ข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ|ข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ

  • Defalut Image

ต้องการกู้เงินและจดจำนองแต่นายทุนให้ทำขายฝากถือเป็นนิติกรรมอำพรางเป็นโมฆะ

บทความวันที่ 25 มี.ค. 2561, 13:29

มีผู้อ่านทั้งหมด 675 ครั้ง


ข้อกฎหมายเกี่ยวกับนายทุนเงินกู้นอกระบบ

              ต้องการกู้เงินและจดจำนองแต่นายทุนให้ทำขายฝากถือเป็นนิติกรรมอำพรางเป็นโมฆะ โจทก์ต้องการกู้ยืมเงินกับจำเลยแต่จำเลยกลับบังคับให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากเป็นการอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน จึงตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงิน แต่หากโจทก์ยังไม่ได้จ่ายเงินคืนจะขอโฉนดคืนไม่ได้ ศาลมีสิทธิ์ที่จะพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้  เมื่อนิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะโจทก์ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ออกจากที่ดิน อ้างอิงเทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1441/2545 และคำพิพากษาฎีกาที่ 4698/2551

คำพิพากษาฎีกาที่อ้างอิง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545
           โจทก์จำเลยเจตนาผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 เดิม วรรคสองโดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ทั้งจะต้องฟังว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้วก็ต้องพิพากษาให้เพิกถอนเสีย

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2551
            ค. กับจำเลยทั้งสามขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 2,000,000 บาท มีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสามยินยอมทำเป็นสัญญาขายฝากตามความประสงค์ของโจทก์มีการทำรายการคิดการชำระเงินกัน กำหนดค่าไถ่ถอน 3,500,000 บาท และมีการคิดดอกเบี้ยกับหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าจำนวน 300,000 บาท ด้วย เมื่อตามกฎหมายมิได้บัญญัติให้นิติกรรมขายฝากมีการเรียกดอกเบี้ยกันได้ ประกอบกับโจทก์เองเบิกความรับว่า ค. ติดต่อเพื่อขอกู้ยืมเงินโจทก์ จึงฟังได้ว่าการทำสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จึงต้องนำกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมกู้ยืมมาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 เป็นผลให้ที่ดินและบ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก