คลิปเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่|คลิปเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

คลิปเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คลิปเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

  • Defalut Image

ปัจจุบันนี้มีการนำคลิปเสียงหรือภาพวีดีโอมาเผยแพร่ทางยูทูปและทางเฟซบุ๊ค

บทความวันที่ 15 ก.พ. 2561, 14:10

มีผู้อ่านทั้งหมด 12346 ครั้ง


คลิปเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

          ปัจจุบันนี้มีการนำคลิปเสียงหรือภาพวีดีโอมาเผยแพร่ทางยูทูปและทางเฟซบุ๊ค รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความผิดของบุคคลได้ เช่น คดีสลากกินแบ่ง 30 ล้าน ที่เมืองกาญจนบุรี คดีให้สินบนเจ้าพนักงาน นายเปรมชัย กรรณสูตร ข้อหาล่าสัตว์ป่าในเขตหวงห้าม คดีล่วงละเมิดทางเพศเด็ก คลิปเสียงหรือแถบบันทึกเสียงถ้าเจ้าของเสียงยอมรับว่าเป็นเสียงของตนจริงก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ถ้าเจ้าของเสียงไม่ยอมรับ ที่ผ่านมาศาลฎีกาไม่รับฟังเป็นพยานหลักฐาน เพราะอาจมีการตัดต่อ หรือเลียนเสียงได้โดยง่าย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ถ้าสามารถพิจสูจน์ได้ว่าเป็นเสียงของผู้พูดก็อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น การบันทึกเสียง การสนทนาจึงเป็นพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์ความจริงได้ ตัวอย่างคดีพิพากษาที่เคยตัดสินเกี่ยวกับคดีคลิปเสียง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2534 (เจ้าของเสียงปฏิเสธ รับฟังไม่ได้)
    แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ จำเลยมีตัวจำเลยเพียงปากเดียวเบิกความว่าเป็นเสียงของโจทก์ที่พูดโต้ตอบกับจำเลยโดยจำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้น่าเชื่อว่าเป็นเสียงของโจทก์ โจทก์ปฏิเสธว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงไม่มีเสียงของโจทก์และโจทก์ไม่ได้พูดโต้ตอบกับจำเลยดังที่ปรากฏในเอกสารที่จำเลยอ้างว่าถอดจากแถบบันทึกเสียง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เคยพูดโต้ตอบกับจำเลยตามเสียงที่บันทึกไว้ในแถบบันทึกเสียง.
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2509 (บันทึกหลายครั้งน่าเชื่อว่าเป็นเสียงของผู้พูดจริง)
    ศาลเชื่อว่าจำเลยได้ถูกบันทึกเสียงไว้ถึง 6 ครั้ง ยากที่จะมีใครมาเลียนเสียงที่จำเลยพูดได้เป็นชั่วโมงๆ ไม่ใช่ว่าศาลชั้นต้นจะรับฟังลำพังแต่เทปอัดเสียงของจำเลยมาลงโทษจำเลยก็หาไม่ ศาลเชื่อว่าโจทก์ร่วมได้อัดเสียงจำเลยไว้จริง จึงไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 (การสืบพยานคลิปเสียง ต้องเปิดคลิปเสียงถามค้านจึงรับฟังได้)
    แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องถอดข้อความหรือจะต้องนำเข้าถามค้านพยานอีกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าพยานได้กล่าวถ้อยคำเช่นที่บันทึกในแถบบันทึกเสียงหรือไม่ แต่การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะนำสืบก็ชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ไว้ แม้จำเลยจะอ้างส่งประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยและเมื่อเปิดฟังแถบบันทึกเสียงนั้นแล้ว จะมีข้อความตรงตามคำถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงก็ยังไม่พอฟังเป็นยุติได้ เพราะการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก 
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 (ยอมรับว่าเป็นเสียงของตัวเองจริง แต่ถูกแอบบันทึกเสียง)
    การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้น นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงิน แม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 243 วรรคสอง
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555 (เอกชนกับเอกชนแอบบันทึกเสียง รับฟังได้)
    การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตามระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2551 (ตำรวจ ทนาย หลอกลวงบันทึกเสียงรับฟังไม่ได้)
    จำเลยไปที่บ้านของ ว. พร้อมกับทนายความและเจ้าพนักงานตำรวจอีกคนหนึ่ง เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการเบิกเงินของ บ และการใช้กระแสไฟฟ้าจากโรงงานจำเลย โดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้แอบบันทึกเหตุการณ์ทั้งภาพและเสียงไว้ด้วยพฤติการณ์ในการบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการลักลอบกระทำก่อนวันที่จำเลยอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานเพียง 1 วัน เพราะต้องการจะได้ข้อมูลที่แอบบันทึกไว้ เนื่องจากจำเลยฉีกเอกสารหลักฐานที่ว่าจ้าง บ. ก่อสร้างโรงงานทิ้งไปแล้ว จึงพยายามหาหลักฐานใหม่ ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยทำขึ้นใหม่ด้วยการทำเป็นดีกับ ว. แล้วลักลอบบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้ ถือได้ว่า เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการหลอกลวงและด้วยวิธีการที่มิชอบ ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นพยานหลักฐานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 226

    ทุกท่านไม่ต้องกลัวการบันทึกเสียง หากท่านทำแต่ความดี ยกเว้นคนที่กระทำความผิดเท่านั้นที่กลัวการบันทึกเสียง 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก