ตำรวจค้นตัวประชาชนแล้วไม่พบของผิดกฎหมายไม่มีอำนาจจับกุม|ตำรวจค้นตัวประชาชนแล้วไม่พบของผิดกฎหมายไม่มีอำนาจจับกุม

ตำรวจค้นตัวประชาชนแล้วไม่พบของผิดกฎหมายไม่มีอำนาจจับกุม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตำรวจค้นตัวประชาชนแล้วไม่พบของผิดกฎหมายไม่มีอำนาจจับกุม

  • Defalut Image

เมื่อตำรวจค้นตัวแล้วไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ตำรวจย่อมไม่มีอำนาจจับ

บทความวันที่ 5 ก.ย. 2561, 11:09

มีผู้อ่านทั้งหมด 2539 ครั้ง


ตำรวจค้นตัวประชาชนแล้วไม่พบของผิดกฎหมายไม่มีอำนาจจับกุม

           เมื่อตำรวจค้นตัวแล้วไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย ตำรวจย่อมไม่มีอำนาจจับ การที่ตำรวจไปจับแล้วเรียกเงิน ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2547
               เมื่อผลการตรวจค้นตัว ว. ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ว. ได้กระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองต่อไปอีก จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจจับกุม ว. สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องปล่อยตัว ว. ไป การที่จำเลยที่ 1 ยังจับกุม ว. จากศาลาท่าน้ำนำตัวไปไว้ที่สะพานข้ามคลองแสนแสบจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
               วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่คู่กับจำเลยที่ 1 โดยใช้รถจักรยานยนต์คันเดียวกับจำเลยที่ 1 และอยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เริ่มตรวจค้นจับกุมจนกระทั่งปล่อยตัว ว. ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำ ว. ไปที่ใต้สะพานข้ามคลองแสนแสบโดย ว. นั่งกลาง จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายมีลักษณะควบคุมตัว ว. ไม่ให้หลบหนีทั้งระหว่างที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจนถึงรับเงินจาก ว. จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น เมื่อได้รับเงินแล้วจำเลยที่ 2 ก็นั่งรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 83
 ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา 148  ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 227
 ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
               เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมทนายความ ทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700, 081-6161425
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ผมโดนคดีขับเสพคับที่จังหวัดพิจิตรตอนนี้ผลัดฟ้องมา 2 ฝากแล้วคับแต่ผมอยากทราบว่า..เมื่อ 6 ปีก่อนผมโดนคดีครอบครองเพื่อเสพครึ่งเม็ด ตอนนั้นผมอายุ 17 จึงขึ้นศาลเยาวชนที่นครสวรรค์ศาลท่านตัดให้ผมมาบำบัดและรายงานตัว 2 ปีผมก้อรายงานจนครบจนคดีสิ้นสุด.. ศาลท่านจะเอามาพิจารณาคดีรวมด้วยรึป่าวคับ..ที่ผมกังวลคือผมมีโอกาสจะติดคุกไหมคับ..เพาะตอน 6 ปีที่แล้วผมเคยโดนมาแล้วอ่ะคับ ช่วยตอบหน่อยนะคับ

โดยคุณ Tichakon Seesa 17 ก.ย. 2561, 18:51

ตอบความคิดเห็นที่ 1

หากคดีนี้ท่านให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีของศาล ศาลจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามปอ. มาตรา 78  และศาลจะพิจารณาว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีนี้หรือไม่ ซึ่งอาจเป็นเหตุในการพิจารณากำหนดโทษให้แก่จำเลยได้ หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ต.ค. 2561, 16:25

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก