ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า|ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า

ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า

  • Defalut Image

ตัวแทนจำหน่ายกับตัวแทนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้ามีความหมายต่างกัน

บทความวันที่ 10 พ.ค. 2561, 13:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 3227 ครั้ง


ตัวแทนจำหน่ายสินค้าไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ละเมิดเครื่องหมายการค้า

    ตัวแทนจำหน่ายกับตัวแทนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้ามีความหมายต่างกัน ดังนั้น การทำธุรกิจโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายด้วยนะครับ สัญญาการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายบางครั้งให้สิทธิแต่เพียงจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้นโดยไม่ได้จดทะเบียนอนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าของต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อมีบุคคลอื่นมากระทำละเมิดหรือมาค้าขายแข่งกับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยทำให้ท่านได้รับความเสียหายตามความเป็นจริง ตัวแทนจำหน่ายซึ่งมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวก็ไม่มีอำนาจที่จะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำละเมิดกับตนเองได้ ดังนั้น ถ้าท่านเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศนอกจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย ท่านจะต้องให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนอนุญาตให้ท่านใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยให้ใช้สิทธิเด็ดขาดด้วย เมื่อถูกกระทำละเมิดท่านจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้นะครับ

คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 7068/2559 
          โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” แต่ผู้เดียวในประเทศไทย โดยบริษัท อ. เจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า “VANS” มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรตามมาตรา 44 แพ่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แต่ปัจจุบันยังไม่มีการจดทะเบียนอนุญาตให้บุคคลใดใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” ในประเทศไทย ดังนั้น ทั้งบริษัท ว. และโจทก์จึงมิใช่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาด (Exclusive Licensee) จากเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จะมีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดเครื่องหมายการค้าของตนหรือที่ตนได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดตามมาตรา 68 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ 
          โจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ว. กับโจทก์ โดยจำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงหาจำต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวไม่ การที่จำเลยยังฝ่าฝืนขายสินค้าหลังจากสัญญาตัวแทนระหว่างบริษัท ว. กับจำเลยสิ้นสุดลง ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตัวแทนที่ทำไว้กับบริษัท ว. มิใช่ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีในนามของตนเองเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดเครื่องหมายการค้าคำว่า “VANS” ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 
           มาตรา 4
 ในพระราชบัญญัตินี้
           “เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
           “เครื่องหมายการค้า” หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
             “ผู้ได้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้จากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการนั้น
           มาตรา 44  ภายใต้บังคับมาตรา 27 และมาตรา 68 เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้
          มาตรา 68  เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
           สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
           การขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตดังกล่าวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่คำขอจดทะเบียนนั้นอย่างน้อยต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้
           (1) เงื่อนไขหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริง
          (2) สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น
           การเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศนอกจากจะต้องตรวจสอบว่าเจ้าของสินค้ามีตัวตนจริงหรือไม่ สินค้ามีจริงหรือไม่ ประวัติทางการค้าของเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่าเคยหลอกลวงประชาชนหรือไม่แล้วตัวแทนจำหน่ายยังต้องจดทะเบียนให้มีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยด้วยนะครับ จึงจะมีอำนาจฟ้องศาลหากถูกละเมิด 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก