ข้อตกลงเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา เป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบลูกจ้างเป็นโมฆะ|ข้อตกลงเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา เป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบลูกจ้างเป็นโมฆะ

ข้อตกลงเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา เป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบลูกจ้างเป็นโมฆะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อตกลงเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา เป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบลูกจ้างเป็นโมฆะ

  • Defalut Image

ข้อตกลงที่รวมค่าจ้างล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างทำงานปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาทิศทางที่ทำจริงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง 

บทความวันที่ 14 มิ.ย. 2561, 10:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 663 ครั้ง


ข้อตกลงเหมาจ่ายค่าล่วงเวลา เป็นข้อตกลงที่เอาเปรียบลูกจ้างเป็นโมฆะ

                        ข้อตกลงที่รวมค่าจ้างล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างทำงานปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาทิศทางที่ทำจริงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง  จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งต่อกฎหมายแรงงาน  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะ  (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5978/2550)  สอบถามข้อกฎหมาย 081-6161425 หรือ 02-9485700
#ทนายคลายทุกข์

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2550

              การคำนวณว่านายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้างถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ต้องรู้อัตราค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติเสียก่อนยิ่งไปกว่านั้นหากนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลาคราวใด นายจ้างอาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เฉพาะในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นกรณีฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 และมาตรา 61 ข้อตกลงรวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง จึงเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป และโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาอีกด้วย จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก