การต่อสู้เรื่องอายุความว่าคดีขาดอายุความแล้วมีข้อควรระวังดังนี้|การต่อสู้เรื่องอายุความว่าคดีขาดอายุความแล้วมีข้อควรระวังดังนี้

การต่อสู้เรื่องอายุความว่าคดีขาดอายุความแล้วมีข้อควรระวังดังนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การต่อสู้เรื่องอายุความว่าคดีขาดอายุความแล้วมีข้อควรระวังดังนี้

  • Defalut Image

เมื่อวานนี้มีตัวความตกม้าตาย ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแต่ ไม่ได้ต่อสู้ว่า

บทความวันที่ 28 พ.ค. 2561, 11:13

มีผู้อ่านทั้งหมด 2835 ครั้ง


การต่อสู้เรื่องอายุความว่าคดีขาดอายุความแล้วมีข้อควรระวังดังนี้

              เมื่อวานนี้มีตัวความตกม้าตาย ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแต่ ไม่ได้ต่อสู้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้อง คดีจึงขาดอายุความไปแล้วคำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ทำให้จำเลยแพ้คดี ทั้งที่คดีขาดอายุความแล้วถือเป็นความบกพร่องในการต่อสู้คดีของจำเลย เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 5691/2554 การต่อสู้คดีว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาฟ้องขาดอายุความต้องระบุให้ชัดแจ้งว่า ขาดอายุความวันใดเมื่อใดนับแต่เมื่อใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้ว จึงจะชอบด้วยกฎหมาย ความละเอียดของคู่ความถือเป็นเรื่องสำคัญ  แต่ถ้าใครเป็นลูกเพจทนายคลายทุกข์ ผมให้ความรู้ทางกฎหมายทุกวัน โอกาสจะพลาดน้อยมาก  สอบถามข้อกฎหมาย 081 616 1425 หรือ 02 948 5700

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 177
 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน 
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(3) โดยอนุโลม

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5691/2554

               จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า คดีขาดอายุความเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทเป็นเวลาเกิน 10 ปี ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องฟ้องคดีมรดกและโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตั้งแต่เมื่อใด นับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีจึงขาดอายุความไปแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
             เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้แก่ ภริยาและบุตรทั้งเจ็ดโดยภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในการรับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (1) ภริยาขอรับโอนที่ดินพิพาทแทนทายาทและยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วยเพราะจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่าภริยาเจ้ามรดกผู้โอน โจทก์ที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหนึ่งในแปดส่วนและชอบที่จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ที่ 1 ลงในโฉนดที่ดินพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก