การเรียกค่าเสียหายเกินจริง|การเรียกค่าเสียหายเกินจริง

การเรียกค่าเสียหายเกินจริง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเรียกค่าเสียหายเกินจริง

  • Defalut Image

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวดังในโซเชียลถกเถียงกันเป็นประเด็นทางสังคมกรณีชายหนุ่มคนหนึ่ง

บทความวันที่ 28 ธ.ค. 2560, 09:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 5064 ครั้ง


การเรียกค่าเสียหายเกินจริง

         เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวดังในโซเชียลถกเถียงกันเป็นประเด็นทางสังคมกรณีชายหนุ่มคนหนึ่งไปรับประทานอาหารที่ศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าดังที่เชียงใหม่ หลังจากนั้นได้รับประทานอาหารไปแล้วบางส่วนแล้วพบแมลงสาบในจานอาหารที่รับประทานไปแล้วเกือบครึ่ง เมื่อพบว่ามีแมลงสาบก็ได้มีการตำหนิติเตียนพนักงานขายและเจ้าของร้าน พนักงานขายและเจ้าของร้านก็ขอโทษ แต่ชายคนดังกล่าวก็ไม่ยอม หลังจากนั้นได้มีการเจรจากับทางห้างซึ่งเป็นผู้ให้เช่าสถานที่ขายอาหารในศูนย์อาหารและมีการเจรจาเรียกค่าเสียหาย โดยเริ่มต้นเรียกจาก 3 ล้านบาท ต่อมาเจรจากันไม่ได้เรียกเพิ่มเป็น 6 ล้านบาท ล่าสุดเรียกเพิ่มเป็น 9 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นสิทธิของผู้บริโภคและฟ้องคดีเพื่อเป็นบรรทัดฐานเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภครายอื่น ประชาชนทางโซเชียลสอบถามผมมาว่าการฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าวทำได้หรือไม่ ทนายคลายทุกข์ขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้
           1. เมื่อเราถูกโต้แย้งสิทธิไปรับประทานอาหารแล้วพบแมลงสาบ ผู้บริโภคก็มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหาย หากไม่ชำระก็ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิ ก็มีสิทธิใช้สิทธิทางศาลเรียกค่าเสียหายตามความเป็นจริง ที่ตนเองได้รับกรณีนี้เป็นกรณีกระทำละเมิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ การใช้ราคารวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลจะต้องมีความสัมพันธ์กันจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
         2. การเรียกค่าเสียหายที่เกินจริงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล การฟ้องคดีเป็นการฟ้องเพื่อจะกลั่นแกล้งผู้ถูกฟ้องให้เกิดความกลัวเพื่อเป็นการประจานให้สาธารณชนทราบ ต้องการทำลายชื่อเสียงของผู้ประกอบธุรกิจ การกระทำดังกล่าวศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การใช้สิทธิฟ้องศาลต้องกระทำการโดยสุจริต อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2994/2558 ,ฎีกาที่ 7191/2551, ฎีกาที่ 1812/2552 ดังนั้น คดีนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจเห็นว่าผู้บริโภคคนดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงและใช้ศาลเป็นเครื่องกำบังก็มีสิทธิที่จะฟ้องกลับผู้บริโภครายนี้ได้ เพราะ การใช้สิทธิทางศาลในคดีแพ่ง บุคคลทุกคนต้องกระทำการโดยสุจริต การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องมีมูลเพียงพอที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 
         3.ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษากรณีผู้บริโภคไปซื้อข้าวถุง 1 ถุง หลังจากนั้นก็พบเชื้อราปนเปื้อนและเอาข้าวไปคืนร้านค้า ร้านค้าขอโทษและยินดีคืนเงินแต่ไม่ยอม เรียกค่าเสียหาย 300,000 บาทซึ่งคดีนั้นศาลฎีกายกฟ้อง อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 4829/2558 
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    มาตรา 5  ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต
    มาตรา 420  ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
    มาตรา 421  การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
    มาตรา 438  ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
    อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
การฟ้องคดีผู้บริโภคโดยผู้บริโภคได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม แต่ถ้าเรียกค่าเสียหายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ศาลอาจสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมได้
    มาตรา 18
 ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีผู้บริโภคซึ่งดำเนินการโดยผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด
ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคนำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร ประพฤติตนไม่เรียบร้อย ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็น หรือมีพฤติการณ์อื่นที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมโดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคนั้นได้รับยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2558 (เป็นกรณีการฟ้องคดีตามปกติ เรียกค่าเสียหายตามสมควรไม่เป็นละเมิด)

    การฟ้องคดีต่อศาลตามปกติย่อมไม่เป็นการละเมิด เพราะเป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายให้กระทำได้ เว้นแต่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้องโดยมิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล
    กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภคที่สุจริตเท่านั้นนะครับ 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก