การสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง|การสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

การสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

  • Defalut Image

1. พนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวนร่วมฟังการสอบสวนอยู่ด้วย

บทความวันที่ 25 มี.ค. 2561, 13:25

มีผู้อ่านทั้งหมด 2907 ครั้ง


การสอบสวนของพนักงานสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

          1. พนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวนร่วมฟังการสอบสวนอยู่ด้วยไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปฎีกาที่ 7475/2553
          2 การที่พนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจร่วมสอบสวนอยู่ด้วยแม้เป็นการสอบสวนบางส่วนก็ถือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องฎีกาที่ 731/2531
          3. พนักงานสอบสวน จะสอบสวนมากน้อยเพียงใดเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนถึงแม้จะสอบพยานเพียงปากเดียวก็ถือว่าสอบสวนชอบแล้วฎีกาที่ 769/2484
          4. การสอบสวนบางส่วน สอบสวนโดยไม่มีอำนาจสอบสวน ถือว่าการสอบสวนทางคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาที่ 731/2531
          5. พยานหลักฐานที่เกิดจากการสอบสวน โดยไม่ชอบย่อมไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ฎีกาที่ 12934/2553

คำพิพากษาที่เกี่่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2553

         ร้อยตำรวจเอก ส.เป็นข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แม้ระหว่างสอบสวนจะมีพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีอำนาจสอบสวนร่วมนั่งฟังอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้การสอบสวนนั้นเสียไป เมื่อพันตำรวจโท น. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ พันตำรวจโท น. ย่อมมีอำนาจสอบสวนก่อนร้อยตำรวจเอก ส. โอนสำนวนการสอบสวน และหลังจากนั้นร้อยตำรวจเอก ศ. ยังคงมีอำนาจสอบสวนเพื่อช่วยเหลือพันตำรวจโท น. ได้ ดังนั้น การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2484
          โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ชื่อเจ้าทรัพย์ก่อนศาลพิพากษาเมื่อไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแล้ว ศาลอนุญาตได้ เผื่อได้มีการสอบสวนความตัวเจ้าทรัพย์มาสอบสวน ก็ฟ้องคดีได้
(อ้างฎีกาที่ 102/2482)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12934/2553
            การสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ร. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 128 บัญญัติไว้ การที่ ร. สอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง ส่งสำนวนการสอบสวนไปให้รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ พ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลกลางใหญ่ ได้สอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. อีกครั้งหนึ่ง แม้ อ. จะให้การยืนยันตามคำให้การที่ให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางทุกประการก็ตาม แต่ อ. ก็ได้ให้การเกี่ยวกับรายละเอียดการกระทำความผิดของจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่ามีการสอบสวนโจทก์ร่วมและ อ. โดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว ส่วนที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลางได้สอบสวนโจทก์ร่วมเพิ่มเติมตามใบต่อคำให้การนั้น คงมีผลเพียงทำให้คำให้การดังกล่าวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ เมื่อการสอบสวนของ พ. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นการสอบสวนชอบแล้ว การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 18 และมาตรา 120 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก