WebBoard :กฎหมาย|หลักฐาน และ พยาน และข้อกฎหมาย อุบัติเหตุ รถกระบะตัดหน้าชนรถจักรยานยนต์

หลักฐาน และ พยาน และข้อกฎหมาย อุบัติเหตุ รถกระบะตัดหน้าชนรถจักรยานยนต์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

หลักฐาน และ พยาน และข้อกฎหมาย อุบัติเหตุ รถกระบะตัดหน้าชนรถจักรยานยนต์

  • 1098
  • 3
  • post on 1 ส.ค. 2560, 16:04

เรื่องมีอยู่ว่า ผมขับรถจักรยานยนต์ มาทางตรง และอยู่ดีดี มีรถกระบะพุ่งออกมาจากซอย ออกมาตัดหน้าและชน หลังจากชนทางรถกระบะได้อ้างว่ารีบไปส่งของ ให้ตัวผมเองไปรออยู่ที่ทำงาน เพราะที่ทำงานอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 500 เมตร และทางรถกระบะก็ขับรถไป ทำให้ทางตำรวจไม่ได้เข้ามาดูในที่เกิดเหตุเลยไม่มีหลักฐานตรงนี้ หลังจากนั้น 3 ชั่วโมงต่อมา ทางรถกระบะได้มาหาที่ทำงาน และได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ โดยทางรถกระบะมาพร้อมกับประกัน ทางรถกระบะยอมรับเป็นฝ่ายผิด และตัวผมเองก็ได้ไปหาหมอ หมอคลีนิควินิจฉัยว่า เป็นแผลถลอกและ เคล็ดบวมช้ำ เฉยๆ ให้หยุดงาน 2วัน ตัวผมเองก็คิดว่าเป็นตามนั้น หลังจากนั้น 2เดือน อาการดังกล่าวไม่หายเลยได้ไปโรงพยาบาล หมอวินิจฉัยว่า กระดูกข้อมือหัก และกระดูกหัวเข่าแตกหัก ให้พักรักษาตัว 3เดือน  ที่จะถามคือ ถ้าดำเนินคดี ขึ้นศาล ผมเองไม่มีหลักฐานและพยานในที่เกิดเหตุ เพราะรถกระบะ ขับรถออกจากที่เกิดเหตุไป เลยไม่มีพยานและหลักฐาน รูปอาการบาดเจ็บผมก็ไม่มี แต่ทางประกันของกระบะถ่ายรูปไป แต่ไม่รู้ว่าประกันจะให้หรือไม่ ถ้าขึ้นฟ้องศาล ผมต้องทำไงดีครับ เพราะไม่มีหลักฐานตรงนี้ มีแต่ใบรับรองจากแพทย์อย่างเดียวว่าบาดเจ็บจริงพักรักษาตัว 3 เดือนนี่ คือบาดเจ็บสาหัสหรือไม่ จะเข้าข่ายกฎหมายอาญามาตรา 300 หรือไม่ และถ้าฟ้องศาลจะเรียกร้องอะไรจากประกันและทางรถกระบะได้บ้าง เพราะหลังจากวันที่ได้รับอุบัติเหตุ ทางกระบะไม่เคยติดต่ออะไรมาเลย และวันที่ไปรับเงิน ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ จากประกัน ทางประกันได้บอกว่าให้รับตังค่าเสียหายไป 3000 บาทเพราะขึ้น สน ประกันบอกว่าทางตำรวจจะปรับกระบะ 500 บาทและก็จบจึงอยากให้ผมรับไป แต่ผมเองไม่ได้รับ3000 บาทนี้มา ถ้าวันนัดคุยที่ สน จะเป็นอย่างที่ประกันว่ามั้ยครับ และขึ้นศาลจะมีสิทธิ์ชนะมั้ยครับ ทางกระบะจะผิดมาตราไหนบ้างและต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการเอาผิด เพราะมีแต่บันทึกประจำวันและใบรับรองแพทย์อย่างเดียว รบกวนด้วยครับ 

โดยคุณ ภาคภูมิ ท้วมจันทร์ (58.8.xxx.xxx) 1 ส.ค. 2560, 16:04

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ขอความเมตตาพี่ทนายช่วย ตอบคำถาม4ข้อที่ถามไปด้วยนะครับ และขอขอบคุณมากครับที่กรุณา
โดยคุณ ภาคภูมิ ท้วมจันทร์ 10 ส.ค. 2560, 15:37

ความคิดเห็นที่ 2

ขอขอบคุณมากครับกับคำแนะนำแรก แต่มีคำถามที่จะรบกวนอีกหน่อยนึงนะครับ                             คำถามที่ 1.                                                                                                          จะหาข้อพิสูจน์ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้างครับ เพราะอาการบาดเจ็บนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในภายหลังมันเป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากในตอนแรกแต่เป็นเพราะผลวินิจฉัยทางการแพทย์ครั่งแรกบอกว่าเคล็ดช้ำเฉยๆคือมือข้างซ้าย และขาข้างซ้าย ตัวผมเองจึงเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นครับ แต่ผลวินิจฉัยของหมอที่โรงพยาบาล ก็คือ แขนซ้ายและขาข้างซ้ายเหมือนกัน ผมจะใช้หลักฐานนี้ยืนยันความเกี่ยวเนื่องกันได้มั้ยครับคำถามที่ 2.                                                                                                             ข้อพิสูจน์ ที่ว่านี่ใช้ใบรับรองแพทย์ นิติเวชประกอบได้มั้ยครับ  แพทย์ออกใบรับรองให้ว่า รักษาครั้งแรกที่คลีนิคในวันที่ 28 มีนาคม และมารักษาต่อที่ โรงพยาบาล ครั้งแรกในวันที่ 30 พฤษภาคม ใช้ใบรับรองแพทย์นี้ ใช้ในการพิสูจน์การบาดเจ็บที่ทนายกล่าวมาในข้างต้นได้หรือไม่ครับ                 คำถามที่ 3.                                                                                                         และการที่คู่กรณีขับรถออกจากที่เกิดเหตุ ถือว่าเป็นการ ทำลายหลักฐานและพยานในที่เกิดเหตุ หรือไม่ครับ                                                                                                             คำถามที่ 4. ถ้าผมสู้คดีในศาลจะมีสิทธิ์ ชนะคดีมั้ยครับ เพราะ ไปพบแพทย์ล่าสุด หมอบอกถ้าไม่หายอาจจะต้องผ่าตัด ทั้งหัวเข่าและข้อมือ ซึ่งราคาสูงมาก เลยคิดว่าประกันจะไม่ยอมจ่ายแน่ เลยคิดว่าอาจต้องสู้กันในศาล ผมจะมีสิทธิ์ชนะมั้ยครับ
โดยคุณ ภาคภูมิ ท้วมจันทร์ 7 ส.ค. 2560, 15:19

ความคิดเห็นที่ 1

อุบัติเหตุ

  ต้องหาทางพิสูจน์ให้ได้ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในภายหลังนั้น  เป็นผลโดยตรงจากถูกตัดหน้าของรถกระบะ  แต่การบันทึกยอมรับผิด ก็คงนำมาเชื่อมโยงกันได้  คนขับรถกระบะก็มีความผิด ตาม ปอ. ม.300  มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท..ในทางแพ่ง  ก็ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  ตาม ปพพ. ม.420 ม.ประกอบ ม.443 เช่นค่ารักษาพยาบาล  ค่าขาดประโยชน์ในการทำงาน(3เดือน คิดเป็นเงิน...) ค่าเสียหายแก่ร่างกายจิตใจ(คิดเป็นเงิน...) เป็นต้น  ถ้าอัยการฟ้องจำเลย  ตาม ปอ. ม.300  ผู้เสียหายก็ใช้สิทธิ์ ตาม ป.วิอาญา ม.44/1  ยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย  ไปในคดีที่อัยการฟ้อง โดยไม่ต้องฟ้องคดีใหม่ได้ ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ส.ค. 2560, 19:03

แสดงความเห็น