ปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์|ปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

ปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

  • Defalut Image

ในคดีเล็กน้อยซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี

บทความวันที่ 16 ต.ค. 2561, 10:32

มีผู้อ่านทั้งหมด 7495 ครั้ง


ปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

    ในคดีเล็กน้อยซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ 
    (1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
    (2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้ 
    (3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ 
    (4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกิน 1,000 บาท 
    ปัญหาข้อเท็จจริง ได้แก่ ปัญหาที่ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติยังต้องใช้พยานหลักฐานมาพิสูจน์อยู่ เช่น นาย ก. ได้กระทำผิดหรือไม่ เป็นต้น หรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล 
    ส่วนปัญหาข้อกฎหมายนั้น ย่อมไม่ต้องคู่ความอุทธรณ์ ปัญหาข้อกฎหมาย คือ การนำข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วมาปรับกับตัวบทกฎหมาย แล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงนั้นมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร 
     อย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย มีคำพิพากษาฎีกาพิพากษาไว้ ดังนี้

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา
1.คำพิพากษาฎีกาที่ 537/2542

    อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้ตบหน้าผู้เสียหายแต่หากจะฟังว่าจำเลยตบหน้าผู้เสียหายจริงก็เป็นเพราะผู้เสียหาย ตบหน้าจำเลย จำเลยจึงตบหน้าผู้เสียหายเพื่อป้องกันตัวนั้น นอกจากจะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำผิด แล้ว ยังได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าการกระทำของจำเลย เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงเพื่อนำมาสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
2.คำพิพากษาฎีกาที่ 974/2534 
    โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่าศาลชั้นฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง (ฎีกาที่ 1917/2529, 1173/2530, 974/2534 พิพากษาแนวเดียวกัน) 
3.คำพิพากษาฎีกาที่ 360/2530 
    ฎีกาที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของพยานจำเลยบางปากมาวินิจฉัยเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริง (ฎีกาที่ 211/2536 พิพากษาแนวเดียวกัน) 
4.คำพิพากษาฎีกาที่ 7673/2551 
    การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใดหรือไม่ เป็นการปรับข้อเท็จจริงเข้าสู่ข้อกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมาย และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย 
5.คำพิพากษาฎีกาที่ 10189/2546 
    การวินิจฉัยข้อความที่จำเลยกล่าวว่าเป็นการใส่ความโจทก์ร่วมโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำมิใช่วินิจฉัยผลของการกระทำ โดยศาลจะพิเคราะห์จากข้อความเหล่านั้นว่ามีความหมายอย่างไร จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย 
6.คำพิพากษาฎีกาที่ 7117/2540 
    ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
7.คำพิพากษาฎีกาที่ 472/2539
    ปัญหาว่าสมควรลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 76 หรือไม่ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริง 
8.คำพิพากษาฎีกาที่ 6755/2553 
    การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายทั้งสิบสองรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไร และร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 193 ทวิ

    ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
    (1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
    (2) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
    (3) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ
    (4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก