ไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อผู้ใหญ่วิ่งเต้น|ไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อผู้ใหญ่วิ่งเต้น

ไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อผู้ใหญ่วิ่งเต้น

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อผู้ใหญ่วิ่งเต้น

  • Defalut Image

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวกรณีคนขับแท็กซี่ปลอมไลน์ของบิ๊กโจ๊ก หรือพลตำรวจตรีสุรเชษฐ์ หักพาล

บทความวันที่ 24 พ.ค. 2561, 10:34

มีผู้อ่านทั้งหมด 823 ครั้ง


ไลน์ปลอมแอบอ้างชื่อผู้ใหญ่วิ่งเต้น

    เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวกรณีคนขับแท็กซี่ปลอมไลน์ของบิ๊กโจ๊ก หรือพลตำรวจตรีสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักตามสื่อมวลชนและทางโซเชียล มีประวัติผลงานเป็นที่น่าเชื่อถือ วิธีการปลอมไลน์ของผู้อื่นง่ายนิดเดียว เพียงแต่ติดตามการทำงานของบุคคลนั้นและเก็บข้อมูลของคนดังกล่าว และมาหลอกลวงชาวบ้าน วิ่งเต้น โยกย้ายตำรวจ จนมีนายตำรวจ 5 นาย และตำรวจชั้นประทวนอีก 1 นาย รวมเป็น 6 นาย ถูกหลอกเสียเงินค่าวิ่งเต้นโยกย้ายตำแหน่งรวมเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษ ทำให้เกิดคำถามในสังคมว่าทำไมนายตำรวจซึ่งอาชีพที่มีความรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับมิจฉาชีพเป็นผู้ที่มีหน้าที่จับกุมคนร้ายแต่ทำไมจึงเอาตัวไม่รอด ไม่ทันมิจฉาชีพ หรือว่าอาชีพตำรวจมีการวิ่งเต้นกันจริงตามที่เป็นข่าว ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ชี้แจงมาตลอดเวลาว่าการเลื่อนตำแหน่งหรือการย้ายไม่มีการวิ่งเต้น แต่ทำไมตำรวจที่เสียเงินค่าวิ่งเต้น จึงมีความเชื่อว่าน่าจะวิ่งเต้นได้ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ โดยเฉพาะให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีธรรมมาภิบาลให้มากขึ้น การปลอมไลน์ของบุคคลอื่นและไปหลอกลวงเงินจากชาวบ้าน ถือเป็นการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น จึงมีความผิดฐานฉ้อโกง โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 342 ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลฎีกา ได้เคยมีคำตัดสินไว้หลายฎีกา ดังนี้ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1784/2493
           คำว่า "ปลอมตัวเป็นคนอื่น" ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา306(1) (ปัจจุบัน คือ มาตรา 342) นั้น มุ่งหมายถึงการแสดงตัวให้เขาหลงเชื่อว่าเป็นคนอื่น ซึ่งไม่ใช่ตัวของตัวเอง จำเลยใช้ถ้อยคำหลอกลวงให้เขาหลงเชื่อว่า จำเลยเป็นนายร้อยตำรวจโทประจำกองสอบสวนกลางปทุมวัน(ระบุชื่อ) เมื่อความจริงจำเลยมิใช่เป็นนายร้อยตำรวจประจำกองสอบสวนกลางแล้ว แม้จะไม่ปรากฏว่ามีนายร้อยตำรวจโทชื่อนั้นในกองสอบสวนกลางหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นการปลอมตัวตามความหมายในมาตรา306(1) แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2493)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2239/2522
         จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ขับรถร่วมกันนำรถยนต์แท็กซี่คันเกิดเหตุมาขายให้ผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็น นางส. เจ้าของรถและจำเลยที่ 1 เป็นผู้มอบอำนาจในการโอนรถยนต์ให้แก่ผู้เสียหายเอกสารเหล่านั้นเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมและฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นแต่การที่จำเลยร่วมกันนำเอกสารปลอมมาใช้ก็โดยมีเจตนาที่จะฉ้อโกงผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

          ส่วนประเด็นที่ว่า ผู้เสียหายที่ส่งมอบเงินให้กับมิจฉาชีพโดยอ้างว่าจะวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งได้ จะเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาก็ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของผู้เสียหายว่าเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหรือไม่อย่างไร ถ้าเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น เข้าไปใช้ สนับสนุน หรือร่วมกระทำความผิด ก็เสียเงินฟรีและจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาด้วย ถ้าเป็นข้าราชการก็ต้องถูกดำเนินคดีทางวินัยถึงขั้นไล่ออก ที่ผ่านมาศาลฎีกาได้เคยตัดสินไว้แล้ว แยกเป็นสองกรณี กรณีแรกเป็นผู้เสียหาย เรียกเงินคืนได้ อีกกรณีหนึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด เรียกเงินคืนไม่ได้ ตามฎีกาข้างล่างนี้

กรณีไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเรียกเงินคืนไม่ได้ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 1960/2534 

            การที่ บ. และ ส. ตกลงให้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปมอบให้แก่คณะกรรมการสอบ หรือผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งเสมียนได้ เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตนเข้าทำงาน ในกรมชลประทานโดยไม่ต้องสอบนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่า บ. และ ส. ใช้ให้จำเลยกระทำผิดนั่นเอง บ. และ ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง แม้จะได้ร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนมาแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 10112/2559 
           จำเลยที่ 1 และพันตำรวจเอก ส. เป็นฝ่ายติดต่อและเสนอเรียกค่าใช้จ่าย ในการแต่งตั้งโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจจังหวัดจากผู้เสียหาย โดยอ้างว่าวิ่งเต้นได้ โดยมีผู้ใหญ่ซึ่งมีโควต้าแต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 10 ล้านบาท หลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงจึงส่งมอบเงินให้ เงินที่ให้ไปจึงเป็นเงินตอบแทนการได้ตำแหน่งโดยมิชอบ ผู้เสียหายย่อมมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ และไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

กรณีเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย เรียกเงินคืนได้ และเป็นผู้เสียหายทางอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 7983/2548 และคำพิพากษาฎีกาที่ 4744/2537    

            ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นกรณีผู้เสียหายให้เงินจำเลยเพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการฝากบุคคลเข้าทำงาน โดยไม่ปรากฏว่า คนที่รับฝากมีหน้าที่ในการคัดเลือกหรือบรรจุแต่งตั้งให้บุคคลเข้ารับราชการแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการให้เพื่อจูงใจให้พนักงานกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิด โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายมีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ 
บุคคลที่มีชื่อเสียงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เพราะมิจฉาชีพอาจไปขยายผลหลอกลวงชาวบ้านได้

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก