การบุกจับผู้ต้องหาของตำรวจทำได้เพียงใด|การบุกจับผู้ต้องหาของตำรวจทำได้เพียงใด

การบุกจับผู้ต้องหาของตำรวจทำได้เพียงใด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบุกจับผู้ต้องหาของตำรวจทำได้เพียงใด

จากที่เป็นข่าวดังตอนนี้ กรณีดร.สุกิจ พูนศรีเกษม

บทความวันที่ 21 มิ.ย. 2561, 10:27

มีผู้อ่านทั้งหมด 492 ครั้ง


การบุกจับผู้ต้องหาของตำรวจทำได้เพียงใด

           จากที่เป็นข่าวดังตอนนี้ กรณีดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน บุกเข้าจับกุมขณะอยู่ที่สน.พหลโยธิน ขณะกำลังพาร่างทรง 4 G ไปแจ้งความเอาผิดกับนายอัจฉริยะกับพวก  แต่กลับถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.พหลโยธิน บุกเข้าจับกุมในฐานะผู้ต้องหาตามหมายจับคดีบุกรุกป่าสงวนที่ จ.ตาก  กรณีดังกล่าวมีภาพการจับกุมเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ ว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดดังกล่าวทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ ทั้้งที่ผู้ต้องหาอายุมากและมีโรคประจำตัว  
            ปัจจุบันมีประชาชนออกมาแสดงความเห็นกับกรณีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสภาทนายความ ออกมาแถลงการณ์ว่า พฤติการณ์ในการจับกุม ต้องใช้วิธีการและป้องกันเท่าที่เหมาะสม แต่หากเป็นการกระทำที่เป็นการทำเกินขอบอำนาจหน้าที่ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 
           ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอตัวบทกฎหมายในการจับ ตามข่าวมานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกได้ศึกษาดังนี้่

การจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    มาตรา 83
 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
    ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
    ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น

    มาตรา 86  ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

(ขอขอบคุณภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์)

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก