ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน (ไม่ได้ยึดถือหรือพาอาวุธก็เป็นตัวการร่วมได้)|ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน (ไม่ได้ยึดถือหรือพาอาวุธก็เป็นตัวการร่วมได้)

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน (ไม่ได้ยึดถือหรือพาอาวุธก็เป็นตัวการร่วมได้)

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน (ไม่ได้ยึดถือหรือพาอาวุธก็เป็นตัวการร่วมได้)

  • Defalut Image

ความผิดฐานมีอาวุธปืนตามพรบ.อาวุธปืนและความผิดฐานพาอาวุธปืน

บทความวันที่ 26 ธ.ค. 2560, 12:03

มีผู้อ่านทั้งหมด 1201 ครั้ง


ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน (ไม่ได้ยึดถือหรือพาอาวุธก็เป็นตัวการร่วมได้)

            ความผิดฐานมีอาวุธปืนตามพรบ.อาวุธปืนและความผิดฐานพาอาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 โดยปกติเฉพาะผู้ที่ยึดถือหรือผู้ที่พาอาวุธปืนเท่านั้นที่มีความผิดดังกล่าว  อ้างอิงฎีกาที่ 1367/2550, ฎีกาที่ 15442/2553 แต่ถ้ามีการสมคบกันไปเพื่อกระทำความผิดอื่นโดยใช้อาวุธปืนในการกระทำผิดนั้นผู้ที่ไม่ได้ยึดถืออาวุธปืน ก็เป็นตัวการร่วมในความผิดดังกล่าวด้วย เพราะมีเจตนาจะใช้ประโยชน์จากอาวุธปืนการกระทำ ความผิดร่วมกัน อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5583/2538 ฎีกาที่ 1582/2531 ประชุมใหญ่

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2506

          ในกรณีที่จำเลยที่ 1,2 ถูกฟ้องร่วมกันมาเพื่อให้ใช้ค่าเสียหายนั้นถึงแม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับว่าได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจริง
          แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเช่นนี้ โจทก์ต้องนำสืบหักล้างให้ฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ประมาท ทั้งนี้เพราะคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 กระทำไปนั้นเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15442/2553
         แม้จำเลยที่ 2 จะมีส่วนร่วมรู้เห็นที่จำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนไปที่บ้าน ก. และเดินทางไปที่บ้าน ก. พร้อมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมคบคิดที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสี่มาตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2531
           ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดที่ร่วมกระทำด้วยกันได้ จำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้าย 7-8 คนไปปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวไป 6 กระบอก แม้จะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนติดตัวไปด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับคนร้ายอื่นไปปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเจ้าทรัพย์โดยใช้ปืนยิง เสร็จแล้วหลบหนีไปด้วยกันแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับคนร้ายอื่นมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ผมโดนจับข้อหามีปืน.38พร้อมลูก9นัดปืนลุกชองยาวพรอมลุก12ลูกปืนคาบินศาตัดสิน3ปีสารภาพเหลือ1ปีหกเดือนขอยื่นอุทรจะมีโอกาศรออาญาใหมครับ

โดยคุณ สมรถ กุงวานิช 26 ธ.ค. 2560, 20:13

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก