ค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกการใช้วงเงินเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม|ค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกการใช้วงเงินเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

ค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกการใช้วงเงินเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกการใช้วงเงินเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

  • Defalut Image

เมื่อท่านไปขอวงเงินกู้กับธนาคารเพื่อใช้วงเงินเมื่อธนาคารอนุมัติวงเงิน

บทความวันที่ 23 พ.ย. 2560, 11:33

มีผู้อ่านทั้งหมด 5263 ครั้ง


ค่าธรรมเนียมการขอยกเลิกการใช้วงเงินเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

           เมื่อท่านไปขอวงเงินกู้กับธนาคารเพื่อใช้วงเงินเมื่อธนาคารอนุมัติวงเงินแล้วก็จะมีข้อตกลงว่าหากยกเลิกการใช้วงเงินหรือปิดบัญชีและขอโฉนดคืนธนาคารจะปรับลูกค้าในกรณียกเลิกการใช้วงเงินในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคบังคับไม่ได้ ถือว่าเป็นบรรทัดฐานที่ดีมากในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ทนายคลายทุกข์จึงนำมาเผยแพร่ เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์มากครับ
คำพิพากษาฎีกาที่ 2942/2560
          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของเลยจำเลยเพียงประการเดียวว่า ข้อสัญญาในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาใช้วงเงินตั๋วเงินที่ว่า หากโจทก์ยกเลิกวงเงินตามสัญญาต้องเสียค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินในอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินที่ยกเลิกนั้นเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ นายสราวุธ  สิริยะวงศ์ พยานจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พิจารณาธุรกิจ 5 ของจำเลย เบิกความว่า โจทก์และจำเลยได้ตกลงเงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียม CANCELLATION FEE หรือค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญาหรือค่าธรรมเนียมในการชำระหนี้ก่อนกำหนดในอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินที่ยกเลิก จำเลยได้ติดประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญาดังกล่าวให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปทราบ โจทก์ทราบถึงประกาศของจำเลยดังกล่าวก่อนเข้าทำสัญญากับจำเลย ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวจำเลยดำเนินการภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเอกสารหมาย ล.19 และ ล.20 และประกาศอัตราค่าธรรมเนียมของจำเลยเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 และนายชลิต  ทับทิมทอง พยานจำเลยซึ่งเป็นพยานในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาการใช้วงเงินตั๋วเงินเอกสารหมาย จ.3 หรือ ล.1 และ จ.4 หรือ ล.3 เบิกความว่า พยานนำสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไปให้ผู้แทนโจทก์ลงนามในสัญญา เมื่อผู้แทนโจทก์ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานโจทก์ไม่ได้ทักท้วงใดๆ พยานได้เบิกความตอบคำถามค้านด้วยว่า สัญญาเอกสารหมาย ล.1 และ ล.3 เป็นสัญญาสำเร็จรูปที่ธนาคารจัดพิมพ์ไว้แล้วสอดคล้องกับคำเบิกความตอบคำถามค้านของนายสราวุธพยานจำเลยที่เบิกความว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นแบบฟอร์มเอกสารที่ธนาคารจัดทำไว้แล้ว เมื่อมีการทำสัญญาลูกค้าแต่ละรายก็จะมีการกรอกหรือพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมลงไปเกี่ยวกับสาระสำคัญของสัญญาซึ่งเจือสมกับคำเบิกความของนางสาวกัญญารัชช์  สิริพงษ์สกุล กรรมการผู้จัดการโจทก์สัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงเป็นสัญญาสำเร็จรูป และตามสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา แม้นายสราวุธพยานจำเลยจะเบิกความตอบคำถามค้านว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในแต่ละปีจำเลยจะทบทวนบัญชีของลูกค้าแต่ละรายว่ามีการเคลื่อนไหวทางบัญชีด้วยดีหรือไม่ หากมีการเคลื่อนไหวทางบัญชีด้วยดี จำเลยจะต่ออายุสัญญาคราวละ 1 ปี โดยอัตโนมัติ แต่ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.3 หรือ ล.1 ข้อ 10 ระบุว่า “ถึงแม้ว่าวงเงินเบิกเกินบัญชีที่ตกลงไว้ตามข้อ 1.2 จะยังคงมีเหลืออยู่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ตกลงยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิที่จะระงับการเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่จำต้องแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบ นอกจากนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมให้ธนาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ แล้วเรียกร้องให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระเงินจำนวนที่เบิกเกินบัญชี พร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างชำระคืนเมื่อใดก็ได้อีกด้วย” ส่วนสัญญาการใช้วงเงินตั๋วเงินลูกค้าแต่ละรายต้องเปิดบัญชีหักทอนหนี้ระหว่างกัน ลักษณะคล้ายกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ตามคำเบิกความตอบคำถามค้านของนายสราวุธ และตามสัญญาการใช้วงเงินตั๋วเงินเอกสารหมาย จ.4 หรือ ล.3 ข้อ 1 ระบุว่า “...ธนาคารอาจเปลี่ยนแปลงวงเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือระงับการใช้วงเงินเมื่อใดก็ได้...” ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.3 หรือ ล.1 ข้อ 1.5.2 และสัญญาการใช้วงเงินตั๋วเงิน เอกสารหมาย จ.4 หรือ ล.3 ข้อ 11 มีข้อความในทำนองเดียวกันว่า ให้ชำระค่าธรรมเนียม CANCELLATION FEE ในอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินที่ยกเลิก แสดงว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาการใช้วงเงินตั๋วเงินเอกสารหมาย จ.3 หรือ ล.1 และ จ.4 หรือ ล.3 เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและให้สิทธิแก่จำเลยที่จะบอกเลิกสัญญาเสียเมื่อใดก็ได้ ส่วนโจทก์หากประสงค์จะยกเลิกสัญญาต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ของวงเงินที่ยกเลิกตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาไม่ว่าสัญญานั้นจะดำเนินไปเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม เห็นได้ว่าเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่จำเลยผู้ประกอบธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นผู้กำหนดไว้ในสัญญาสำเร็จรูปซึ่งมีลักษณะผูกมัดโจทก์หรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการชำระหนี้ของโจทก์ไม่ให้ชำระหนี้จนสิ้นเชิงหากไม่ต้องการชำระค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญา โดยต้องคงความเป็นลูกหนี้ของโจทก์ไปตลอดเพื่อเสียดอกเบี้ยแก่จำเลย จึงเป็นข้อตกลงที่ให้ประโยชน์แก่จำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้โจทก์ผู้บริโภคต้องรับผิดหรือรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา ซึ่งเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ย่อมเป็นข้อตกลงที่ถือได้ว่าทำให้จำเลยได้เปรียบคู่สัญญาฝ่ายโจทก์ และเป็นการได้เปรียบเกินสมควร ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้ข้อตกลงในสัญญาที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นโมฆะ เพียงแต่ให้มีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควร เมื่อพิเคราะห์ถึงอำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความคาดหมายของโจทก์ การรับภาระที่หนักกว่ามากของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบกับจำเลย และภายหลังทำสัญญาโจทก์ไม่อาจไปขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าจำเลยอีกต่อไปเพราะทรัพย์ที่วางเป็นประกัน จำเลยจะคืนให้ต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมการยกเลิกวงเงินตลอดจนปกติประเพณีของสัญญาทั้งสองในคดีนี้กับแนวทางที่เคยปฏิบัติของจำเลยและทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริงแล้ว เห็นว่า หากให้ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด ก็ไม่อาจทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ จึงเห็นสมควรให้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น สำหรับฎีกาอื่นๆ ของจำเลยนอกนั้นไม่ใช่สาระสำคัญเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีนี้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย” พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
            ก่อนที่จะลงนามในการขอกู้เงินกับธนาคารควรอ่านเนื้อหาในสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อนลงลายมือชื่อ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ต้องการทราบว่าฎีกาที่ 2942/2560 เป็นคดีระหว่างใครเป็นโจทก์ครับ

โดยคุณ เอกลักษณ์ หะยีบือราเฮง 29 พ.ย. 2560, 11:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก