WebBoard :กฎหมาย|ยักยอกทรัพย์เงิน 2140 บาท ตัดสินจำคุกไม่รอลงอาญา

ยักยอกทรัพย์เงิน 2140 บาท ตัดสินจำคุกไม่รอลงอาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ยักยอกทรัพย์เงิน 2140 บาท ตัดสินจำคุกไม่รอลงอาญา

  • 733
  • 1
  • post on 30 มิ.ย. 2561, 14:47

ขออนุญาตปรึกษาค่พ


หนูถูกศาลตัดสิน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นเงินจำนวน 2,140 บาท ศาลตัดสินจำคุก 2 เดือน และให้คืนเงิน 2140 บาทกับนายจ้างเก่า และไม่รอลงอาญา ตัวหนูไม่เคยทำความผิด และไม่เคยมีประวัติใดๆเลย ควรทำอย่างไรดีคะ ยื่นเงินประกันตัวไป 42,000 บาท ค่ะ 


สาเหตุของการโดนข้อหายักยอกเนื่องจาก หนูถูกนายจ้างเก่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และหนูไปดำเนินการฟ้องศาลแรงงาน ศาลตัดสินให้นายจ้างต้องชดเชยเงินเกือบ 3 แสนบาท หนูทำงานในบริษัทนี้ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำอยู่ออฟฟิศที่กรุงเทพ และเมื่อเดือน พ.ย 57 นายจ้างได้มอบหมายให้เดินทางไปพบลูกค้าบริษัททัวร์ที่จังหวัดภูเก็ต  ก่อนเดินทางก็จะมีการทำการเบิกเงินค่าใช้จ่ายล่วงหน้า คือ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน และ เงินสำรองเฝื่อมีการเลี้ยงตอบแทนลูกค้าไป เป็นจำนวน 15,000 บาท

เนื่องจากหนูเป็นคนกรุงเทพจึงไม่รู้จักเส้นทางในจังหวัดภูเก็ต เลยได้ทำการติอต่อลูกน้องเก่าที่เคยทำงานด้วยกันมาก่อน เป็นคนช่วยพาไปหาลูกค้า ชื่อบริษัท C

ในการเดินทางครั้งนี้ หนูเดินทางไปดับลูกน้องอีกหนึ่งคนค่ะ เมื่อไปถึงภูเก็ตได้นัดลูกน้องเก่า ขอชื่อ เล็ก ให้พาไปพบลูกค้าบริษัท C (ขอใช้ตัวย่อ) หลังจากที่พบและพูดคุยเรื่องธุระกิจเสร็จแล้ว หนูได้ชวน ผู้จัดการของบริษัทนี้ไปทานข้าวด้วยกัน ที่ร้านอาหาร ญี่ปุ่นเซน ที่ ห้าง central ภูเก็ต ทางผู้จัดการแจ้งว่าให้พวกหนูเดินทางไปที่านอาหารก่อน แล้วเค้าจะขับรถตามไปเจอที่ร้าน  เมื่อเดินทางมาถึงร้านอาหารซึ่งมี หนู เล็ก  และ ลูกน้องในบริษัท ก็ได้เข้าไปนั่งในร้านและสั่งอาหาร สักพัก ลูกค้าได้โทรเข้ามาที่เบอร์โทรศัพท์ของ เล็ก (เนื่องจากว่าลูกค้ามีความสนิทสนมกับ เล็กค่ะ) ว่าติดงานด่วนไม่สามารถมาทานได้แล้วให้ทานกันไปเลย หลังจากที่ทานอาหารเสร็จ หนูเป็นคนชำระค่าอาหาร ยอด 2,140 บาทและได้ขอใบเสร็จจากทางร้าน เพื่อนำมาเป็นหลักฐานว่าได้มีการเลี้ยงอาหารค่ะ 


หลังจากที่เดินทางกลับมากรุงเทพ หนูได้นำใบเสร็จต่างๆมาแจกแจงกับทางบริษัท และแจ้งไปว่าได้ทำการเลี้ยงอาหาร ผู้จัดการบริษัท C (ตัวผู้จัดการยกเลิกนัดกระทันหัน และหนูเห็นว่าการเลี้ยงอาหาร เล็ก ก็เป็นการตอบแทนที่เค้าเป็นคนพาหนูไปหาลูกค้า ไม่ใช่แค่บริษัท  C เท่านั้น มีบริษัทอื่นๆด้วย)


ต่อมาวันที่ 14 ม.ค 58 ทางนายจ้างได้ทำการเลิกจ้างหนูด้วยเหตุผลว่า ทิศทางในการทำงานไม่ตรงกัน โดยที่หนูไม่ได้ทำอะไรผิดเลย หลังจากที่นายจ้างแจ้งเลิกจ้าง ขอให้หนูเขียนลาออก หนูปฏิเสธไม่เขียนใบลาออก นายจ้างแจ้งให้หนูกลับได้เลยในวันที่ 14 ม.ค ในวันที่ 15 ม.ค หนูได้เดินทางไปยังศาลแรงงานและดำเนินการฟ้องร้องว่าถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้หนูตกงานอยู่เป็นเวลา 3 เดือน หนูเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องส่งเงินเลี้ยงดูคุณแม่ที่อยู่ต่างจังหวัด และ มีค่าใช้จ่ายในการผ่อนรถด้วยค่ะ หลังจากที่นายจ้างได้รับหมายจากศาลแรงงานได้มีการนัดไกล่เกลี่ย และนายจ้างได้พูดต่อรองด้วยการให้หนูถอนคดีแรงงาน ไม่อย่างนั้นนายจ้างจะดำเนินการแจ้งความคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ เงินจำนวน 2,140 บาท หนูไม่ถอนคดีแรงงาน นายจ้างจึงไปแจ้งความ หลังจากศาลแรงงานตัดสินว่าหนูชนะคดี ทางนายจ้างได้ทำเรื่องอุทธรณ์และแย้งว่าถ้าหนูมีความผิดในคดีอาญานายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และเงินเดือนงวดสุดท้ายค่าแรง 14 วัน 


ในคดียักยอกได้มีการสืบพยานทั้งหมด ตัวลูกน้องที่เดินทางไปด้วยกันกับหนู ขอเรียกว่า ขวัญ , ผู้จัดการบริษัท C พนักงานสอบสวน และ เล็ก  ตอนที่สืบพยาน  ขวัญได้ให้การในชั้นศาลว่า ได้ทักท้วงหนูว่าค่าเลี้ยงอาหารไม่น่าจะเบิกได้ ในความเป็นจริง ขวัญ ไม่ได้ทักท้วงอะไรค่ะ แต่เนื่องจากในเวลานั้น ขวัญ ยังเป็นลูกจ้างของบริษัทเดิมอยู่ และถูกบังคับให้เป็นพยาน ขวัญไม่สามารถปฏิเสธได้ค่ะ และทางนายจ้างเก่าบอกให้พูดตามที่ทางทนายของนายจ้างเก่าแจ้งไว้ หลังจากที่สืบพยานทุกปากแล้ว วันที่สืบหนูซึ่งเป็นจำเลย และเป็นปากสุดท้าย ทางศาลได้มีการพูดคุยกับหนูว่าน่าจะไกล่เกลี่ยกับทางนายจ้างได้ว่า ให้นายจ้างถอนฟ้อง และให้หนูยอมรับว่าหนูนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่ในเงินค่าเลี้ยงอาหารครั้งนั้นหนูมองว่า ถึงหนูจะไม่ได้เลี้ยงผู้จัดการบริษัท C แต่ตัว นายเล็ก ก็มีบุญคุณและ มีผลเกี่ยวเนื่องที่ทำให้ทางบริษัทได้ลูกค้าจากทางบริษัท C หนูมองว่าไม่ได้ทำการยักยอกทรัพย์แต่อย่างใด ในวันนั้นทางศาล ได้ติดต่อนายจ้างเก่าเพื่อพูดคุยทางโทรศัพท์ แต่ไม่ได้พูดต่อหน้าหนูนะคะ ศาลออกไปคุยด้านหลังเป็นการส่วนตัว ซึ่งหนูไม่ทราบว่าพูดคุยอะไรบ้าง (ศาลเป็นคนละคนกันค่ะ เนื่องจากคนเก่าถึงวาระต้องย้ายไปที่อื่น) ลืมแจ้งค่ะว่า วันที่ทางพนักงานสอบส่วนส่งสำนวน และ ตัวหนูต้องไปที่สำนักงานอัยการด้วย ในวันนั้นพนักงานสอบสวนไม่ได้นัดหนูที่สำนักงานอัยการนะคะ ให้หนูไปหาที่สถานีบางโพงพางก่อน และแจ้งหนูว่าให้ไปเจอที่สำนักงานอัยการสักช่วง 10 โมง ตัวพนักงานสอบสวนต้องไปส่งคดีอีกคดีนึงก่อน 


วันนั้นหนูก็เดินทางไปที่สำนักงานอัยการเลยค่ะไม่รอเวลา เมื่อเดินทางไปถึงสิ่งที่หนูเห็นคือ พนักงานสอบสวนพานายจ้างเก่าขึ้นไปพบหัวหน้าอัยการค่ะ จากที่หนูได้ปรึกษากับทนายของหนู ทางทนายแจ้งว่าโดยปกติโจทย์ไม่จำเป็นต้องมาที่สำนักงานอัยการตอนทำเรื่องส่งสำนวน และตอนที่ให้การกับพนักงานสอบสวนหนูได้แจ้งพนักงานไปแล้วว่าขอให้การในชั้นพนักงานสอบสวน แต่ตัวพนักงานสอบสวนพูดมาว่ายังเรื่องนี้ก็ถึงศาลค่ะ 


อยากขอความช่วยเหลือค่ะ ว่าหนูมีความผิดจริงๆข้อหายักยอกทรัพย์ใช่มั้ยคะ (สำหรับหนูมองในแง่ที่ว่า ในหลายๆบริษัทเวลาที่มีการเลี้ยงลูกค้า บางครั้งไม่สามารถใส่รายละเอียดให้ตรงได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าหนูเป็นผู้ชาย แล้ว ลูกค้าหนูก็เป็นผู้ชาย อาจมีการไปเที่ยวสถานที่พวก อาบ อบ นวด รึมีสาวๆมานั่งด้วย ถ้าหนูทำจ่ายกับทางบริษัทก็คงไม่เหมาะที่จะแจกแจงอย่างละเอียดว่า พาไปเลี้ยงสถานที่แบบนั้น) แม้แต่หน่วยงานราชการ เวลามีการไปประชุมสัมมนา จะมีงบบางตัวที่ขอให้ทางโรงแรมโยกค่าใช้จ่ายไปใส่ในรายการอื่นๆ หนูจึงมองว่า การที่หนูเลี้ยงอาหาร เล็ก ก็เป็นผลเกี่ยวเนื่องจาก บริษัท C และนายจ้างเก่าได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ด้วย


หนูขอสอบถามว่า หนูไม่เคยมีประวัติในการทำผิดคดีใดๆเลย ซึ่งศาลให้แพ้คดี ชำระเงินคืน 2,140 บาท โทษจำคุก 2 เดือนไม่รอลงอาญา ไม่ทราบว่าศาลตัดสินโทษเกินกว่าเหตุหรือไม่ เนื่องจากที่หนูได้ศึกษาหาข้อมูลมา และทางทนายของหนูก็ให้ข้อมูลเช่นเดียวกันว่า โดยปกติโทษจำคุกไม่เกิน 2 เดือน และถ้า จำเลยไม่เคยมีประวัติความผิดใดๆ ศาลมักจะตัดสินโทษให้รอลงอาญา


ตอนนี้หนูจะต้องทำเรื่องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน โดยส่วนตัวหนูมองว่าคำตัดสินดูไม่โปร่งใส เพราะแม้แต่ผู้ควบคุมที่ศาลตอนหนูนั่งรอทำเรื่องประกันตัว ก็มองว่าทำไมไม่ตัดสินให้รอลงอาญา เพราะเงินแค่ 2,140 บาท และไม่ได้นำไปใช้ส่วนตัวด้วย แม้แต่ตอนที่ศาลท่านอ่านคำตัดสินยังมีประโยคที่ว่า ถึงแม้ว่าการเลี้ยงอาหารครั้งนี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับทางนายจ้างเก่าก็ตาม 


ในขั้นอุทธรณ์ หนูยังมีโอกาสที่จะชนะคดีหรือไม่คะ รึควรจะแค่ยื่นเพื่อให้ศาลตัดสินโทษให้รอลงอาญาเท่านั้น แล้วหนูมีความผิดจริงหรือไม่คะ กังวลมากค่ะ เพราะถ้าต้องจำคุก ชีวิตหนูหมดอนาคตเลยค่ะ แล้วหนูเป็นลูกคนเดียว มีภาระมากมายไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงดูคุณแม่ ผ่อนบ้าน และผ่อนรถ หนูไม่รู้จะหาทางยังไงแล้วคะ ขอความกรุณาทนายสงช่วยหนูด้วยค่ะ

โดยคุณ กิ้ง (61.19.xxx.xxx) 30 มิ.ย. 2561, 14:47

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

คำพิพากษาของศาล

  การที่ศาลจะรอการลงโทษ (รออาญา) หรือไม่ เป็นดุลยพินิจของศาลเท่านั้น  ....การไม่ยอมรับสารภาพ  จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ  ตาม ปอ. ม.56 และ ม.78...การกระทำของคุณก็เข้าข่าย ความผิดฐานยักยอกทรัพย์  ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน สามปี  ถ้ายอมไกล่เกลี่ย  แต่แรก คดีนี้ น่าจะไม่มีปัญหา  ...ถ้าคิดจะต่อสู้คดี  ควรมีทนายช่วยเหลืออย่างจริงจัง  ถ้าสู้คดีเอง โอกาสพลาดย่อมมีได้สูง...เงินเพียงสองพันเศษ  คุณน่าจะยอมจ่ายเองแต่แรก  เมื่อนายจ้างจ้องจะเล่นงาน  เมื่อคุณนำใบเสร็จไปเบิกเงิน จึงติดกับเขาทันที....ส่วนการอุทธรณ์ผลจะเป็นอย่างไร คงตอบไม่ได้  เพราะศาลอุทธรณ์  จะมีทางตัดสินออกมา 4 ทาง คือ  ยืน  ยก  แก้  กลับ จึงไปทายใจศาลไม่ได้...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ก.ค. 2561, 10:55

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ไกล่เกลี่ยไปแล้วค่ะ ทางรทยจ้างเก่าจะให้ถอนคดีแรงงานที่เค้าต้องจ่ายเงินหนูเกือบ 3 แสน เพื่อแลกกับเงิน 2,140 บาท ตอนไกล่เกลี่ยหนูบอกไปแล้วว่าหนูคืน 2140 ให้ แต่ไม่ถแนคดีแรงงาน นายจ้างไม่ยอมค่ะ

โดยคุณ กิ้ง 1 ก.ค. 2561, 13:23

แสดงความเห็น