ตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทำได้ไหม|ตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทำได้ไหม

ตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทำได้ไหม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทำได้ไหม

  • Defalut Image

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าว 2 คุณป้า บ้านอยู่ติดกับตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร

บทความวันที่ 23 ก.พ. 2561, 09:44

มีผู้อ่านทั้งหมด 773 ครั้ง


ตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทำได้ไหม

          เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าว 2 คุณป้า บ้านอยู่ติดกับตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ขับรถออกจากบ้าน มีรถมาจอดขวางหน้าบ้าน ใส่เบรกมือจอดรถขวางทางเข้าออกและเดินทางไปจับจ่ายซื้อของในตลาดบริเวณใกล้เคียง คุณป้าเจ้าของบ้านออกมาจึงเกิดบันดารโทสะบีบแตรเรียกเป็นเวลานานและเข็นรถให้พ้นการกีดขวาง แต่เข็นไม่ได้เนื่องจากติดเบรกมือ จึงใช้ขวานและเหล็กทุบรถคู่กรณีจนเกิดความเสียหาย และมีการไปแจ้งความดำเนินคดีข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามที่เป็นข่าว ซึ่งการจอดรถหน้าบ้านซึ่งมีป้ายห้ามอยู่แล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งรวมทั้งการใส่เบรกมือเคลื่อนย้ายรถไม่ได้ก็ยิ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของบ้านถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้อื่น ส่วนคุณป้าเจ้าของบ้านก็ไม่มีสิทธิที่จะไปทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น คุณป้าทั้งสองคนจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ส่วนจะอ้างบันดาลโทสะได้หรือไม่ก็ต้องไปต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป 
          ความคืบหน้าล่าสุด สาเหตุที่มีรถมาจอดหน้าบ้านต้นเหตุมาจากมีตลาดนัด 9 แห่งรอบบ้าน ทำให้มีคนพลุกพล่าน ถนนหน้าบ้าน หลังบ้าน กลายเป็นลานจอดรถของผู้มาเที่ยวตลาด กระทบสิทธิผู้อยู่อาศัย ซึ่งทนายคลายทุกข์ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมกรุงเทพมหานครจึงอนุญาตให้มีการเปิดตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร ทั้งที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยทุกคนต้องการความสงบ โดยปกติแล้วการพิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการตลาดของเอกชน เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดในข้อกำหนดของท้องถิ่นถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายให้เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสุขลักษณะของตลาด เพื่อพิจารณาตรวจและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ ทั้งนี้ ก่อนจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต ต้องให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการออกคำสั่งมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน และในการออกคำสั่งดังกล่าวต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย การอนุญาตให้เปิดตลาดนัดในพื้นที่เอกชนดังกล่าวได้มีการรับฟังผลกระทบจากบ้านข้างเคียงหรือไม่ โดยทั่วไปถ้ามีการคัดค้านก็ไม่น่าจะเปิดตลาดได้ นอกจากนี้ กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 ได้กำหนดลักษณะตลาดไว้ในหมวด 1 ลักษณะของตลาด ข้อ 4 ตลาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (1) ตลาดประเภทที่ 1 ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร (2) ตลาดประเภทที่ 2 ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และในหมวด 1 ส่วนที่ 1 ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร ข้อ 11 ได้กำหนดว่าผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าหนักงานท้องถิ่นกำหนด แต่จากที่ปรากฏตามข่าว ไม่ได้มีการจัดที่จอดรถให้เพียงพอ ทำให้ผู้ขายของและลูกค้าต้องไปจอดบริเวณหน้าบ้านผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงตลาด ทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความเดือดร้อนเข้าออกลำบากเพราะมีรถจอดกีดขวางทางเข้าออก กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ควรจะต้องหาทางแก้ไข โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลตลาด ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นดังต่อไปนี้ 
          (1) กำหนดที่ตั้ง เนื้อที่ แผนผัง และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างและสุขลักษณะ
          (2) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสถานที่ การวางสิ่งของและการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการตลาด
          (3) กำหนดเวลาเปิดและปิดตลาด
          (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัย การจัดให้มีที่รวบรวมหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย การระบายน้ำทิ้ง การระบายอากาศ การจัดให้มีการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ 
         หากกรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตที่รับผิดชอบไม่ดำเนินการแก้ไข หรือไม่ดำเนินคดีกับเจ้าของตลาดนัดที่สร้างความเดือดร้อนรังควาน ชาวบ้านผู้อยู่อาศัยก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐเป็นคดีต่อศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 เพราะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา 9 และขอคุ้มครองชั่วคราวหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราวได้ นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีสิทธิดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อนุญาตให้เปิดตลาดหรือปล่อยปละละเลยให้ตลาดสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้ชาวบ้านเป็นคดีอาญาหากมีการกระทำที่เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อีกส่วนหนึ่งต่อศาลอาญาคดีทุจริต   ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559     
            การสร้างตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรรไม่ควรจะเกิดขึ้นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยต้องการความสงบ หน่วยงานของรัฐไม่ควรจะอนุญาตให้เปิดตลาดนัดในหมู่บ้านจัดสรร
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก