การเบิกความเป็นพยานในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไม่ใช่หน้าที่ที่ตำรวจได้รับมอบหมายโดยตรง แม้จะเบิกความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 157 |การเบิกความเป็นพยานในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไม่ใช่หน้าที่ที่ตำรวจได้รับมอบหมายโดยตรง แม้จะเบิกความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 157

การเบิกความเป็นพยานในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไม่ใช่หน้าที่ที่ตำรวจได้รับมอบหมายโดยตรง แม้จะเบิกความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 157

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเบิกความเป็นพยานในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไม่ใช่หน้าที่ที่ตำรวจได้รับมอบหมายโดยตรง แม้จะเบิกความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 157

  • Defalut Image

ปัจจุบันมีตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนบางคนเบิกความเท็จเพื่อช่วยเหลือจำเลยในคดียาเสพติด ทำให้จำเลยคดีมียาเสพติดไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย หลุดพ้นจากคดี

บทความวันที่ 7 พ.ย. 2561, 10:49

มีผู้อ่านทั้งหมด 1494 ครั้ง


การเบิกความเป็นพยานในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไม่ใช่หน้าที่ที่ตำรวจได้รับมอบหมายโดยตรง แม้จะเบิกความเท็จก็ไม่ผิดมาตรา 157  

             ปัจจุบันมีตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนบางคนเบิกความเท็จเพื่อช่วยเหลือจำเลยในคดียาเสพติด ทำให้จำเลยคดีมียาเสพติดไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย หลุดพ้นจากคดี ตามข่าว ดังนั้น ตำรวจชุดจับกุมและพนักงานสอบสวนที่เบิกความเท็จจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีอาญาแต่ไม่ผิดมาตรา 157  อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1033/2533


คำพิพากษาศาลฎีกาอ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533

                การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น หมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326.

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157
 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปรึกษากฎหมายกับทีมงานทนายความ ทนายคลายทุกข์ 02-9485700

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

สวัสดีคะ


อ่านคำฎีกา แล้วถ้าโจทก์ในคดีนี้ เป็นจำเลย และถูก ตำรวจ ที่ตกเป็นจำเลย มาเบิกความเท็จใส่ร้ายเพื่อให้ถูกรับโทษละคะ แต่ศาลได้ยกฟ้อง แล้วตำรวจคนนี้จะมีความผิดฐานเบิกความเท็จหรือม่

โดยคุณ กชณา นวมะชิติ 7 ต.ค. 2562, 20:29

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก