ค่าจ้างและค่าตอบแทนความหมายต่างกัน|ค่าจ้างและค่าตอบแทนความหมายต่างกัน

ค่าจ้างและค่าตอบแทนความหมายต่างกัน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค่าจ้างและค่าตอบแทนความหมายต่างกัน

  • Defalut Image

 ช่วงนี้มีข่าวว่าสถาบันการเงินและบริษัทการค้าขนาดใหญ่กำลังลดขนาดองค์กร

บทความวันที่ 25 ม.ค. 2561, 09:56

มีผู้อ่านทั้งหมด 6008 ครั้ง


ค่าจ้างและค่าตอบแทนความหมายต่างกัน


           ช่วงนี้มีข่าวว่าสถาบันการเงินและบริษัทการค้าขนาดใหญ่กำลังลดขนาดองค์กร ลดคนงานจำนวนมาก เลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากมีปัญหาด้านต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง ไม่สามารถแข่งขันได้ และเมื่อมีการเลิกจ้างก็จะต้องมีการนำค่าจ้างที่มีการเรียกชื่อต่างกัน เช่น เงินเดือน ค่าประจำตำแหน่ง หรืออื่นๆ มาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยตามกฎหมาย เร็วๆนี้จะมีการแก้ไขกฎหมายแรงงานกำหนดคำนิยามให้ชัดแจ้งว่าค่าตอบแทนคืออะไร แยกออกจากค่าจ้างอย่างชัดเจน นายจ้างและลูกจ้างจะต้องมีความเข้าใจอย่างรู้แจ้งเห็นจริงเกี่ยวกับคำนิยามต่างๆเหล่านั้น ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตีความเกี่ยวกับความหมายของค่าจ้างและค่าตอบแทนต่างๆ ที่ผ่านมามีดังนี้ 
    กรณีที่ถือเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2075-2078/2557 
            หนังสือรับรองเงินเดือนที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่โจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547 ระบุว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินเดือนเดือนละ 28,495 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่รวมค่าน้ำมันไว้ด้วย ดังนี้แสดงให้เห็นถึงเจตนาการจ่ายค่าน้ำมันของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินค่าน้ำมันดังกล่าวเพื่อเป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ ค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4704/2557 
            จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์เดือนละ 3,000 บาทเป็นประจำและคงที่ โดยไม่ปรากฎว่ามีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเพื่อการอย่างอื่นทุกเดือน เบี้ยเลี้ยงตามสัญญาจ้างจึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานซึ่งต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างในการคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ 11425-12061/2558 
            จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างมีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดมา โดยไม่ปรากฎชัดว่าเหตุที่จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับภาระค่าครองชีพโดยเฉพาะหรือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลืออื่นใด ค่าครองชีพดังกล่าวที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์จึงเป็นการจ่ายเพื่อการตอบแทนการทำงานเป็นเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 8692/2559 
           จำเลยจ่ายเงินค่ายานพาหนะให้แก่โจทก์พร้อมเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นประจำทุกเดือน จำนวนเท่ากันทุกเดือนในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยที่โจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จค่าน้ำมันรถเป็นหลักฐานการรับเงินดังกล่าว โดยไม่ได้ความว่าเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง
กรณีที่ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2067-2068/2557
    ค่าเช่ารถหรือค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวนั้นจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานที่ต้องใช้รถส่วนตัวเพื่ออำนวยความสะดวกและความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของพนักงาน ค่าเช่ารถจึงเป็นการจ่ายเงินเพื่อทดแทนสวัสดิการรถที่จำเลยต้องจัดให้แก่พนักงานในการเดินทางเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ดังนั้นค่าเช่าบ้านและค่ารถจึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 608/2559
             ค่าตอบแทนอินเซนทีฟซึ่งมิใช่เงินที่โจทก์และจำเลยตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญา แต่เป็นเงินจูงใจในการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง 
คำพิพากษาฎีกาที่ 2513-2514/2559
            เงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นรางวัลในการปฏิบัติงานมิใช่เงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ หรือตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติ จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2469/2559
             เงินค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยและได้รับการรักษาพยาบาลจริงเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายโดยไม่พิจารณาว่าลูกจ้างจะเจ็บป่วยและได้เข้ารับการรักษาพยาบาลจริงหรือไม่ การจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกจ้างจึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงแต่อย่างใด จึงไม่ใช่ค่าจ้าง

เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับค่าจ้างหรือค่าตอบแทน นายจ้างควรกำหนดคำนิยามให้ชัดแจ้ง
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

เรียน  คุณทนาย หรือเจ้าหน้าที่สำนักกฏหมาย


ขอรบกวนขอรายละเอียดเต็มฉบับของ คำพิพากษาฎีกาที่ 608/2559
            ( ค่าตอบแทนอินเซนทีฟซึ่งมิใช่เงินที่โจทก์และจำเลยตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญา แต่เป็นเงินจูงใจในการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้าง )


เพราะไป search ใน web Dika แล้วไม่พบค่ะ



ขอบคุณค่ะ


จินตนา อ.

โดยคุณ จินตนา อรรถาโภชน์ 24 ก.ค. 2561, 08:51

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก