งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
กฎหมายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ทนายคลายทุกข์ขอเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ขับขี่รถจักรยายนต์จะต้องสวมหมวกนิรภัยและต้องได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้รวมทั้งผู้ที่ซ้อนท้ายจะต้องสวมหมวกนิรภัยด้วยเช่นกัน หากฝ่าฝืนทั้งผู้ขับขี่และคนซ้อนอาจถูกปรับตาม
พ.ร.บ.จราจรจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่
7 พ.ศ. 2550
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ.2522 ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 )
มาตรา
122 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย
ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ
สามเณร นักพรต นักบวช
หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น
หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
148 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 มาตรา 36
มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 51 มาตรา 54 มาตรา 55 วรรคหนึ่ง
มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 60 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 68 มาตรา 69 มาตรา 70 มาตรา 71
มาตรา 73 วรรคสอง มาตรา 74 มาตรา 76 มาตรา 83 มาตรา 84 มาตรา 87 มาตรา 88 มาตรา 96
วรรคหนึ่ง มาตรา 97 มาตรา 101 มาตรา ๑๐๗ มาตรา 108 มาตรา 109 มาตรา 110 มาตรา 111 มาตรา
112 มาตรา 114 วรรคหนึ่ง มาตรา 118 มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 121 มาตรา 122
วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 123 มาตรา 124 มาตรา 126 มาตรา 129 หรือมาตรา 133
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ถ้าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กระทำความผิดตามมาตรา
122 วรรคสอง ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
เนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ซ้อนท้าย
จยย.รับจ้างต้องสวมหมวกกันน็อก
พล.ต.ต.
ซึ่งหากมีการฝ่าฝืน
จะต้องโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
โดยห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่รถในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย
หากฝ่าฝืนถ้าผู้ขับขี่จักรยานยนต์จะถูกปรับเป็น 2 เท่าของโทษที่กำหนด เช่น
คนขับรถไม่สวมหมวก บรรทุกคนโดยสารที่ไม่สวมหมวก จะถูกจับเป็นความผิด 2 ข้อหา คือ
การไม่สวมหมวกเฉพาะตัวเอง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
และอีกข้อหาคือออกรถโดยที่คนโดยสารไม่ สวมหมวกถูกปรับเป็น 2 เท่าจากที่ตนเองไม่สวมหมวก
ซึ่งได้แจ้งให้ฝ่ายจราจรของ สน.ต่าง ๆ ดำเนินการกวดขันผู้ขับขี่
โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์รับจ้างซึ่งให้บริการผู้โดยสารแต่ละวันจำนวนมาก
พล.ต.ต.ภาณุ
กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้กำชับให้กวดขันรถจักรยานยนต์ในความผิดข้อหาหลักที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อหาที่เป็นปัญหาการจราจร
อีก 6 ข้อหาคือ 1.ผู้ขับขี่และผู้โดยสารสวมหมวกนิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐานตามกฎกระทรวงกำหนด
2.ขับรถจักรยานยนต์ไม่ใกล้ขอบทางด้านซ้าย 3.อุปกรณ์ส่วนควบไม่สมบูรณ์ 4.ขับขี่จักรยานยนต์ฝ่าฝืนทิศทางการเดินรถ
(ย้อนศร) 5.บรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ซ้อนสาม)
6.ไม่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดเมื่อได้รับสัญญาณไฟสีแดง
(ฝ่าไฟแดง) ทั้งนี้จากสถิติปี 2549 มีรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ
รวมกว่า 2 ล้านคัน ไม่รวมรถจักรยานยนต์ต่างจังหวัดที่นำเข้ามาวิ่ง และสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรในเขตกรุงเทพฯ
ปี 2549 รับแจ้ง 50,571 ครั้ง มีคู่กรณีเป็นรถจักรยานยนต์ 26,071 ราย หรือคิดเป็นกว่า ร้อยละ 30 และ จากสถิติการเสียชีวิต 665
คนเป็นผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ถึงร้อยละ 60.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์