การนำข้อความตามคำฟ้องอาญามาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่|การนำข้อความตามคำฟ้องอาญามาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่

การนำข้อความตามคำฟ้องอาญามาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การนำข้อความตามคำฟ้องอาญามาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่

  • Defalut Image

 รู้กฎหมายกับทนายคลายทุกข์ การนำข้อความตามคำฟ้องคดีอาญามาลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี

บทความวันที่ 12 ก.พ. 2561, 16:54

มีผู้อ่านทั้งหมด 770 ครั้ง


การนำข้อความตามคำฟ้องอาญามาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่

             รู้กฎหมายกับทนายคลายทุกข์ การนำข้อความตามคำฟ้องคดีอาญามาลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือออกทีวี เป็นการรายงานข่าวที่มีการฟ้องร้องกันถือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมโดยสุจริต ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 329(4) ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท อ้างอิงคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 3654/2543 แต่ถ้าเกิดมีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มเติมเข้าไปก็ติดคุกเหมือนกันปัจจุบันได้มีพิธีกรรายการโทรทัศน์ใกล้จะติดคุกหลายรายแล้วถูกดำเนินคดีอยู่ที่ศาลหลายคดีครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างอิง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543

                ข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยคำฟ้องของจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 ได้นำไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลทั้งข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ได้ความจากคำฟ้องของ โจทก์ในคดีนี้กับที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. ก็ปรากฏว่าล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะหมิ่นประมาทโจทก์ หากแต่เพื่อประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 1 ที่ฟ้องโจทก์เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และข้อความที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. นอกจากข้อเท็จจริงจะฟังได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ว่าเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลดังกล่าวแล้ว ยังได้ความอีกว่าการกระทำของ จำเลยที่ 2 เป็นการเผยแพร่คำฟ้องไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะ ส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความดังกล่าวลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. จึงเป็น การรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับ ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) ไม่เป็นความผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 329
 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
             (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
             (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
             (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
             (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก