บิ๊กไบค์ยกล้อ ใครผิดใครถูก|บิ๊กไบค์ยกล้อ ใครผิดใครถูก

บิ๊กไบค์ยกล้อ ใครผิดใครถูก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

บิ๊กไบค์ยกล้อ ใครผิดใครถูก

  • Defalut Image

ตามที่มีข่าวบิ๊กไบค์ยกล้อชนกับรถมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งสวนมากินเลนบิ๊กไบค์

บทความวันที่ 20 ก.ย. 2561, 11:04

มีผู้อ่านทั้งหมด 1901 ครั้ง


บิ๊กไบค์ยกล้อ ใครผิดใครถูก

                ตามที่มีข่าวบิ๊กไบค์ยกล้อชนกับรถมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งสวนมากินเลนบิ๊กไบค์ ตำรวจแจ้งว่ารถที่กินเลนผิด ตามกฎหมายใครประมาทน้อยกว่า  มีสิทธิเรียกค่าเสียหายฝ่ายที่ประมาทมากกว่า ดังนั้น คดีนี้ต้องดูว่าใครประมาทมากกว่ากัน โดยดูจากวงจรปิดเป็นหลัก และฟังพยานที่เห็นเหตุการณ์ประกอบอีกส่วนหนึ่ง  

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 420
 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา 422  ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
มาตรา 442  ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา 223 วรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
มาตรา 438  ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
         อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 480/2548 
           การที่โจทก์และจำเลยจะต้องรับผิดในผลของการกระทำละเมิดต่อกันเพียงใดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วย มาตรา 223 ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอ ๆ กัน โจทก์และจำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากกันได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2864/2546 
          การพิจารณาว่าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามปพพ.มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 นั้น เมื่อ ว. ผู้ขับรถโจทก์มีส่วนประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้   ดังนั้น  การวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยต่างมีส่วนประมาทแต่โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าและกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนึ่งในสามส่วนของค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว   

คำพิพากษาฎีกาที่ 230-231/2538 
          เหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ตายและ ว. ลูกจ้างจำเลยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 3367/2538  
         โจทก์เป็นเพียงผู้นั่งโดยสารมากับรถจักรยานยนต์ของต.คันเกิดเหตุมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่งความรับผิดให้แก่โจทก์ได้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเหตุเกิดเพราะต. ประมาทมากกว่าจำเลยให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์เพียง1ใน3จึงไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก