหนูก็บอก ขอโทษ แต่เขาก็ยังว่าเรา หนูก็เลยเล่าเหตุผลที่ต้องตัดทิ้งไปเขาก็อ้างว่าเป็นที่ของเขา(ซึ้งมันเป็นเขตของทางสาธารณะ) หนูอยากรู้ว่าเขามีอำนาจในการครอบครองมากขนาดนั้นเลยใช่ไมค่ะแล้วถ้าวัดที่ดินออกมาปรากฏว่าเป็นที่ของบ้านหนูเราสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ(คือที่บ้านกำลังจะมีการรางวัดที่ดินพอดีค่ะ)ขอความกรุณาช่วยให้คำปรึกษาด้วยค่ะ


โดยคุณ ปิยาพร 13 ต.ค. 2561, 17:27

ตอบความคิดเห็นที่ 4

1.เบื้องต้นต้องทราบก่อนว่าที่ดินเป็นที่ของใคร 

2.หากที่ดินเป็นที่สาธารณะ และต้นมะละกอคู่กรณีไม่ได้ปลูก คู่กรณีก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย 

3.หากที่ดินเป็นของท่าน ต้นมะละกอก็เป็นของท่าน คู่กรณีก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ 

4.หากที่ดินเป็นของคู่กรณี ท่านก็อาจมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 358 แต่อย่างไรก็ตามความผิดดังกล่าวนั้นสามารถยอมความกันได้ 


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 18 ต.ค. 2561, 11:49

ความคิดเห็นที่ 3

อยากทราบคำว่า"ที่หัวไร่ปลายนา"ความหมายคืออะไร และมีผลต่อการซื้อขายที่ดินข้างเคียงหรือเปล่าครับ

โดยคุณ สุชาติ แซ่กิม 2 เม.ย. 2558, 09:04

ความคิดเห็นที่ 2

อยากทราบคำว่า"หัวไร่ปลายนา"ความหมายคืออะไรครับ

โดยคุณ 2 เม.ย. 2558, 08:59

ความคิดเห็นที่ 1

 ถ้าที่ดินด้านหลังของคุณ   เป็นที่สาธารณะ  การบุกรุกแผ้วถางย่อมมีความผิดฐานบุกรุก  ผู้ที่จะดำเนินคดีได้ คือ  อบต.  หรือ อำเภอที่ดินสังกัดอยู่   ก็สามารถตรวจสอบได้ว่า   ที่ดินตรงจุดนี้เป็นที่สาธารณะหรือไม่  โดยการไปขอตรวจสอบในระวางแผนที่ของสำนักงานที่ดิน   ก็จะทราบความจริง...ถ้าเป็นที่สาธารณะ  เมื่อสำนักสงฆ์บุกรุกแผ้วถาง  ย่อมมีสิทธิในที่ดินดีกว่าบุคคลอื่น  คือคุณคงไปห้ามปรามไม่ได้  ถ้าคุณเข้าไปแย่งครอบครอง  สำนักสงฆ์ก็แจ้งข้อหาบุกรุกไม่ได้เช่นกัน   แต่ก็อาจถูกฟ้องข้อหาบุกรุกจากทางการได้....  เรื่องการบุกรุก   ก็เป็นหน้าที่ของทางการจะดำเนินคดีครับ

....เคยเห็นคุณถามปัญหานี้ในเว็บของสภาทนายความ  และได้มีนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญได้ตอบคำถามนี้ไปแล้ว    การตอบปัญหาในที่นี้  ว่าไปในอีกแง่มุมหนึ่ง  แต่ผลคงไม่แตกต่างกันครับ

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง..

.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
 
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365
 

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน (สมาชิก) 20 ส.ค. 2555, 09:41

แสดงความเห็น