พยานนิติวิทยาศาสตร์ดีกว่าพยานบุคคล|พยานนิติวิทยาศาสตร์ดีกว่าพยานบุคคล

พยานนิติวิทยาศาสตร์ดีกว่าพยานบุคคล

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

พยานนิติวิทยาศาสตร์ดีกว่าพยานบุคคล

  • Defalut Image

พยานบุคคลมีความสำคัญต่อคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะการกระทำความผิด

บทความวันที่ 2 ส.ค. 2561, 09:31

มีผู้อ่านทั้งหมด 1532 ครั้ง


พยานนิติวิทยาศาสตร์ดีกว่าพยานบุคคล

             พยานบุคคลมีความสำคัญต่อคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะการกระทำความผิด แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์มักไม่เดินทางไปศาลหลายเหตุผล เช่น คดีล่าสุดที่นักศึกษาถูกแทงตายจนพ่อของผู้เสียหายต้องกระโดดอาคารศาลอาญาตาย เพราะผิดหวังในคำพิพากษาเนื่องจากศาลยกฟ้อง เนื่องจากประจักษ์พยานไม่มาศาลโดยอ้างว่าวิกลจริตหรือว่าบ้า ไม่อยู่ในฐานะที่จะเบิกความได้ ส่วนคดีอื่นๆหลายคดีที่มีการฆ่ากันยิงกันในที่ชุมชน มีพยานรู้เห็นจำนวนมากแต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาเป็นพยานเพราะกลัวเป็นอันตรายต่อชีวิตไม่อยากยุ่งเรื่องชาวบ้าน นอกจากนี้ประจักษ์พยานหลายคนก็ถูกปิดปากด้วยเงินตรา รู้เห็นเหตุการณ์แต่ไปเบิกความต่อศาลว่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์โดยเห็นแก่เงิน พยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์จึงมีความไม่แน่นอน และมีผลต่อการแพ้ชนะของคดีความ ปัจจุบันในคดีต่างๆจึงให้น้ำหนักต่อพยานที่เป็นนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การพิสูจน์คราบเลือด อสุจิ ลายพิมพ์นิ้วมือ ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่มีคุณค่าเชิงพิสูจน์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ถึงแม้ไม่มีประจักษ์พยานแต่มีพยานนิติวิทยาศาสตร์ก็สามารถเอาคนผิดมาลงโทษได้ ตัวอย่างของคำพิพากษาและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับพยานนิติวิทยาศาสตร์มีดังต่อไปนี้ 
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2558 

               คดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนจะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคสอง คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เป็นคดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว 
การที่พนักงานสอบสวนพบจำเลยนอนหมดสติอยู่บนเตียงผู้ป่วยและได้กลิ่นสุรา แต่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ จึงเป็นกรณีที่พันตำรวจโท ส. สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือไม่ พันตำรวจโท ส. จึงมีอำนาจที่จะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง การที่พันตำรวจโท ส. มีหนังสือขอให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยเก็บตัวอย่างเลือดของจำเลยเพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การสอบสวนของพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2559 
             สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใดๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131/1 ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบว่าวิธีการที่พนักงานสอบสวนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจหาดีเอ็นเอที่ขวดน้ำส้มของกลาง โดยการใช้ไม้พันสำลีเช็ดขวดน้ำส้มของกลางส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจนั้นไม่ใช่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ ผลการตรวจของผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 131/1
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
               ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายกระทำการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้น แล้วแต่กรณี
               ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ ให้สั่งจ่ายจากงบประมาณตามระเบียบที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม หรือสำนักงานอัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
               กองพิสูจน์หลักฐานสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อเกิดการกระทำผิดทางอาญาขึ้นต้องเข้าถึงที่เกิดเหตุโดยเร็ว มิฉะนั้นสถานที่เกิดเหตุอาจเปลี่ยนไป ผลการตรวจพิสูจน์ก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทำให้ไม่สามารถเอาผิดผู้ต้องหาหรือจำเลยที่กระทำความผิดได้ 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก