บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน|บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน

บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน

ธุรกิจรับจ้างทวงหนี้เฟื่องฟู สวนทางเศรษฐกิจซบ อ้าแขนรับพนักงานเพิ่ม รองรับงานเข้าล้นพอร์ต คาดเอ็นพีแอลกระฉูดท่ามกลางกระแสคนตกงานพุ่ง

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4323 ครั้ง


บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน

บริษัททวงหนี้งานเข้าล้นพอร์ต _ฟีดแบ็กคนตกงานเหนียวจ่าย/รับคนเพิ่มโวรายได้ 8 หมื่น/เดือน

ธุรกิจรับจ้างทวงหนี้เฟื่องฟู สวนทางเศรษฐกิจซบ อ้าแขนรับพนักงานเพิ่ม รองรับงานเข้าล้นพอร์ต คาดเอ็นพีแอลกระฉูดท่ามกลางกระแสคนตกงานพุ่ง ขณะที่ต่างชาติเล็งขายทิ้งพอร์ตหนี้ เผยแนวโน้มเอ็นพีแอลบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลและรถยนต์ไต่ระดับเป็นชั้นเลวมากขึ้น 'เจเอ็มที'โอดถูกนอนแบงก์บีบลดค่าจ้างทวงหนี้ หันปรับกลยุทธ์ซื้อหนี้มาบริหารเอง ขณะที่คลังดอดใช้บริการเอกชนช่วยติดตามหนี้เอสเอ็มอีแบงก์

 

ปัญหา 'ว่างงาน' และเลิกจ้าง กำลังเป็นประเด็นใหญ่ของสังคมไทยที่จะตามมา หลังผลกระทบของวิกฤติการเงิน ลุกลามต่อเป็นวิกฤติเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 และปี 2552 แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันธุรกิจเดียวที่มีการเติบโตสวนกระแสอยู่ในขณะนี้ คือ ธุรกิจรับติดตามหนี้ ซึ่งเติบโตขึ้นทั้งปริมาณงานติดตามหนี้และจำนวนพนักงานที่ต้องรับเพิ่มขึ้น

 

++บ.ตามหนี้อู้ฟู่ คนไม่พอรองรับงาน

นายประชา ชัยสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชษฐ์ คอลเล็คชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด ในฐานะประธานชมรมผู้ติดตามหนี้สินด้วยวิธีที่เป็นธรรม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นอาจมีผลให้ธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยขายพอร์ตสินเชื่อบางประเภทให้แก่ธนาคารพาณิชย์ไทย หรือลีสซิ่งสัญชาติไทย ซึ่งจะมีผลให้บริษัทติดตามหนี้รับงานติดตามหนี้จากผู้จ้างมากขึ้น

 

ดังนั้นในปีหน้าจึงมีแผนที่จะรับพนักงานติดตามหนี้เพิ่มอีก 150 คน จากปัจจุบันที่มีจำนวนพนักงานแล้ว 500 กว่าคน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มจำนวนพนักงานติดตามหนี้ที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมาซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 40-50 คน หรือปีนี้ที่เพิ่มประมาณ 100 คน

 

ปีนี้พอร์ตหนี้ที่บริษัทรับติดตามเพิ่มขึ้น 30-40% สูงกว่าเฉลี่ยของปีที่ผ่านมาซึ่งเพิ่มขึ้น 20% โดยที่ส่วนใหญ่ยังเป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล แต่คาดว่าในปีหน้าเอ็นพีแอลจะสูงขึ้นกว่านี้อีก จึงต้องเพิ่มจำนวนพนักงานไว้รองรับให้เพียงพอ โดยปัจจุบันพนักงานติดตามหนี้ 1 ราย มีภาระในการติดตามหนี้เฉลี่ยประมาณ 300-500 บัญชี และผลตอบแทนสูงสุดที่พนักงานติดตามหนี้เคยได้รับอยู่ที่ประมาณ 70,000-80,000 บาทต่อเดือน

 

"ผู้ที่ต้องตกงานเพราะถูกผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ให้เข้ามาสมัครเป็นพนักงานติดตามหนี้ เพราะตอนนี้กำลังต้องการคนเพิ่ม แต่งานนี้เป็นงานที่ต้องใช้ศิลปะในการพูด

 

นายวังสันต์ ภาณุดุลกิตติ ประธานบริษัท บาร์เกน พ้อย จำกัด กล่าวว่า ปีหน้าธุรกิจติดตามหนี้น่าจะมียอดหนี้เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเจ้าหนี้ในระบบหันมาเร่งรัดเก็บหนี้แทนการฟ้องคดี ที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกับที่เจ้าหนี้มีความเข้มงวดมากขึ้นในการคัดเลือกบริษัทรับจ้างติดตามหนี้ เพราะหลายบริษัทที่ไม่สามารถจัดเก็บหนี้ได้ตามที่เจ้าหนี้ต้องการ หรือมียอดการเรียกจัดเก็บหนี้ลดลง

 

ปัจจุบัน พอร์ตหนี้จำนวน 60,000 ล้านบาท ที่บริษัทบริหารอยู่นั้น ประกอบด้วยลูกหนี้ 3 ประเภทคือ A ยอดค้างชำระ 1 ปีมีค่าตอบแทนตั้งแต่ 25-35% (โดยกลุ่ม Aแบ่งเป็นหลายพอร์ต) ส่วนกลุ่ม B สภาพหนี้ที่ค้างชำระ 2 ปี อัตราค่าจ้างอยู่ที่ 40-50% และกลุ่มC สภาพหนี้ค้างชำระเกิน 2 ปีขึ้นไปค่าจ้างอยู่ที่ 60% ซึ่งบริษัทมีพอร์ตหนี้กลุ่มC อยู่เกือบ 50% โดยรวมพอร์ตหนี้จะมีลูกหนี้ทุกประเภท ขณะที่บริษัทมีทีมติดตามหนี้รวม 400 คน และดำเนินการจัดเก็บเป็นทีมๆละ 20 คน

 

++สัญญาณหนี้ชั้นเลวปูด

นายวิเชียร ชุบไธสง กรรมการผู้จัดการ บริษัทสำนักงานกฎหมายซีเอแอล จำกัด กล่าวว่า เป็นที่สังเกตว่างานติดตามหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ส่งให้บริษัท ซึ่งปกติจะส่งในทุกเดือนนั้น ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมามีจำนวนเพิ่มขึ้น และเป็นหนี้ที่เลื่อนชั้นจากค้างชำระ 3 เดือนมาเป็นค้างชำระ 6 เดือนมากขึ้น เช่น หนี้รถยนต์ที่ค้างชำระเกิน 6 เดือนจากช่วงต้นปีที่รับงานเข้ามาประมาณ 200-300 รายต่อเดือน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 400-500 รายต่อเดือน รวมทั้งหนี้ค้างบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไหลมาเป็นหนี้ค้าง 6 เดือนมากขึ้น

 

แนวโน้มปีหน้ายิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หนี้เสียก็จะตกมาเยอะขึ้น ธุรกิจเร่งรัดหนี้มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะตามหนี้ได้ยากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจจะมีผลให้กำไรโดยรวมลดลง โดยที่ปัจจุบันกำไรของบริษัทเติบโตไม่ถึง 10% จากปีก่อนหน้าที่โตมากกว่า 10% แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ถือว่าสามารถสร้างงานให้แก่พนักงานติดตามหนี้ได้ และเป็นธุรกิจที่ยังมีกำไรพอประคับประคองตัวเองได้

 

++แบงก์สั่งตามหนี้ถี่ขึ้น

 

จากที่ "ฐานเศรษฐกิจ" สำรวจไปยังธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ถึงแนวโน้มยอดการยึดรถ โดยนายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงทำให้ยอดยึดรถยนต์ลดลงตามไปด้วย เห็นได้จากในช่วงที่ราคาน้ำมันสูง มียอดยึดรถยนต์เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 800-900 คัน แต่หลังจากที่ราคาน้ำมันลดลงแล้วยอดยึดรถยนต์ต่อเดือนลดลงเหลือ 600-700 คัน

 

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารมีการติดตามหนี้ถี่ขึ้นและคุยกับลูกหนี้มากขึ้น โดยนอกเหนือจากทีมตามหนี้ภายนอก 100 กว่าทีมที่ทำหน้าที่ติดตามหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ยึดแล้ว หรือค้างชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป ยังมีเจ้าหน้าที่ของธนาคารอีก 50 คนที่ทำหน้าที่โทร.ตามหนี้ลูกหนี้ที่ค้างชำระ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน

 

ล่าสุด ธนาคารมอบหมายให้เจ้าหน้าที่การตลาดเปลี่ยนหน้าที่จะปล่อยสินเชื่ออย่างเดียว ต้องลงไปติดตามหนี้ด้วย เพราะเจ้าหน้าที่การตลาดที่ปล่อยสินเชื่อ เป็นคนแรกที่เจอกับลูกค้าก่อนที่จะมีการอนุมัติสินเชื่อ หรือแต่เดิมที่ไม่มีการติดตามหนี้ในวันเสาร์-อาทิตย์ ขณะนี้ก็ต้องมีการติดตามหนี้ในวันเสาร์และอาทิตย์ด้วยเช่นกัน

 

เช่นเดียวกับนายอติพัฒน์ อัศวจินดา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า ในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีแนวทางดูแลลูกหนี้อย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ไหลเป็นหนี้เอ็นพีแอล โดยลูกหนี้รายย่อยที่มีมูลหนี้ 3-5 ล้านบาท ธนาคารจะใช้ระบบติดตามเฝ้าดูสถานะทางการเงินตั้งแต่ดูพฤติกรรมการใช้วงเงิน การผ่อนชำระหนี้ หากมีสัญญาณกลายเป็นเอ็นพีแอลจะลดวงเงิน หรือหากพบว่าลูกหนี้มีสถานะทางการเงินไม่ดีแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่ธนาคารนัดเจรจา ธนาคารก็จะเรียกเข้ามาเจรจาในทันทีเพื่อหาทางออกร่วมกัน

 

++เคทีบีลีสซิ่งแก้เกมมุ่งเป้าขรก.

 

นายภิญญาวัฒน์ จันทรการตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทีบีลีสซิ่ง จำกัดหรือเคทีบีแอล)บริษัทในเครือธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า จากภาวะตลาดคาดว่าลูกค้าจะมีปัญหาในการผ่อนชำระบ้าง ปัจจุบันมีหนี้เอ็นพีแอลสัดส่วน 2%ของพอร์ตรวม 1.3 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทมีลูกค้าจำนวนเกือบแสนราย จึงเน้นให้ทีมงานดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด เช่น แผนผ่อนปรนสำหรับลูกหนี้ที่กำลังจะมีปัญหาการผ่อนชำระแต่จะใช้วิธีคุยเป็นรายกรณีและมีการจัดโครงสร้างให้ลูกหนี้ผ่อนชำระตามกำลัง แต่จากฐานลูกค้ากว่า 90% เป็นข้าราชการ จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถป้องกันปัญหาหนี้เอ็นพีแอลได้

 

โดยเฉพาะเบื้องต้นของการพิจารณานั้นบริษัทกำหนดรายได้ลูกค้าตั้งแต่ 7,000 บาทไปจนถึง 50,000 บาทขึ้นไป เฉลี่ยปัจจุบันลูกค้ามีรายได้ที่ 10,000 บาทต่อราย อีกทั้งการอนุมัติวงเงินสินเชื่อก็กำหนดให้ลูกค้ามีรายได้จากเงินเดือนคงเหลือประมาณ 40-50% เพื่อการชำระแล้ว

 

 

สำหรับแนวโน้มการขยายฐานลูกค้าใหม่นั้น บริษัทจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะข้าราชการเท่านั้น เพราะเป็นฐานลูกค้าที่มีความชัดเจนทั้งหน่วยงานต้นสังกัด รายได้และโอกาส ขณะเดียวกันยังต้องพิสูจน์ฐานะทางการเงินย้อนหลัง 3 เดือน หรืออาจจะเพิ่มอายุการทำงานให้ยาวจากเดิมที่กำหนดไว้ 1ปี

 

++คลังจ้างเอกชนตามหนี้SMEแบงก์

 

นอกจากนี้ มีรายงานข่าวว่า กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารที่มีอยู่จำนวนกว่า 20,000 ล้านบาท หรือเกือบ 50% ของสินเชื่อรวม โดยล่าสุดผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังได้เรียกบริษัทติดตามหนี้ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับงานเร่งรัดหนี้ ซึ่งจะมีการจ้างให้บริษัทเอกชนเข้าไปดำเนินการติดตามหนี้ในก้อนดังกล่าวให้

 

++โอดแบงก์บีบลดค่าจ้างตามหนี้

 

ทางด้าน นายปิยะ พงษ์อัชฌา ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวิร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด (เจเอ็มที) ในเครือบริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ผู้ว่าจ้างติดตามหนี้ทั้งแบงก์พาณิชย์และบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ปรับลดอัตราค่าจ้างติดตามหนี้ลง โดยทยอยปรับลดจาก 25% เป็น 22% จนล่าสุดเหลือ 18% เพราะภาระต้นทุนของผู้ว่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับตัวและหาทางออกด้วยการลดพอร์ตการรับจ้างบริหารหรือการติดตามหนี้ โดยยังรับจ้างตามหนี้เฉพาะพอร์ตที่มีกำไร

 

++เพิ่มพอร์ตรับซื้อหนี้มาบริหารเอง

 

นอกจากนี้ ในปี 2552 ได้ปรับแผนที่จะปรับสัดส่วนพอร์ตการรับจ้างบริหารหนี้ให้เหลือ 50% จากปัจจุบันที่มีพอร์ตรับจ้างติดตามหนี้ในสัดส่วนถึง 80% ขณะเดียวกันจะเพิ่มพอร์ตรับซื้อหนี้เข้ามาบริหารเองจาก 20% เป็น 50% จากปัจจุบันซึ่งพอร์ตหนี้คงค้างรวมทั้งหมด 10,000 ล้านบาท

 

ในส่วนของการรับซื้อหนี้มาบริหารเองนั้น ขณะนี้มีพอร์ตหนี้ที่บริษัทอยู่ระหว่างตรวจสภาพสินทรัพย์จำนวน 500 ล้านบาท ลูกค้าประมาณ 10,000 ราย ส่วนในปีหน้ายังอยู่ระหว่างการศึกษาตลาด โดยเบื้องต้นคาดว่าธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีความจำเป็นที่จะต้องตัดขายหนี้ที่มีอายุ 6 เดือน หรือ 1 ปีออกมา เพื่อบริหารความเสี่ยงจากโอกาสในการติดตามหนี้ที่ยากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้บริษัทมีความพร้อมที่จะเจรจารับซื้อพอร์ตเดิมที่รับจ้างบริหารอยู่และหนี้ใหม่ในระบบ โดยคาดว่าประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมจะเริ่มเห็นสถาบันการเงินหลายแห่งทยอยขายเอ็นพีแอลสู่ระบบ

 

นายปิยะกล่าวว่า การรับซื้อหนี้มีโอกาสที่จะทำกำไรถึง 30% โดยภายในระยะเวลา 3 ปี บริษัทต้องตั้งสำรองหนี้สูญไว้ แต่หลังจากนั้นบริษัทสามารถมีกำไร 100% จากการเรียกเก็บหนี้ส่วนที่คงเหลือโดยมีอายุ 10 ปี ซึ่งหากเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการรับจ้างติดตามหนี้ในปัจจุบันมีรายได้เพียง 18% เท่านั้น โดยปัจจุบันบริษัทมีพอร์ตหนี้ที่รับซื้อเข้ามาบริหารเอง 2,000 ล้านบาท จากพอร์ตหนี้ทั้งหมด 10,000 ล้านบาท

 

"ตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาว่าจะมีเอ็นพีแอลที่ออกมาขายเท่าไร เพื่อเตรียมงบประมาณไว้รับซื้อไม่อั้น เพราะมีความพร้อมทั้งเงินทุนและทีมงาน โดยหนี้ที่รับซื้อมานั้นจะทำให้บริษัทมีสินทรัพย์เป็นของตัวเอง สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีกรณีที่ลูกหนี้ผิดสัญญา และมีโอกาสรักษากำไรจากเฉลี่ยในขณะนี้ที่ 15% ขึ้นไปมีกำไรเป็น 30%"นายปิยะกล่าว

 

สำหรับแนวโน้มการรับจ้างติดตามหนี้ เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เพราะลูกหนี้ที่มีกำลังในการชำระหนี้ลดลง ทำให้บริษัทต้องหันมาเน้นการติดตามหนี้ด้วยการเจรจาและให้โอกาส ด้วยการให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระขั้นต่ำ เช่น หนี้ส่วนบุคคลต่อรายกำหนดให้จ่ายขั้นต่ำได้ที่ 1,000-2,000 บาทต่อเดือนจากยอดหนี้ค้าง 10,000-20,000 บาท รวมทั้งการปรับกลยุทธ์ในการเรียกเก็บหนี้โดยเพิ่มจำนวนบัญชีต่อพนักงานแต่ละรายในการเรียกเก็บหนี้มากขึ้น โดยหวังว่ามูลหนี้ของการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ลดลงจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินคดีฟ้องร้องลูกค้า แม้ว่าแนวโน้มหนี้ส่วนบุคคลมีโอกาสเพิ่มขึ้นทั้งวงเงินกู้ทั่วไป เช่าซื้อ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

 

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ธนาคารหรือบริษัทที่ให้กู้เงิน  ควรให้เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือบริษัทของตัวเอง ต่อรองกับลูกหนี้เอง  ดีกว่าไปเสียเงินส่วนที่สามารถลดให้ลูกหนี้ได้ ลูกหนี้ก็ได้ส่วนลดพอจ่ายได้ ทำไมใจดำยอมเสียเงินให้บริษัทรับจ้างทวงหนี้แต่ไม่ยอมลดเงินให้ลูกหนี้  ขอให้บริษัทหรือธนาคารที่ใจดำเหล่านี้ได้รับกรรมสนองตามทันชีวิตมีเงินแต่ไม่มีความสุข  ไม่มีใครเมตตาเอื้ออาทร เหตุเพราะตนเองคิดแต่ทำธุรกิจ ไม่ลดหย่อน คิดดอกเบี้ยสูงเกินจริง มีความสุขอยู่บนความทุกข์คนจน ดอกเบี้ยธนาคารแห่งชาติกำหนดให้ไม่เกิน 15%ต่อปี แต่กลับโกงคิดดอกเบี้ยเกินจริง คือ 28% ต่อปี น่าแปลกที่ไม่มีใครจับกุมหรือดำเนินการให้ธนาคารหรือบริษัทเหล่านี้เข้าคุกแต่อย่างใด ปล่อยให้โกงเงินคนยากจน คนบางคนเป็นหนี้ในระบบธนาคาร กลับเจอการทวงที่ไม่สุภาพเช่นเดียวกับหนี้นอกระบบ  เวลานี้ถึงจะให้โอนหนี้เข้าระบบแต่ประชาชนก็ถูกทวงต่ำๆแบบหนี้นอกระบบ เนื่องจากธนาคารจ้างนักเลงมาทวงหนี้ลูกค้า  แทนที่จะลดเงินให้ลูกค้ากลับเอาเงินจ้างบริษัทรับทวงหนี้ นอกจากไม่ได้บุญแล้วยังเป็นการเพิ่มเวรกรรมให้กับตัวเอง คือเอาเงินให้นักเลงดีกว่าลดหนี้ให้ลูกค้า  เอาสมองส่วนไหนคิด

โดยคุณ วิทวัส 11 เม.ย. 2555, 14:30

ความคิดเห็นที่ 1

บริษัท เชษฐ์ตามหนี้ แบบกูจะตามให้ถึงที่สุด ไม่มีความเป็นธรรม ตัวดิฉันแจ้งว่าอยู่ที่กทม. ยังเสือกกะโหลกส่งเอกสารไปที่บ้าน ไม่รู้ว่าพวกมันอยากได้เงิน มากหรือไง ถ้ามีกูก็จ่ายแล้ว แต่ตอนนนี้ยังไม่มี ไม่ต้องทวงมาก มีจ่ายแน่นอน ไม่ต้องคิดเอาใครต่อ ต่อใครมาเกี่ยงข้อง

โดยคุณ แอน 19 ต.ค. 2554, 12:40

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก