ความรับผิดของคู่สมรสในหนี้สิน|ความรับผิดของคู่สมรสในหนี้สิน

ความรับผิดของคู่สมรสในหนี้สิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรับผิดของคู่สมรสในหนี้สิน

  • Defalut Image

ปัจจุบันนักธุรกิจ ทำธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เป็นสิน

บทความวันที่ 17 ม.ค. 2561, 11:19

มีผู้อ่านทั้งหมด 3970 ครั้ง


ความรับผิดของคู่สมรสในหนี้สิน

           ปัจจุบันนักธุรกิจ ทำธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เป็นสิน เช่น การขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีค้าขายขาดทุน เก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ ทำให้มีปัญหาสภาพคล่อง ปัญหาหนี้สินก็ตามมา มีท่านผู้อ่านหลายท่านถามมาเรื่องหนี้สินที่คู่สมรสไปก่อไว้ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดหรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักไว้ อธิบายง่ายๆ คือ ถ้าเป็นหนี้ร่วม สามีภริยาต้องรับผิดร่วมกัน และจะต้องถูกยึดสินสมรสทั้งสองฝ่าย จะขอกันส่วนไม่ได้ แต่ถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ฝ่ายใดก่อหนี้ก็ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว หนี้ที่ต้องรับผิดร่วมกันเฉพาะหนี้ที่มีมูลหนี้มาจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ส่วนหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดของคู่สมรสฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียวเช่นการยักยอก หรือฉ้อโกงบุคคลอื่น ถึงแม้จะเอาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวก็ไม่ใช่หนี้ร่วม คู่สมรสอีกฝ่ายถ้าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำละเมิดก็ไม่ต้องรับผิด ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกา ทนายคลายทุกข์นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 
           1.ถ้าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เจ้าหนี้ฟ้องคู่สมรสคนใดคนหนึ่ง ในชั้นบังคับคดีก็ยึดสินสมรสได้ทั้งหมด คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอกันส่วนไม่ได้ ฎีกาที่ 2725/2528
           2.ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องแต่ลูกหนี้ไม่ได้ฟ้องคู่สมรส ไม่สามารถยึดสินส่วนตัวของคู่สมรสได้ ฎีกาที่ 1652/2522, 445/2540
           3.หนี้ร่วมที่สามีภริยาต้องรับผิดร่วมกัน ต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างที่เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย หนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่หนี้ร่วม ไม่ต้องรับผิดร่วมกัน จึงร้องกันส่วนได้ ฎีกาที่ 3156/2525
          4.อย่างไรก็ตาม ถ้าหนี้ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อขึ้นระหว่างเป็นสามีภริยา ไม่ใช่หนี้ร่วมแล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดร่วมกัน คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งร้องกันส่วนในสินสมรสที่ถูกยึดบังคับคดีได้ ฎีกาที่ 2526/2521
          5.ความรับผิดในหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ถ้าสามีภริยาหย่ากันและแบ่งสินสมรสก่อนชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ฝ่ายใดจะเก็บรักษาเงินไว้อ้างว่าเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไม่ได้ ฎีกาที่ 1490/2558
         6.หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาต้องมีมูลหนี้สืบเนื่องมาจากนิติกรรมสัญญา ไม่รวมถึงหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดด้วย ดังนี้ การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งยักยอกเงินผู้อื่นเป็นความรับผิดในมูลละเมิด แม้นำเงินที่ยักยอกมาใช้จ่ายในครอบครัวก็ไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ฎีกาที่ 17261/2555 ทั้งนี้เพราะมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ฎีกาที่ 1137/2559 
         7.คู่สมรสกู้เงินจากผู้อื่นแล้วนำเงินไปซื้อทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นย่อมเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสตามมาตรา 1474(1) ส่วนหนี้เงินกู้เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสตามาตรา 1490(2) เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา คู่สมรสของลูกหนี้ต้องร่วมใช้หนี้เพราะเป็นหนี้ร่วม ฎีกาที่ 5274/2556
         8.คู่สมรสให้ความยินยอมการทำนิติกรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ฎีกาที่ 5118/2559,3425/2545 เป็นการให้สัตยาบันตามมาตรา 1490(4) เป็นหนี้ร่วม คู่สมรสต้องร่วมใช้หนี้ 
         9.มูลหนี้ละเมิดเป็นหนี้ที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว เป็นมูลหนี้ที่ไม่อาจให้สัตยาบันได้ จึงไม่ใช่หนี้ร่วมตามมาตรา 1490 ฎีกาที่ 1137/2559,2429/2555
        10.คู่สมรสลงชื่อเป็นพยานในสัญญา เป็นการให้สัตยาบัน คู่สมรสที่ยินยอมต้องรับผิดร่วมใช้หนี้ เพราะถือเป็นหนี้ร่วม ฎีกาที่ 7631/2552
        11.การที่คู่สมรสฝ่ายแรกทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบุคคลอื่น และคู่สมรสอีกฝ่ายหลังลงชื่อเป็นพยานในสัญญาค้ำประกัน นับเป็นการให้สัตยาบัน คู่สมรสฝ่ายหลังต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในมูลหนี้ค้ำประกันตามมาตรา 1490 มิใช่รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ดังนี้ การที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่คู่สมรสฝ่ายแรก ย่อมไม่เป็นโทษแก่คู่สมรสฝ่ายหลังที่ให้สัตยาบันด้วย จะนำบทบัญญัติมาตรา 692 ในเรื่องค้ำประกันมาใช้บังคับแก่คู่สมรสที่ให้สัตยาบันด้วยไม่ได้ ดูฎีกาที่ 14281/2558

      การก่อหนี้ ต้องคิดก่อนก่อหนี้ว่าจะมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ไม่ควรก่อหนี้เกินตัว
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ขอสอบถาม..เกี่ยวกับการค้ำ..หนี้สหกรณ์ครู

ดิฉันอยู่ในฐานะคนค้ำ..ซึ่งคนค้ำมีอยู่3คน

ตอนนี้คนกู้ได้ลาออกจากงาน(พนักงานจ้าง)..ทำให้ไม่สามารถหักเงินกู้ได้..ทำให้ทางผู้ค้ำเดือนร้อน..ทางสหกรณก็ทวงถามมาตลอด...

ทางผู้ค้ำจะมีทางออกยังไงบ้างคะ

(สำหรับผู้กู้นั่นมีสามีรับราชการอยู่..เราสามารถทำยังงัยได้บ้างเพื่อให้สามีของผู้กู้มีส่วนในการรับผิดชอบกับหนี้นี้..ในการกู้ครั้งนี้สามีได้เช็นยินยอมรับทราบเกี่ยวกับการกู้..)

โดยคุณ อัศนีย์พร 30 ธ.ค. 2562, 08:17

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยให้ลูกนี้ชำระต้นเงินกับดอกเบี้ยและค่าเสียหายที่ต้องเสียหายเพราะกันค้ำประกันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693
หากลูกหนี้และสามีจดทะเบียนสมรสกัน และหนี้ดังกล่าวถือเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ทางเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอากับสินสมรสของสามีของลูกหนี้ได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 15 ม.ค. 2563, 11:19

ความคิดเห็นที่ 2

ขออนุญาตสอบถามค่ะ

ฉันหย่ากับสามี2ปีแล้วค่ะ และมีการตกลงในการหย่าว่าทางสามีจะช่วยค่าเสี้ยงดูบุตรเดือนละ3000บาท เพราะมีลูกด้วยกัน2คน ฝ่ายทางสามีจ่ายให้แค่เดือนแรกที่หย่ากันค่ะ3000บาท จากนั้นก็ไม่จ่ายให้อีกเลย ดิฉันต้องเสี้ยงคนเดียวมาตลอด แต่ที่ยังไม่มีเรียกร้องตลอดระยะเวลา2ปีที่ผ่านมาเพราะอาศัยแฟลตฝ่ายสามีอยู่ซึ่งฝ่ายชายรับราชการทหารอยู่ ต่อมฝ่ายชายได้ดำเนินในการย้ายที่ทำงานไปอยู่กรมอื่น ฝ่ายชายต้องคืนแฟลตที่ดิฉันอาศัยกับลูก ดิฉันก็ต้องไปเช่าบ้านอยู่เพราะลูกเรียนแถวนี้อยู่ยังไม่จบค่ะ ดิฉันทำงานคนเดียวถ้าต้องจ่ายค่าเช่าบ้านจะลำบากมากค่ะ ดิฉันสามารถฟ้องเอาค่าเสี้ยงดูย้อนหลังได้ทั้งหมดหรือเปล่าค่ะ ถ้าทำได้ดิฉันต้องไปขอให้หน่วยงานไหนช่วยค่ะ ขอความเห็นใจค่ะ

โดยคุณ Wanrada 20 ม.ค. 2561, 08:16

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กรณีตามปัญหา  ท่านสามารถฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับสามีให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าได้ หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700


โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 1 ก.พ. 2561, 11:18

ความคิดเห็นที่ 1

ผมมีหลักฐานว่าผมกับเมียเลิกกันที แต่ตอนนี้เมียคบชู้หรือว่าได้ผัวใหม่ทั้งๆที่ยังขดทะเบียนสมรสอยู่

โดยคุณ Ntrun Bumrongsri 17 ม.ค. 2561, 22:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก