การซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงผู้สาวขาเลาะ|การซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงผู้สาวขาเลาะ

การซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงผู้สาวขาเลาะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงผู้สาวขาเลาะ

  • Defalut Image

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของค่ายไหทองคำกับอาม ชุติมา

บทความวันที่ 11 มิ.ย. 2561, 11:19

มีผู้อ่านทั้งหมด 507 ครั้ง


การซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงผู้สาวขาเลาะ

          เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของค่ายไหทองคำกับอาม ชุติมา ผู้แต่งเพลงผู้สาวขาเลาะ มีข้อขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกิจเพลง เจ้าของค่ายอ้างว่าอาม ชุติมา ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงถูกต้องตามกฎหมายแล้ว โดยการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งสิทธิ์ จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และห้ามผู้แต่งเพลงร้องเพลงที่ขายลิขสิทธิ์ไปแล้วอีกต่อไป มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งตามกฎหมายเมื่อขายลิขสิทธิ์ในเพลงที่แต่งไปแล้ว ผู้แต่งก็ไม่มีสิทธิไปร้องเพลงดังกล่าวต่อไปอีก ถ้าไปร้องก็จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนข้ออ้างที่ว่าสำคัญผิดในสาระสำคัญในสัญญาหรือถูกฉ้อฉล คู่สัญญาก็คงต้องไปต่อสู้กันในศาลต่อไป การนำสืบดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับคดีลิขสิทธิ์เพลง มีดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2541 
             ข้อความตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงที่พิพาทที่ทำขึ้นในระหว่างที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ใช้บังคับระบุว่า ผู้ประพันธ์ตกลงโอนขายและห้างตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามที่ระบุในสัญญา การโอนขายนี้จึงเป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมดและเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์และบทเพลงพิพาทเป็นงานดนตรีกรรม ซึ่งไม่ต้องบังคับตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ข้อสัญญาดังกล่าว จึงมีความหมายว่า เป็นการโอนลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่าขณะพิจารณาคดีนี้ ค.ผู้สร้างสรรค์บทเพลงพิพาทยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับดังกล่าวนี้ได้ 
             โจทก์ซื้อลิขสิทธิ์บทเพลงพิพาทรวมกับบทเพลงอื่นจากด.ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ แต่เหตุที่จำเลยนำบทเพลงพิพาทไปบันทึกเสียงเนื่องจากจำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิในลิขสิทธิ์เพลงพิพาทดีกว่าโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำผิด    

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542
    จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตาม แต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7822/2542
    สัญญาซื้อขายเพลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระบุไว้ในข้อ 2 ว่า "ผู้จัดการมรดกตกลงโอนขายและ ป. ตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามข้อ 1 การโอนขายนี้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด และเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์" ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 3 ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งรวมเพลงพิพาททั้งสี่นับแต่วันซื้อขายเป็นต้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แต่เพียงผู้เดียวมิใช่เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิในเพลงพิพาททั้งสี่ไปจัดหาประโยชน์แต่อย่างใด ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้แก่โจทก์ในวันที่ 16 กรกฎาคม2535 จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 5 นำไปบันทึกเทปเผยแพร่หาประโยชน์ได้โดยชอบตามหนังสือสัญญาลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 1 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกเผยแพร่หาประโยชน์ แต่หลังจากที่จำเลยที่ 3 ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้โจทก์ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ให้จำเลยที่ 5 ไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ได้เลย การที่จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ทำหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงในสี่เพลงดังกล่าวให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 จึงเป็นการกระทำหลังจากวันที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่แล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมอบลิขสิทธิ์เพลงพิพาทสามเพลงดังกล่าวอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำไปบันทึกแถบเสียงเผยแพร่หาประโยชน์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงทั้งสี่ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์เพลงพิพาททั้งสี่ของโจทก์ แม้จำเลยที่ 4 จะเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 3 โดยได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เพลงของเจ้ามรดกก็ตามแต่จำเลยที่ 4 ก็เป็นบุตรของจำเลยที่ 3 กับเจ้ามรดก จำเลยที่ 4 ก็รู้เห็นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ก็ยังอนุญาตให้จำเลยที่ 5 นำเพลงพิพาททั้งสี่ไปบันทึกแถบเสียงออกเผยแพร่หาประโยชน์อีกถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วย

             นักแต่งเพลง ก่อนขายลิขสิทธิ์ควรปรึกษาทนายก่อนลงนามในสัญญาลิขสิทธิ์จะได้ไม่เสียเปรียบนะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก