ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี|ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

  • Defalut Image

ปัจจุบันเจ้าหนี้ในคดีแพ่ง เมื่อฟ้องศาลและมีคำพิพากษาแล้วต้องมีการสืบหาทรัพย์สินและยึดทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้

บทความวันที่ 8 พ.ย. 2561, 10:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 4116 ครั้ง


ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

                   ปัจจุบันเจ้าหนี้ในคดีแพ่ง เมื่อฟ้องศาลและมีคำพิพากษาแล้วต้องมีการสืบหาทรัพย์สินและยึดทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้กำหนดไว้ว่ามีทรัพย์สินบางประเภทเจ้าหนี้ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ เช่น สิทธิการเช่า ของใช้ส่วนตัวของลูกหนี้ เงินเดือนข้าราชการ และทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้ เป็นต้น ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาเสนอดังนี้    
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2532, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2535, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2552, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2550 (หุ้นสหกรณ์อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี อายัดได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2552

             เงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องที่ 2 ที่ได้ชำระแก่ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้ว แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่ 2 แต่ผู้คัดค้านก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ อีกทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285, 286 (ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301,302)  เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องที่ 2 จัดส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้
               เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงผู้ร้องที่ 2 ขออายัดเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านในสหกรณ์ผู้ร้องที่ 2 โดยให้จัดส่งเงินตามที่อายัดภายใน 10 วัน นับแต่วันถึงกำหนดจ่าย คำสั่งอายัดดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 (3) (ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296)  ผู้ร้องที่ 2 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หลังจากผู้ร้องที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งอายัดแล้ว ผู้ร้องที่ 2 กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือโต้ตอบกันเกี่ยวกับเงินที่มีคำสั่งอายัดหลายฉบับ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวผู้คัดค้านยังมิได้ขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เมื่อผู้คัดค้านขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นนั้น เป็นผลให้เงินค่าหุ้นถึงกำหนดจ่าย ผู้ร้องที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นตามคำสั่งอายัด จะอ้างว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดอีกหลายฉบับต่อจากคำสั่งอายัดเดิมถือว่าคำสั่งอายัดเดิมเป็นอันสิ้นผล และผู้ร้องที่ 2 ได้รับคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ผู้ร้องที่ 2 ได้นำเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านไปหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ของผู้คัดค้านแล้วหาได้ไม่    
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2525 (โต๊ะทำงานเหล็กและตู้เก็บเอกสาร ไม่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน)
                โต๊ะเก้าอี้ชุดรับแขกหนึ่งชุด โต๊ะเก้าอี้ชุดรับประทานอาหารหนึ่งชุดและนาฬิกาติดผนังหนึ่งเรือน มีสภาพเป็นของใช้สำหรับบุคคลทั้งหลายในครัวเรือนร่วมกันจึงมีสภาพเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนอันไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีส่วนโต๊ะทำงานเหล็กและตู้เก็บเอกสารเหล็กมีสภาพเป็นของใช้เฉพาะสำหรับตัวผู้เป็นเจ้าของ จึงไม่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนอันไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา285(1) (ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301,302)
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2537 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2550 (ที่ดินที่มีกฎหมายกำหนดห้ามโอนเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจยึด)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2537
              โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทมีกำหนดเงื่อนไขห้ามโอน 10 ปี การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกเหตุดังกล่าวขึ้นมาเป็นข้อวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องปฏิเสธ โจทก์เห็นว่าเมื่อการครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่เปลี่ยนแปลงไป โจทก์จึงยังไม่มีข้อเท็จจริงใดต้องปฏิเสธ ดังนี้ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ปัญหาจึงมีเพียงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะยึดที่ดินพิพาทหรือไม่ ซึ่งโจทก์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีที่จะต้องวินิจฉัย ที่ดินพิพาทต้องห้ามการโอนภายใน 10 ปี ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 วรรคท้าย บัญญัติว่า ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามวรรคหนึ่งที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี การยึดที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 (ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296) แม้ผลของการยึดทรัพย์จะยังมิได้ทำให้สิทธิแห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยเปลี่ยนไปก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ตกอยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่มีอำนาจที่จะยึดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2550
                บ้านของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์นำยึดปลูกสร้างอย่างแน่นหนาถาวรบนที่ดินจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินตาม ป.พ.พมาตรา 144 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ประธานถูกห้ามโอนตามกฎหมาย บ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมถูกห้ามโอนด้วย แม้โจทก์จะอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์ประสงค์จะยึดบ้านพิพาทอย่างสังหาริมทรัพย์ โดยในการขายทอดตลาดผู้ที่ซื้อทรัพย์จะต้องรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินไปเอง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการได้เมื่อกำหนดเวลาห้ามการโอนผ่านพ้นไปแล้วเสียก่อน เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดบ้านพิพาทในระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย กรณีจึงมีเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการยึดบ้านหลังดังกล่าวได้
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2537, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2551 (สิทธิการเช่าที่โอนสิทธิแก่กันไม่ได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2537

               สิทธิการเช่าตึกแถวระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับจำเลยเป็นสิทธิเฉพาะตัว และไม่มีข้อตกลงให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าได้จึงเป็นทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมาย ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 285(4) (ปัจจุบันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 ,302)  โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดออกขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้ เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดสิทธิการเช่าตึกแถวแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินราคาไว้ จึงเป็นทรัพย์สินที่มีราคาอยู่ในตัวแต่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามกฎหมายโจทก์ผู้นำยึดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
                 ก่อนที่จะทำการยึดทรัพย์ จะต้องศึกษาตัวบทกฎหมายและแนวฎีกาก่อนว่า ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะยึดนั้น อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่ มิฉะนั้นยึดไปก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด 
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ปี 2551 ดิฉันได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถกับ บ.ไทยพาณิชย์ลิสซิ่ง จก. ราคา 680.000 บาท เงินดาว์น 216,579 บาท คงเหลือ 463,421 บาท ผ่อนขำระงวดละ 8,882 บาท (60งวด) จำไม่ได้ว่่าผ่อนไปกี่งวด คาดได้ว่าผ่อนชำระไปประมาณ 32 งวด และไม่ได้ผ่อนต่อ .. เมื่อ 15 พย.61 พนักงาน บ.บริหารทรัพย์สิน J โทรเข้ามือถือมาทวง และแจ้งว่า มีคำพิพากษาศาลมีนบุรีแล้ว ซึ่งดิฉันไม่ทราบเรื่องมาก่อน จึงให้เขาส่งรายละเอียดมาให้ เขาส่งใบแจ้งยอดค้างชำระหนี้ จำนวน 462,000 บาท ให้ขำระภายในวันที่ 30 พย.61 นี้ หากพ้นกำหนดทาง บ. จะดำเนินคดีแพ่ง และหากศาลมีคำพิพากษาแล้วบริษัทฯ มีสิทธิ์ในการบังคับคดีในเรื่องการยึด และอายัดทรพัย์สินฯ ดิฉันจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ขอคำปรึกษาดังต่อไปนี้

1. แนวทางดำเนินการจัดต้องทำอย่างไรบ้าง (ตามลำดับก่อน/หลัง)

    ทำไมจึงฟ้องที่ศาลมีบุรี ทั้งที่ดิฉัน(จำเลย) อยู่นนทบุรี ซึ่งเป็นการยากลำบากในการเดินทาง เพราะดิฉันไม่เคยไปแถวนั้นเลย (เป็นคนต่างจังหวัดย้ายงานมาสำนักงานกลาง กฟผ.) และเช่าบ้านอยู่ อ.บางกรวย (ใกล้ที่ทำงาน) ที่สำคัญดิฉันให้ที่อยู่ที่ทำงานในสัญญาเช้าซื้อด้วย

2. หากคำพิพากษาแล้ว (เขาไม่ได้ส่งมาให้ มีแต่หนังสือแจ้งยอดหนี้แผ่นเดียว) จะทำอย่างไร ทำไม บ.บริหารทรัพย์ฯ จึงไม่ส่งมาให้ด้วย

3. ยอดค้างชำระ แพงมาก เหมือนไม่เคยผ่อนเลย จะทำอย่างไร เพราะให้ชำระจำนวนมาก และในเวลาจำกัด จะขอลดให้ใกล้เคียงกับที่ค้างชำระจริง และผ่อนเป็นงวด ๆ ภายใน 1 ปีได้หรือไม่ เพราะมีภาระเลี้ยงดูแม่ และส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย

4. คนคำประกันเป็นแฟน หลังจากเลิกกัน เขาเอารถไปใช้โดยรับปากจะผ่อนส่งให้ หากติดตามรถไม่ได้ ดิฉันใชี้หนี้หมด บ.เขาบอกว่า จะไม่โอนทะเบียนรถให้ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้  แล้ววันหนี้ดิฉันจะเอาอะไรไปติดตามเอารถคืนได้ (ได้ข่าวว่าแฟนย้ายไปอยู่เชียงใหม่)

5. อื่นๆ ที่ดิฉันควรจะทำเพื่อให้ได้แนวทางแก้ปัญหาดีที่สุด ซึ่งแล้วแต่ท่านจะเมตตาแนะนำ

   จึงขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้าไว้ ณ ที่นี้ด่วย

         ด้วยความเครารพอย่างสูง

โดยคุณ หน่อย 21 พ.ย. 2561, 11:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก