ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร|ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร

บทความวันที่ 26 มี.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 269570 ครั้ง


ผู้ประกันตนตามมาตรา 33,39,40 คือใคร

                ในวันนี้เป็นวันแรกของการส่งมอบเช็คช่วยชาติฉบับแรก โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อท่านดูตามทีวีจะพบว่ากรุงเทพมหานครได้จัดให้มีบอร์ดแยกผู้ประกันตนออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ทนายคลายทุกข์จึงนำกฎหมายเกี่ยวกับมาตราดังกล่าวมานำเสนอเพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างให้ทราบถึงความหมายของมาตราดังกล่าวดังนี้ 

                 มาตรา 33 ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปี บริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน

 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็น ผู้ประกันตนต่อไป

[ มาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

                มาตรา 38 ความเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น

                 (1) ตาย

                 (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

               ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างตาม (2) ได้ส่งเงินสมทบครบ ตามเงื่อนเวลาที่จะก่อให้เกิดสิทธิตามบทบัญญัติในลักษณะ 3 แล้ว ให้ผู้นั้นมีสิทธิตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันสิ้นสภาพ การเป็นลูกจ้าง

[ความในวรรคสองของ มาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542]

                มาตรา 39 ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

               จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

               ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้

               นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง

[ มาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537]

               มาตรา 40 บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน

               หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับ ตาม มาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 398

โควิด ตกงาน

โดยคุณ สมพร กองอรินทร์ 22 ต.ค. 2563, 20:56

ความคิดเห็นที่ 397

ขึ้นทะเบียนว่างงานวันที่03/30/63
รายงานตัวครั้งแรกวันที่22/04/63
จนป่านนี้เงินว่างงานยังไม่ได้เลยคับ
โดยคุณ ชัชวาลย์ ราวิวัฒน์ 11 พ.ค. 2563, 19:46

ความคิดเห็นที่ 396

มาตรา33 ถูกเลิกจ้างอายุ 49 แต่ส่งเงินสบทบเกิน 180 วันแล้ว ไม่ส่งต่อประกันสังคม จะได้รับบำนาญ

ตอนอายุครบ 55 ปี หรือไม่ครับ

โดยคุณ ขวัญชัย รัชตธรรมากูล 6 ก.ค. 2561, 08:08

ความคิดเห็นที่ 395

ขอสอบถาม ครับ ว่า ผู้ประกันตน ตาม ม.33 ถ้าออกจากงานแล้ว และไม่ได้ทำงาน ในระบบประกันตนอีก จะไปของรับเงิน ก่อนได้ไหมครับ แล้วถ้าได้ต้องทำยังไงบ้าง ครับ 

ออกงานมา 2ปีแล้ว และอายุเกินที่ จะกลับไปทำงานได้ใหม่ ครับ

เคยมี คนที่ทำงานไเก่า แจ้งว่า ให้ไป เขียนใบลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ที่ สนง.ประกรัรสงคม 

โทรไปถามก็บอกแต่ว่าไม่มีไม่ได้ ต้องรอ55เท่านั้นครับ จริงๆ แล้วมันทำได้ไหมครับ การลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน จาก ม.33ครับ 

ขอบคุณครับ

โดยคุณ เสรี 2 เม.ย. 2561, 10:12

ความคิดเห็นที่ 394

บริษัท ผม จ้างที่ปรึกษา ซึ่งต้องมาประชุมทุกเดือน ๆละครั้งอย่างน้อยและมีค่าจ้างและโบนัส เป็นรายปี มาสิบปีแล้ว  เราจ่ายประกันสุขภาพให้ที่ปรึกษาจนปีนี้ท่านที่ปรึกษาอายุ64 กับ อายุ 69 ปี (มีสองคน)ทำประกันสุขภาพได้จนถึง 70 ปี 


ถามว่า ถ้าจะเข้า ประกันสังคม จะใช้กรณีไหนได้บ้าง (ที่ปรึกษาเคยเป็นสมาชิกประกันสังคมจนอายุ60ปี)


ขอบคุณครับ

โดยคุณ ชัยพงศ์ 27 ธ.ค. 2560, 22:31

ตอบความคิดเห็นที่ 394

แนะนำให้โทรสอบถามกับสำนักงานประกันสังคมได้เลยครับ เพื่อที่ท่านจะได้ข้อมูลที่ชัดแจ้ง

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 ม.ค. 2561, 15:14

ความคิดเห็นที่ 393

อยากทราบว่า ถ้าหากนายจ้าง ไม่ทำประกันสังคมให้ลูกจ้าง ทั้งที่ลูกจ้างทำงานมาได้ประมาณ 7 เดือน และเมื่อไม่นานมานี้ ลูกจ้างได้ประสบอุบัติเหตุ เนื่องการจากการทำงานและเกิดในเวลางาน อยากทราบว่า นายจ้างมีความผิดหรือไม่ และนายจ้างไม่ได้ช่วยเหลือลูกจ้างเกี่ยวกับสวัสดิการใดๆเลย กรณีแบบนี้ จะต้องแจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง และมีวิธการอย่างไรบ้างเพื่อให้ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรมบ้างคะ (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับแฟนดิฉันเองค่ะ) ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

โดยคุณ น.ส.สุรัชนี เปินสมุทร 6 ต.ค. 2560, 13:04

ตอบความคิดเห็นที่ 393

หากนายจ้างไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมและลูกจ้างเลยไม่ได้เป็นผู้ประกันตน และไม่ได้รับสิทธิจากประกันสังคมนั้น ตามกฎหมายประกันสังคมนายจ้างจะถือว่ามีความผิด แต่หากไม่มีใครไปแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมก็จะไม่เกิดอะไรขึ้น หากมีผู้ไปแจ้งกับประกันสังคมทางประกันสังคมจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบที่สถานที่ประกอบการของบริษัทนั้น ๆ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ต.ค. 2560, 15:10

ความคิดเห็นที่ 392

ขอสอบถาม ครับ คื ผม ออกจากงาน มาแล้ว 1ปีกว่า แต่ไม่ได้ ต่อ ประกันสังคม เลย  จะขอรับเงินสะสมคืนได้ ไหมครับ ตอนนี้ อายุ 46 ปี เคยโทรไป ถามแล้วเขาบอกว่า จะขอได้ ต้องอายุ ครบ 55ปีก่อน ใช้ไหมครับ แต่ถ้าจะขอ ถอนก่อนจะได้ไหมครับ แล้ว ถ้าแบบลาออกจากกอนทุน จะได้ไหมครับ ขอบคุณครับ 

โดยคุณ เสรี 4 ส.ค. 2560, 12:09

ความคิดเห็นที่ 391

ปัจจุบันทำงานโรงเรียนเอกชนส่งประกันสังคมมาแล้ว4ปีกว่าและได้บรรจุเข้าระบบรัฐ  จะสามารถเปลี่ยนมาเป็นส่งประกันสังคมในมาตรา39ได้ไหมคะ

โดยคุณ ดวงพลอย มณีไพรสณฑ์ 29 ก.ค. 2560, 14:01

ความคิดเห็นที่ 390

เคยส่งมาตรา 39 ประมาณ 10ปี และหยุดส่งต้องทำยังไงจะส่งต่อได้


โดยคุณ Lonesome 12 เม.ย. 2560, 00:10

ความคิดเห็นที่ 389

 ขาดส่งประกันมาตรา39มา5ปีมีสิทธิกับไปส่งต่อไหมค่ะ

โดยคุณ Na 5 เม.ย. 2560, 23:11

ความคิดเห็นที่ 388

 จะส่งประกันสังคมต่อเป็นส่งเองแต่ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัดสามารถทำเรื่องได้ไหมค่ะ ถ้าได้ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง.ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ น้ำผึ้ง 31 มี.ค. 2560, 17:08

ความคิดเห็นที่ 387

 เราสามารถยื่นประสังคมต่อเองได้ไหม.ตอนนี้อยู่ต่างจังหวัดค่ะ

โดยคุณ 31 มี.ค. 2560, 16:41

ความคิดเห็นที่ 386

 แฟนลาออกจากงานที่ทำและไม่ได้ส่งประกันสังคมต่อจนเกินกำหนดที่ประกันสังคมต่อให้อีก6เดือน จนตอนนี้ประกันสังคมขาดแล้วค่ะ แบบนี้จะสามารถทำประกีนตนเองได้ไหมค่ะ

ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

โดยคุณ 18 ม.ค. 2560, 23:27

ตอบความคิดเห็นที่ 386

 แนะนำให้สอบถามที่สำนักงานประกันสังคมได้เลยครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 ก.พ. 2560, 10:55

ความคิดเห็นที่ 385

 แนะนำให้สอบถามที่สำนักงานประกันสังคมได้เลยครับ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 3 ก.พ. 2560, 10:55

ความคิดเห็นที่ 384

 มาตรา40  สิทธิประโยชน์

โดยคุณ สมบัติ นิคาโม 14 ม.ค. 2560, 15:31

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก