ประท้วงจ่ายโบนัสทำได้ไหม|ประท้วงจ่ายโบนัสทำได้ไหม

ประท้วงจ่ายโบนัสทำได้ไหม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ประท้วงจ่ายโบนัสทำได้ไหม

  • Defalut Image

ช่วงนี้มีข่าวพนักงานโรงงานรวมตัวกันหลายร้อยคน ประท้วงการจ่ายโบนัส

บทความวันที่ 21 ธ.ค. 2560, 09:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 1626 ครั้ง


ประท้วงจ่ายโบนัสทำได้ไหม


        ช่วงนี้มีข่าวพนักงานโรงงานรวมตัวกันหลายร้อยคน ประท้วงการจ่ายโบนัส หลายคนถามว่าทำได้ไหม ทำอย่างนี้นักลงทุนต่างชาติจะมาลงทุนในไทยไหม การกระทำของลูกจ้างถือว่าผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ ทนายคลายทุกข์ขอตอบครับ โบนัสนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายไม่ใช่ค่าจ้าง เป็นเพียงสวัสดิการ ยกเว้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ การประท้วงขึ้นโบนัสจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งกำหนดขั้นตอนการแจ้งข้อเรียกร้องไว้ก่อนประท้วง กรณีที่เป็นข่าวถือเป็นการประท้วงที่ผิดกฎหมายและผิดวินัยร้ายแรง เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เมื่อนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันได้ และไม่เอาโทษพนักงาน ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะกฎหมายแรงงานเจตนารมณ์เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การเจรจาโดยให้จบกันด้วยสัมพันธภาพที่ดีถือเป็นหัวใจของกฎหมายแรงงาน ตามคำนิยามและคำพิพากษาฎีกาข้างล่างนี้
               1.ความหมายของคำว่าโบนัส หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นสวัสดิการตอบแทนให้พนักงานที่ทำงานดี ไม่กระทำความผิดวินัย และส่วนใหญ่มักจะจ่ายในช่วงปลายปีโดยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของนายจ้าง ถ้านายจ้างมีผลประกอบการหรือกำไรดีก็จะจ่ายโบนัสเป็นจำนวนหลายเดือน แต่ถ้าผลประกอบการไม่ดี ก็จะไม่มีการจ่ายเงินโบนัส ตามกฎหมายไม่ได้บังคับให้จ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง กฎหมายบังคับเพียงบังคับให้จ่ายค่าจ้างให้ถูกต้องและตามกฎหมายเท่านั้น
              2.กรณีที่ต้องจ่ายโบนัสให้กับลูกจ้างเสมอถึงแม้ว่าบริษัทของนายจ้างจะขาดทุน เช่น สัญญาว่าจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีการเจรจาต่อรองกันก่อนที่จะทำสัญญาจ้างว่านายจ้างจะต้องจ่ายโบนัสให้กับลูกจ้างอย่างแน่นอนทุกปี เช่น ปีละสองเดือนหรือสี่เดือน เป็นต้น กรณีดังกล่าวถึงแม้บริษัทนายจ้างจะขาดทุนก็ต้องจ่ายโบนัส เพราะถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่บังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อมีการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด หรือไม่ได้มีสาเหตุมาจากตัวลูกจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่ายโบนัสให้กับลูกจ้างตามข้อตกลง ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษากรณีที่นายจ้างและลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างชัดแจ้ง ต้องจ่ายโบนัสถึงแม้นายจ้างจะขาดทุน เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 3373/2547,คำพิพากษาฎีกาที่ 1461-1462/2548 ,คำพิพากษาฎีกาที่ 6849/2548 
            3.ปัญหาการทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างเกี่ยวกับเรื่องโบนัสในทางปฏิบัติ ที่ทนายคลายทุกข์ได้พบเห็นมา ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทต่างชาติที่มีการระบุเงื่อนไขการจ่ายโบนัสที่สลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อน เขียนเนื้อหาไว้แบบกว้างๆ คลุมเครือ ไม่ชัดแจ้ง ทำให้เกิดการตีความไปหลายแง่มุม หลายความหมาย นอกจากนี้ไม่มีคำนิยามให้ละเอียดเกี่ยวกับโบนัส ทำให้เป็นปัญหาในทางปฏิบัติในการบังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและมีการร่างสัญญาจ้างแรงงานเป็นภาษาอังกฤษ เวลาแปลความเป็นภาษาไทยความหมายก็ผิดเพี้ยนไปตามความเข้าใจของผู้แปลในแต่ละคน ข้อความเดียวกันโจทก์และจำเลยแปลไปคนละทิศละทาง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าข้อเท็จจริงที่ยุติมีเพียงใด สุดท้ายทำให้ผู้พิพากษามีคำพิพากษาว่าการจ่ายโบนัสต้องขึ้นอยู่กับผลประกอบการของนายจ้างเท่านั้น เมื่อลูกจ้างคนอื่นไม่ได้โบนัส โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับโบนัส เป็นเต้น ทนายคลายทุกข์จึงขอแนะนำนายจ้างและลูกจ้างควรจะเขียนสัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับโบนัสให้ชัดแจ้ง ไม่ให้ต้องมีการตีความกัน เพราะจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติมาก
              4.ข้อยกเว้นไม่จ่ายโบนัสในสัญญาจ้างแรงงาน ควรจะระบุให้ชัดแจ้งว่ามีอะไรบ้าง เช่น ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือถูกเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรว่ากระทำความผิดร้ายแรง หรือลาออกจากงาน เป็นต้น ไม่ควรปล่อยให้มีการตีความเพราะจะสร้างภาระให้กับศาลแรงงานเป็นอย่างมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 8003/2543

               ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดไว้แต่เพียงว่าจ่ายโบนัสปีละ 2 ครั้ง งวดมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ส่วนจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้างจำนวนเท่าใดไม่ได้กำหนดไว้ ที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างปีละ 4.5 ของเงินเดือนตลอดมา(ระหว่าง 2534  ถึง 2539 ซึ่งมีกำไร) ไม่เป็นสภาพการจ้างอันมีผลผูกพันให้นายจ้างต้องจ่ายโบนัสให้จำนวนดังกล่าวตลอดไป การที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง ในปี 2541 (ระหว่าง ปี 2540 -2541 ซึ่งขาดทุน )เท่ากับเงินเดือน1 เดือน จึงเป็นการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2547
             ตามกฎหมายแรงงานไม่มีบทบัญญัติเรื่องการจ่ายเงินโบนัส ว่าเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อกิจการมีผลกำไรเท่านั้น กรณีจึงต้องพิจารณาจากข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งระบุว่า "เงินโบนัสปลายปี กรณีถ้าการจ้างของท่านไม่ถูกยกเลิกอันเป็นสาเหตุจากท่าน บริษัทฯ จะจ่ายท่านหนึ่งเดือนหรือตามอัตราส่วนการจ้างแรงงานของท่านระหว่างปีปฏิทินสิ้นสุด 31 ธันวาคม" ข้อความดังกล่าวชัดเจนว่าจำเลยตกลงจะจ่ายเงินโบนัสปลายปีให้แก่โจทก์ โดยมีข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเพียงประการเดียวคือกรณีที่โจทก์ถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุจากโจทก์ ดังนั้น แม้กิจการของจำเลยจะประสบกับภาวะขาดทุน จำเลยก็จะยกมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสปลายปีให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 6849/2548 
               ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือระหว่างนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือประโยชน์ของนายจ้าง หรือลูกจ้างที่เกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ตกลงกับลูกจ้างของจำเลยว่าจะจ่ายเงินพิเศษ (โบนัส) อันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานให้แก่ลูกจ้างของจำเลย ตามหลักเกณฑ์ในประกาศเอกสารหมาย จ.1 ประกาศดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินพิเศษ (โบนัส) ตามหลักเกณฑ์ในประกาศเอกสารหมาย จ.1 และการที่โจทก์ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการความปลอดภัยของจำเลยนั้นไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินพิเศษ (โบนัส) ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงจำต้องจ่ายเงินพิเศษ (โบนัส) ตามประกาศดังกล่าวให้แก่โจทก์
             โบนัสเป็นแรงจูงใจให้ลูกจ้างมีกำลังใจในการทำงาน ดังนั้น ถ้ามีข้อตกลงชัดแจ้งต้องจ่ายโบนัส นายจ้างก็ต้องจ่ายตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะอ้างว่าขาดทุนไม่ได้
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ไม่เคยเจอคำถามที่ตัวเองถามไปเลย

โดยคุณ DREAMMOL 25 ธ.ค. 2560, 22:28

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก