ลูกหนี้ยังมีทางออกถึงแม้จะถูกฟ้องล้มละลาย|ลูกหนี้ยังมีทางออกถึงแม้จะถูกฟ้องล้มละลาย

ลูกหนี้ยังมีทางออกถึงแม้จะถูกฟ้องล้มละลาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกหนี้ยังมีทางออกถึงแม้จะถูกฟ้องล้มละลาย

ทนายคลายทุกข์ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ ความทุกข์ร้อนลูกหนี้ที่กำลังจะถูกเจ้าหนี้สถาบันการเงินฟ้องล้มละลาย

บทความวันที่ 17 มี.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 44685 ครั้ง


 

ลูกหนี้ยังมีทางออกถึงแม้จะถูกฟ้องล้มละลาย

 

ทนายคลายทุกข์ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์  ความทุกข์ร้อนของลูกหนี้ที่ถูกสถาบันการเงินฟ้องล้มละลาย  เป็นจำนวนมากหลายคดีในแต่ละวัน  เมื่อได้รับหมายศาล  ทำอะไรไม่ถูก  วิตกกังวล  กินข้าวกินปลาไม่ได้  ทั้งที่คดีล้มละลาย  มีทางออกหลายทางดังนี้

1.  ก่อนที่เจ้าหนี้จะฟ้องล้มละลาย  เจ้าหนี้จะให้เวลาลูกหนี้  หาเงินมาชำระหนี้เป็นเวลาประมาณ 9 ปีเศษ  เมื่อใกล้จะขายอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271  เจ้าหนี้มีความจำเป็นจะต้องฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย  เพื่อขยายระยะเวลาในการดำเนินการกับลูกหนี้  ออกไปอีก 3 ปี  จึงจำเป็นต้องฟ้องล้มละลาย

2.  ดังนั้น  ก่อนทีท่านจะถูกฟ้องล้มละลาย  เจ้าหนี้จะส่งสัญญาณเป็นระยะ ๆ  ในปีที่ 9  และปีที่ 10  เช่น  มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับจดหมาย ซ้ำ ๆ  อีก 3-4 ครั้ง  ถ้ายังไม่ตอบกลับอีก  จะมีการฟ้องล้มละลาย

3.  ทางแก้  เมื่อได้รับจดหมายทวงหนี้ก่อนถูกฟ้องล้มละลาย  แนะนำให้หาทางออกโดยการแต่งตั้งทนายความไปเจรจาหนี้กับเจ้าหนี้  เพื่อชำระหนี้บางส่วน เช่น  ร้อยละ 10 ถึง ร้อยละ 30 ของมูลหนี้  เป็นต้น  ยกเว้นลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้  แนะนำให้ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ทางกฎหมาย

4.  โอกาสในการเจรจาหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย  มีโอกาสได้รับการลดหนี้มากกว่าการเจรจาขอลดหนี้ในช่วงก่อนฟ้องและอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินคดีทางแพ่ง  เพราะช่วงล้มละลายเจ้าหนี้มีการตัดหนี้สูญไปแล้ว  เงินที่ลูกหนี้ชำระทั้งหมดถือว่าเป็นกำไรของเจ้าหนี้  การตกลงเจรจาหนี้ในช่วงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ง่าย  จะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

            5.  เมื่อได้รับหมายศาลในคดีล้มละลาย  ลูกหนี้ควรแต่งตั้งทนายความเข้าไปทำงานแทน  ไม่ควรดำเนินการด้วยตนเอง  เพราะทนายความที่ทำคดีล้มละลายโดยเฉพาะ  จะมีเข้าใจในการเจรจาต่อรองหนี้ดีกว่าตัวลูกหนี้  และลูกหนี้จะได้ประโยชน์มากกว่า

            6.  เมื่อได้รับหมายศาลและลูกหนี้ยังคงทำงานและประกอบกิจการต่อไปได้ ไม่ต้องกังวล

            7.  เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด  ลูกหนี้ยังคงมีสิทธิในการเจรจาหนี้ต่อไปหรือแม้กระทั่งศาลมีคำพิพากษาล้มละลาย  ก็ยังคงมีสิทธิในการเจรจาหนี้ต่อไปได้  และการเจรจาหนี้ก็ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น  เพราะมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท

 

ตัวบทกฎหมายที่ลูกหนี้ควรรู้เมื่อคุณฟ้องล้มละลาย

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 14 ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง

มาตรา 22  เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป

(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น

(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

มาตรา 45 เมื่อลูกหนี้ประสงค์จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินโดยวิธีขอชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนหรือโดยวิธีอื่น ให้ทำคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินตามมาตรา 30 หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดให้

คำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้ หรือวิธีจัดกิจการ หรือทรัพย์สินและรายละเอียดแห่งหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกัน ถ้ามี

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคำขอนั้นหรือไม่

มาตรา 61  เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไป ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย

ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา

มาตรา 67  เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้หรือพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว และยังไม่ได้สั่งปลดจากล้มละลาย

(1) ลูกหนี้จะต้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวตามสมควรแก่ฐานานุรูป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้อนุญาตให้ลูกหนี้จ่ายจากเงินที่ลูกหนี้ได้มาในระหว่างล้มละลายและลูกหนี้จะต้องส่งเงินหรือทรัพย์สินที่เหลือนั้น แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดพร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย

(2) ทุกครั้งที่ลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินอย่างใดลูกหนี้จะต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ โดยแสดงรายละเอียดเท่าที่สามารถจะทำได้ภายในเวลาอันสมควร และไม่ว่าในกรณีใด ลูกหนี้จะต้องแสดงบัญชีรับจ่ายเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกระยะหกเดือน

(3) ลูกหนี้จะออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ได้ เว้นแต่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอนุญาตเป็นหนังสือและถ้าจะย้ายที่อยู่ ต้องแจ้งตำบลที่อยู่ใหม่เป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาอันสมควร

มาตรา 81/1  ภายใต้บังคับมาตรา 81/2 บุคคลธรรมดาซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เว้นแต่

(1) บุคคลนั้นได้เคยถูกพิพากษาให้ล้มละลายมาก่อนแล้ว และยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายครั้งก่อนจนถึงวันที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งหลังให้ขยายระยะเวลาเป็นห้าปี

(2) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตที่ไม่มีลักษณะตาม (3) ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษและบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี ศาลจะสั่งปลดจากล้มละลายก่อนครบกำหนดสิบปีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือของบุคคลล้มละลายนั้นก็ได้

(3) บุคคลนั้นเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ขยายระยะเวลาเป็นสิบปี

ในกรณีที่มีเหตุตาม (1) (2) หรือ (3) มากกว่าหนึ่งเหตุให้ขยายระยะเวลาโดยอาศัยเหตุใดเหตุหนึ่งที่มีระยะเวลาสูงสุดเพียงเหตุเดียว

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 76 มาตรา 77 และมาตรา 78 มาใช้บังคับกับการปลดจากล้มละลายตามมาตรานี้โดยอนุโลม

มาตรา 81/2  ก่อนระยะเวลาสามปีตามมาตรา 81/1 วรรคหนึ่ง จะสิ้นสุดลง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาดังกล่าวไว้ก่อนก็ได้

เมื่อศาลได้รับคำขอเช่นว่านี้แล้ว ให้ศาลกำหนดนัดไต่สวนเป็นการด่วน และส่งสำเนาคำขอให้แก่บุคคลล้มละลายทราบก่อนวันนัดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

มาตรา 91  เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกินสองเดือน

คำขอรับชำระหนี้นั้นต้องทำตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้และทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดของลูกหนี้ที่ยึดไว้เป็นหลักประกันหรือตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้

มาตรา 113  การขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอได้โดยทำเป็นคำร้อง

มาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 นั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หรือเป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือเป็นการที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ

มาตรา 115  การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้

ถ้าเจ้าหนี้ผู้ได้เปรียบเป็นบุคคลภายในของลูกหนี้ ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามวรรคหนึ่งที่ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น

มาตรา 116  บทบัญญัติในมาตรา 115 ไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย

มาตรา 164  ในระหว่างเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือภายหลังนั้น แต่ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

(1) ยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย ก่อความชำรุดหรือเปลี่ยนแปลงดวงตราสมุดบัญชีหรือเอกสารอันเกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของตน หรือรู้เห็นเป็นใจด้วยการกระทำนั้นๆ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า มิได้มีเจตนาปกปิดสภาพแห่งกิจการของตน

ถ้าปรากฏว่า ดวงตรา สมุดบัญชี หรือเอกสารสูญหาย ชำรุดหรือเปลี่ยนแปลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ลูกหนี้เป็นผู้กระทำ

(2) ละเว้นจดข้อความอันเป็นสาระสำคัญ หรือจดข้อความเท็จลงในสมุดบัญชีหรือเอกสารอันเกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของตน หรือรู้เห็นเป็นใจในการนั้น

(3) นำทรัพย์สินซึ่งได้มาโดยเชื่อและยังมิได้ชำระราคาไปจำนำจำนองหรือจำหน่าย เว้นแต่การนั้นเป็นปกติธุระของลูกหนี้ และพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีเจตนาฉ้อฉล

(4) รับสินเชื่อจากบุคคลอื่นโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือซุกซ่อนโอน หรือส่งมอบทรัพย์สินของตนโดยทุจริตหรือกระทำ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ทรัพย์สินของตนต้องมีภาระผูกพันขึ้นโดยทุจริต หรือยอมหรือสมยอมกับบุคคลอื่นให้ศาลพิพากษาให้ตนต้องชำระหนี้ซึ่งตนมิควรต้องชำระ

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 15


โดยคุณ Mehmet Hakan 7 ก.ค. 2562, 02:59

ความคิดเห็นที่ 14

Hello everyone!

My name is Atchara. I currently live in Nan, Thailand. Now I'm a widow with four children and I'm stuck with the financial situation in March and I want to refinance and pay my bills. I tried to find a loan from various loan companies, both private and corporate. But without success and most banks reject my credit But as God has it, I was introduced to the cooperative of the man of God, a personal loan lender who gave me a 800,000 loan. Today, business owners and my children do well now if you have to Contact any company that has reference to securing credit without collateral, checking credit, no signer, only 2% interest rate and good repayment plan. And which Mr. Dante Paola, contact via email: dantecooperativehelp @ hotmail. com don't know that you're doing this But now I'm very happy and I decided to let people know him more and I want God to bless him more. You can contact him via his email: [email protected] For quick chat or whatsapp / +35677926593


Thank You

Achara


โดยคุณ Achara 9 เม.ย. 2562, 17:31

ความคิดเห็นที่ 13

เคสที่ 1 แม่มีหนี้บัตรเครดีตจำนวน 7 ใบ ค้างชำระทุกใบ 150000บาท 120000 บาท 220000 บาท 60000 บาท 90000 บาท 15000 บาท และ 12000 บาทตามลำดับ  ไม่มีเงินจ่าย ไม่ใช่อยากจะเบี้ยวแต่ธุระกิจขาดทุน รายได้ติดลบ จะมีวิธีเลี่ยงการโดนฟ้อง อย่างไรบ้างค่ะ
เคสที่ 2 หนี้ของตัวเองค่ะ  มีหนี้กับธ.กรุงไทย 2 ล้าน สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 1500000 บัตรเครดิต 4 ใบ 70000 บาท 80000 บาท 20000 บาท และ55000 ตามลำดับค่ะ พอจะมีวิธีรอมชอมไม่ให้ทางธนาคารและบัตร ฟ้องไหมค่ะ คือหักรายเดือน เงินเดือนหมดแต่ไม่พอชำระหนี้ค่ะ  รบกวนขอคำปรึกษาด้วยค่ะ ธุกิจขาดทุน ไม่มีทางไปแล้วค่ะ
โดยคุณ ทิพย์ธิญากร วงศ์คำ 26 ธ.ค. 2561, 14:36

ความคิดเห็นที่ 12

สวัสดีค่ะ
พี่ชายไปค้ำประกันกู้บ้านให้เพื่อน บ้านโดนยึดและขายทอดตลาดไปแล้วแต่พี่ชายโดนฟ้องล้มละลายถูกอายัดบัญชีธนาคาร กรณีถอย่างนี้ควรทำไงดีค่ะ
โดยคุณ สุวรรณี สิงห์วงษา 30 ต.ค. 2561, 08:15

ความคิดเห็นที่ 11

สวัสดีครับ รบกวนสอบถามผมกู้เงินธนาคารมา3.7ล้านเพื่อสร้างร้านและที่อยู่อาศัย ส่งมาได้ สองปีครึ่ง เดือนละ26800

บาท ช่วงหลังขายของไม่ดี ตัวเองก็ตกงานไม่ได้ส่งต้นและดอกเข้าเดือนที่4 ในฐานะที่เราเป็นลูกหนี้จะทำยังไงดีครับ ต้อนนี้ถ้าผมทำใจปล่อยให้ธนาคารยึด แล้วแจ้งล้มละลายได้ไหมครับ ขอคำชี้แนะด้วยครับ

โดยคุณ ณัฏฐพัชร พิภัชมงคลกุล 29 มิ.ย. 2561, 08:59

ความคิดเห็นที่ 10

โดนฟ้องล้มละลายคะเนื่องจากกู้เงินของกรุงไทยแล้วผิดนัดชำระหนี้ธนาคารฟ้องล้มเนื่องจากกู้มา 1,500,000 รวมดอกก้อเกือบ2ล้านคะ..แต่เงินเดือนธนาคารก้อหักหมดทุกบาทคะเพื่อใช้หนี้แต่ใช้แค่ดอกเบี้ยค้าง...ศาลฟ้องก้อไปทุกครั้งคะแต่ก้อศาลให้เลื่อนออกมาเจรจากับแบงค์..ส่วนแบงค์ก้อบอกให้ปิดบัญชีหาเงินมาใช้หนี้ดิฉันไม่มีที่ไหนจะหาเงินมาปิดได้คะเพราะทรัพย์สินก้อไม่มี .ไม่รู้จะแก้ปัญหายังไงเป็นข้าราชการด้วยคะ

โดยคุณ จิรภัทร 17 เม.ย. 2561, 16:37

ความคิดเห็นที่ 9

ถูกฟ้องล้มละลาย เนื่องจากกู้ร่วมซื้อบ้านกับแฟนเก่า ทราบมาว่าตอนนี้แฟนเก่าโดนอายัดบัญชีเงินเดือน มาตั้งแต่ปีใหม่ แล้วเรากู้ร่วมด้วยจะโดนอายัดบัญชีเงินเดือนด้วยหรือเปล่าคะ และต้องทำอย่างรัยต่อไป ทางเจ้าหนี้สามารถอายัดบัญชีเงินเดือนเราเลยทันทีได้หรือเปล่าคะ

โดยคุณ สวรรยา 20 มี.ค. 2561, 11:16

ความคิดเห็นที่ 8

  ตอนนี้ผมโดนฟ้องล้มละลายครับ. รอขึ้นศาล ผมไปค้ำประกันให้แฟน ผมอยากถามว่า หนี้ส่วนที่ผมต้องผ่อนชำระอยู่คือ เดือนละ2,667 บาท ส่วนนี้คือผมกู้เอง ยังต้องผ่อนต่อมั้ยหรือควรทำยังไงครับ

โดยคุณ ปรีชา นนท์อ่อน 2 ม.ค. 2561, 19:15

ความคิดเห็นที่ 7

เมื่อศาลล้มละลายและศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้องไม่ให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทำไมผมถึงกู้ธนาคารไม่ได้เลยครับและผมจะทำอย่างไรครับถึงจะกู้ได้ครับ

โดยคุณ ร.ต.สุมล จาบประโคน 9 พ.ย. 2560, 16:11

ความคิดเห็นที่ 6

ดิฉันไปค่ำประกันเพื่อนทำงานเทศบาลเดี่ยวกันโดยไปยื่นกู้พร้อมันแต่ดิฉันไม่ผ่านเพราะเงินเดือนเหลือน้อยถ้าเงินเพิ่มค่อยมายื่นกู้เพิ่มใหม่ส่วนเพื่อนกู้ผ่านหนึ่งล้านบาทส่งเดือนละหนึ่งหมื่นบาทดิฉันพูดกับเจ้าหน้าที่ธนาคารให้วงเงินสูงจังตอนข้าพเจ้ากู้ใหม่ๆเงินเดือนเต็มหมื่นห้ายังกู้ได้สูงสุดแปดแสนเองแต่นี้เงินเดือนหมื่นเศษๆทำมัยกู้ได้มากขณะนี้และดิฉันจะค่ำได้หรอเงินเด่ือนเหลือไม่ถึงห้าพันและทำมัยดิฉันขอ่มแค่สองแสนทำมัยไม่ผ่านเขาพูดเหมือนเราจะส่งไม่ได้แล้วพี่จะค่ำได้หรอเขาพูดว่าค่ำเฉยๆค่ะพี่ต่อมาเพื่อนได้ลาออกอยู่บ้านเฉยๆไม่ส่งชำระธนาคารเลยอายัญเงินเดือนของด้ฉันและบอกว่าให้ชำระหนี้ให้เพื่อนตอนนี้เงินเดือนของดิฉันเหลือไม่ถึงสี่พันบาทจะไปชำระหนี้ได้อย่างไรตอนนี้ธนาคารได้ฟ้องล้มละลายดิฉันเดือนธัวานี้แล้วค่ะเงินก็ไม่ได้ใช้กับเขาสักบาทและยังต้องได้ออกจากราชการอีก

โดยคุณ ธัญญนุช 22 ต.ค. 2560, 14:44

ความคิดเห็นที่ 5

กรณีกู้ร่วมกับแฟนเก่าที่เลิกลากันแล้ว ซึ่งผมเป็นผู้กู้ร่วม ผ่านธนาคาร ธอส. ตอนนี้บ้านขายทอดตลาดแล้ว มีหมายศาลมาให้ไปที่ศาลล้มละลาย จะต้องดำเนินการเช่นไรดีครับผม เงินเดือนน้อย มีภาระรายจ่ายทุกเดือนครับผม ขอบพระคุณอย่างสูงครับ 

โดยคุณ นายศรีรัตน์ 21 ส.ค. 2560, 13:13

ความคิดเห็นที่ 4

ในกรณีถูกฟ้องล้มละลาย3จำเลยสามารถแชหนี้เปน3ส่วนได้ป่าวครับ. หรือว่าใครมีสัพสินเยอะกว่าต้องโดนคนเดียว

โดยคุณ attaproon 13 ส.ค. 2560, 05:05

ความคิดเห็นที่ 3

เป็นหนี้อยู่ 900000 ทำสัญญา เดือนมกราคม 2559 โดยที่ไม่ได้ส่งเงินให้เจ้าหนี้เลย เจ้าหนี้บอกจะส่งฟ้องล้มละลาย ผมจะทำอะไรได้มั้งครับ

โดยคุณ Ao 21 พ.ค. 2560, 08:12

ความคิดเห็นที่ 2

ดิฉันโดนฟ้องศาลบัตรเครดิตจำนวน  53000  ไม่ใช่ไม่อยากชำระแต่ก่อนหน้าบ้านเราไฟไหม้บ้าน  และลูก ๆ ต้องเรียนหนังสือจึงไม่ได้ชำระเงิน  ปัจจุบัน มีรายได้วันละ  300 บาท  โดยเป็นลูกจ้างรายวันเท่านั้น   จะทำอย่างไรดีคะ

โดยคุณ สมบูรณ์ ธรรมศิริ 9 เม.ย. 2560, 20:45

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กรณีตามปัญหา  หากตอนนี้ท่านยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ท่านก็อาจจะรอให้ทางเจ้าของบัตรฟ้องคดีต่อศาลได้ และหากท่านได้รับหมายศาลแล้ว แนะนำให้ท่านไปศาลตามกำหนดนัดแรก และเจรจาขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เพื่อชำระหนี้ในยอดขั้นต่ำเป็นรายเดือนต่อไป ตามมาตรา 850 มาตรา 852

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 17 พ.ค. 2560, 15:12

ความคิดเห็นที่ 1

บุคคลล้มละลาย ต้องเงินเก็บในสมุดบัญชีได้เท่าไรถึงจะไม่ถูกยึดเงิน

โดยคุณ กัญญา 19 พ.ย. 2553, 09:59

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ดิฉันถูกฟองล้มละลายถูกอายัดบัตรเอทีเอ็มดิฉันเป็นคนคำประกันเรื่องบ้านค่ะแต่แฟนเป็นคนกู้หลัก. แฟนเลิกไปแล้วดิฉันทำงานเงินเดือน25,000บาทถูกอายัดบัตร. ดิฉันทำงานเลียงลูกคนเดียวเดือดร้อนมากค่ะควรทำไงดีค่ะกินไม่ได้นอนไม่หลับเลยค่ะ

โดยคุณ วิภา บุญชู 24 ก.ค. 2560, 21:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก