ตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ|ตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ

ตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ

  • Defalut Image

1. แก้ไขบันทึกการจับกุมจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพ

บทความวันที่ 20 พ.ค. 2561, 10:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 727 ครั้ง


ตัวอย่างการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ

1. แก้ไขบันทึกการจับกุมจากปฏิเสธเป็นรับสารภาพฎีกาที่ 1793/2536
2. หัวหน้ารายงานเท็จ จนผู้ใต้บังคับบัญชาถูกตั้งกรรมการสอบสวน ฎีกาที่ 4170/2530
3. ปลัดอ.บ.ต.ไม่อนุมัติการเบิกจ่ายเงินค่าฝึกอบรมเพราะสาเหตุกดเครื่องส่วนตัวฎีกาที่ 7322/2558
4. กรรมการตรวจนับคะแนนทุจริตการเลือกตั้ง ฎีกาที่ 759/2547 และ 3340/2550
5. ตำรวจบีบบังคับลูกน้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาฎีกาที่ 13312/2557
หากพบเจ้าพนักงานกระทำความผิดดังกล่าวดำเนินคดีอาญาได้ทันทีสอบถามรายละเอียดได้ที่ 081-6161425

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2536

            เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้เองภายหลังจากลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลขาย กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นหมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายใดดำเนินไปโดยไม่ชอบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ โดยไม่จำต้องมีคำสั่งภายใน 8 วันนับแต่วันขาย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมิใช่การร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เสียหาย

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2530
           การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดสั่งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 3 เสนอสำนวนการตรวจสอบภาษีอากรของห้าง จ.ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ปฏิบัติตาม โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด ตามคำสั่งและระเบียบปฏิบัติของทางราชการนั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่2 ในฐานะผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจที่จะสั่งการใดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามได้ เพื่อให้งานดำเนินไปโดยถูกต้องและรวดเร็วเกิดผลดีแก่ทางราชการทั้งนี้เพราะคำสั่งและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นเพิ่งจะเข้ารับราชการ ย่อมจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสำนักงาน ประกอบกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีอากรของห้างดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
             ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รายงานต่ออธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ได้มอบเงินแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ช่วยเหลือในการชำระภาษีอากรของห้าง จ. นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีพฤติการณ์ดังที่จำเลยที่ 2 รายงานโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเรื่องโกรธเคืองกับโจทก์เป็นส่วนตัวแกล้งรายงานดังกล่าวจนโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และการบรรยายฟ้องในเรื่องแกล้งรายงานของจำเลยที่ 2 นี้ เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามมาตรา 157 อีกกระทงหนึ่ง นอกเหนือจากข้อหาหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 157 ได้
           เมื่อการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับจำเลยที่ 2 รับราชการมานาน ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นสรรพากรจังหวัด กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษแก่จำเลยที่ 2.

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2547
           จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ได้หยิบบัตรเลือกตั้งใส่ในเสื้อที่สวมใส่แล้วเดินออกไปยังจุดนัดพบกับ ต. เพื่อให้ ต. ต่อจากนั้นได้กลับมายังที่หน่วยเลือกตั้ง จนเวลาประมาณ 13 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขออนุญาตออกไปทำธุระข้างนอกและไปหา ต. กับพวกรวม 3 คน แล้วนำบัตรเลือกตั้งกลับมายังหน่วยเลือกตั้ง จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ล้วงเอาบัตรเลือกตั้งจากในเสื้อออกมาใส่กล่องบัตรดี บัตรเลือกตั้งทุกแผ่นมีการกากบาทเครื่องหมายไว้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาที่จะมิให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้บัตรเลือกตั้งเสียหายไม่อาจนำไปใช้การได้อีก อันถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งครั้งนั้นได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2550
            การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทโดยนอกจากมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 แล้วยังมีความผิดต่อ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ฯ มาตรา 59 ซึ่งบัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่าสี่ปีและไม่เกินแปดปีด้วย อันเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริตไม่ใช่โทษตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ศาลก็ต้องสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้โดยไม่อาจใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13312/2557
             จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดและมีอำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำตัวผู้ถูกจับกุมส่งต่อพนักงานสอบสวน หรือสั่งปล่อยตัวผู้ถูกจับหากเห็นว่าเป็นการจับผิดตัวหรือผู้ถูกจับกุมไม่ได้กระทำความผิดหรือการกระทำยังไม่เป็นความผิด จำเลยทราบดีว่าคนต่างด้าวที่ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่มีอำนาจสั่งปล่อยได้ แต่กลับสั่งการในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและรถของกลางโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ป.อ. มาตรา 157

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก