เจตนาซ่อนเร้นในการทำธุรกิจ|เจตนาซ่อนเร้นในการทำธุรกิจ

เจตนาซ่อนเร้นในการทำธุรกิจ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจตนาซ่อนเร้นในการทำธุรกิจ

  • Defalut Image

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมาก เจตนาของคู่สัญญาที่มาติดต่อ

บทความวันที่ 2 พ.ย. 2560, 16:38

มีผู้อ่านทั้งหมด 1896 ครั้ง


เจตนาซ่อนเร้นในการทำธุรกิจ

              การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนมาก เจตนาของคู่สัญญาที่มาติดต่อธุรกิจหรือนิติกรรมอาจมีเรื่องที่ไม่สุจริตซ่อนเร้นไว้ ดังนั้นคู่สัญญาจึงจะต้องมีที่ปรึกษากฎหมายคอยตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะมีการทำนิติกรรมสัญญากัน หากไม่ตรวจสอบก่อน ลงนามในสัญญาไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็จะทำให้เสียรู้และเสียหายทางทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ทนายคลายทุกข์จึงได้นำคำพิพากษาของศาลฎีกาเกี่ยวกับนิติกรรมซ่อนเงื่อนมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านในวันนี้เพื่อดูไว้เป็นอุธาหรณ์หากจะต้องลงทุนหรือทำธุรกิจร่วมกับผู้อื่นควรจะให้ที่ปรึกษากฎหมายตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะทำธุรกรรม ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับเจตนาซ่อนเร้นมีดังนี้
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536 
       หนังสือของโจทก์ที่มีไปถึงผู้จัดการสาขาของโจทก์ แจ้งให้ทราบว่าหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรจะต้องทำสัญญาค้ำประกันเป็นการส่วนตัวสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าค้ำประกันเป็นการส่วนตัวไม่มีข้อความใดให้เห็นว่าเป็นการค้ำประกันในนามกลุ่มเกษตรกร ภูมิลำเนาของผู้ค้ำประกันที่ระบุในสัญญาก็เป็นภูมิลำเนาของจำเลย มิได้ระบุว่าอยู่ที่ที่ทำการของกลุ่มเกษตรกร และในช่องลายมือชื่อของจำเลยก็มิได้มีข้อความให้เห็นว่าลงชื่อไปในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกร จำเลยจะถือเอาผลของสัญญาตามความคิดที่มีอยู่ในใจไม่ได้ ต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมาในขณะทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยค้ำประกันเป็นการส่วนตัว 
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2509 
       จำเลยทำสัญญาเป็นผู้กู้ แม้ในใจจริงจะถือว่าทำแทนผู้อื่นและไม่มีเจตนาให้ถูกผูกพันก็ตาม ก็ต้องผูกพันตามที่ได้แสดงเจตนาออกมา เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจนั้น
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12127/2558
        การที่โจทก์แสดงเจตนาให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินจากโจทก์ และบริษัท ล. นำเงินไปให้บริษัท ฟ. กู้ยืมต่อ เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงที่จะบังคับให้ผูกพันกัน แต่เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์ บริษัท ล. และบริษัท ฟ. โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้กู้ยืมไม่ต้องนำมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะอ้างว่าเป็นการกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือเท่านั้น กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ให้บริษัท ฟ. ซึ่งมิใช่บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมเงิน
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2558
      ในการทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตร จำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จริง หากแต่กระทำเพื่อที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ชำระค่าที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต และไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง หากแต่ที่ดินพิพาทยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสามในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยสมรู้ร่วมคิดกันย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง
5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9396/2555
       หลังจากรถกระบะของโจทก์ที่ 1 เฉี่ยวชนกับรถกระบะของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันได้รับความเสียหาย ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของทั้งสองฝ่าย และต่างไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน ตามบันทึกการตกลงค่าเสียหายทางแพ่ง ในวันเดียวกันโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงขึ้นอีก 1 ฉบับ โดยมีสาระสำคัญว่า ฝ่ายจำเลยรับว่าจะซื้อรถยนต์คันใหม่ให้แก่ฝ่ายโจทก์แล้วให้ฝ่ายโจทก์โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หมายเลขทะเบียน ก - 1146 อุดรธานี (ป้ายแดง) ให้แก่ฝ่ายจำเลย ตามบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง ซึ่งทำขึ้นก่อนบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของทั้งสองฝ่าย และต่างไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดอันใดที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองอันสืบเนื่องมาจากเหตุรถยนต์ทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันอีก เมื่อตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัยมาร้องขอให้ทำบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง อ้างว่าเพื่อช่วยเหลือโจทก์ทั้งสอง บันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง คู่สัญญามีเจตนาลวงเพื่อนำไปเป็นหลักฐานให้บริษัทประกันภัยซ่อมรถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 บันทึกการตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงไม่จำต้องรับผิดตามบันทึกการตกลงของคู่กรณีทางแพ่ง


การทำธุรกิจกับคนแปลกหน้าต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ มิฉะนั้นอาจตกเป็นเหยื่อของการแสดงเจตนาซ่อนเร้นได้
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก