ปิดงาน นัดหยุดงาน พนักงานแอร์มิตซูฯ|ปิดงาน นัดหยุดงาน พนักงานแอร์มิตซูฯ

ปิดงาน นัดหยุดงาน พนักงานแอร์มิตซูฯ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปิดงาน นัดหยุดงาน พนักงานแอร์มิตซูฯ

  • Defalut Image

เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ส่งท้ายปี พนักงานแทนที่จะมีความสุขฉลองปีใหม่

บทความวันที่ 4 ม.ค. 2561, 11:02

มีผู้อ่านทั้งหมด 1146 ครั้ง


ปิดงาน นัดหยุดงาน พนักงานแอร์มิตซูฯ

                เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ส่งท้ายปี พนักงานแทนที่จะมีความสุขฉลองปีใหม่ กลับถูกบริษัทนายจ้างปิดงาน และขณะเดียวกันลูกจ้างก็นัดหยุดงาน ผู้อ่านหลายท่านสอบถามว่า คำว่าปิดงาน กับคำว่าเลิกจ้างมีความหมายเดียวกันหรือไม่ เพราะสื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วยังไม่เข้าใจ ทนายคลายทุกข์ขออธิบายว่า ปิดงาน หมายถึง มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง นายจ้างจึงเลือกวิธีการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด เมื่อพยายามทำทุกวิถีทางแล้วแต่ไม่บรรลุข้อตกลง จึงไม่ให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราวและไม่จ่ายค่าจ้าง ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายแรงงาน ส่วนการเลิกจ้างหมายถึงไม่ให้ทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้างตลอดไป ไม่ใช่ชั่วคราว กรณีของแอร์มิตซูฯเป็นเรื่องบริษัทและลูกจ้างมีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างการปรับเงินเดือนและโบนัสเท่านั้น ยังไม่ถึงขนาดมีการเลิกจ้าง และนายจ้างก็ปิดงานเฉพาะคณะกรรมการสหภาพแรงงานและผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น ส่วนพนักงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องก็ทำงานปกติ และเมื่อวันข้างหน้าในอนาคตตกลงกันได้ ลูกจ้างก็กลับทำงานปกติ ไม่ต้องถูกเลิกจ้าง

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้

                “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

                “ข้อพิพาทแรงงาน” หมายความว่า ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

                “การปิดงาน” หมายความว่า การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน

                “การนัดหยุดงาน” หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน

การระงับข้อพิพาทแรงงานมี 3 วิธีการ

                วิธีการแรก คือการไกล่เกลี่ยโดยกำหนดให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องมีหน้าที่แจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ภายใน 24 ชั่วโมง และให้ตกลงกันให้เสร็จภายในห้าวัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ตามมาตรา 18 ของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

                วิธีการที่สอง คือการชี้ขาดโดยการบังคับตามมาตรา 23 ข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัย และให้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้

                วิธีการที่สาม คือการชี้ขาดด้วยความสมัครใจโดยให้ทั้งสองฝ่ายตั้งผู้ชี้ขาด

            กฎหมายที่คุ้มครองลูกจ้างในระหว่างเจรจา (มาตรา 31) คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ฎีกาที่ 289/2525, 2392/2526, 5209/2537

-ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง

-ห้ามโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง

            การนัดหยุดงานห้ามบุคคลภายนอกเกี่ยวข้อง (มาตรา 32) ดังนั้นนักการเมืองหรือบุคคลภายนอกหรือลูกจ้างจากสถานประกอบการอื่นจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงานไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย

            การปิดงานและการนัดหยุดงาน

-เป็นมาตรการทางแรงงานสัมพันธ์ เพื่อกดดันหรือบีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมตกลงในข้อเรียกร้อง แต่ต้องกระทำโดยสันติวิธี ตามมาตรา 34

            การห้ามปิดงานและนัดหยุดงาน

1.ไม่เคยมีข้อตกลงหรือคำชี้ขาดมาก่อน ไม่เคยแจ้งข้อเรียกร้อง ตามมาตรา 13

2.ข้อเรียกร้องอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย

3.อยู่ระหว่างการบังคับตามข้อตกลง

4.ยังไม่มีการแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานหรืออีกฝ่ายหนึ่ง ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง

            กรณีที่ปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ตามกฎหมาย

1.มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 ดำเนินการตามมาตรา 22 วรรคสามแล้ว แจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตามมาตรา 34 วรรคสองแล้ว

2.กรณีมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และได้แจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าแล้ว 24 ชั่วโมง

3.ในกรณีมีคำชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานและไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด และมีการแจ้งพนักงานประนอมข้อพิพาทและอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมงแล้ว ตามมาตรา 34 วรรคสอง

            อำนาจพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการแก้ปัญหาการปิดงานและการนัดหยุดงาน

-มาตรา 35 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งให้นายจ้างซึ่งกำลังปิดงานอยู่เลิกปิดงานและรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ รวมทั้งสั่งให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานได้ หรือจัดให้บุคคลอื่นทำงานแทนลูกจ้างได้ หรือสั่งให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาดได้ อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2505/2541

                ปัญหาข้อพิพาทแรงงานระงับลงด้วยความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ควรใช้ตัวบทกฎหมายมาบังคับ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก