สระผมแล้วไม่จ่ายค่าบริการผิดฉ้อโกงหรือไม่|สระผมแล้วไม่จ่ายค่าบริการผิดฉ้อโกงหรือไม่

สระผมแล้วไม่จ่ายค่าบริการผิดฉ้อโกงหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สระผมแล้วไม่จ่ายค่าบริการผิดฉ้อโกงหรือไม่

  • Defalut Image

เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา มีข่าว drama กรณีหญิงสาวชาวไต้หวันสองคน

บทความวันที่ 22 ต.ค. 2560, 15:57

มีผู้อ่านทั้งหมด 3008 ครั้ง


สระผมแล้วไม่จ่ายค่าบริการผิดฉ้อโกงหรือไม่


    เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา มีข่าว drama กรณีหญิงสาวชาวไต้หวันสองคน โทรศัพท์สั่งจองล่วงหน้าเพื่อสระผม ที่ร้านดังย่านสยามสแควร์ ต่อมามีกรณีพิพาทโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นรายประเด็นดังนี้ 
    ประเด็นแรก ราคาโดยลูกค้ายืนยันว่าตกลงกัน 250 บาท แต่เจ้าของร้านคิด 350 บาท ถ้าเป็นความจริงก็ถือว่าเจ้าของร้านผิดสัญญา 
     ประเด็นที่สอง โต้เถียงกันเรื่องน้ำที่ใช้สระผมเป็นน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเพราะลูกค้าอ้างว่าต้องเป็นน้ำอุ่น น้ำเย็นจะทำให้เป็นหวัด ถ้าเป็นความจริง ก็ถือว่าชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ เจ้าของร้านผิดสัญญา
    ประเด็นที่สาม โต้เถียงกันเรื่องการให้บริการที่ไม่ดี ธรรมเนียมของคนไต้หวันไม่ต้องชำระค่าบริการและเจ้าของกิจการต้องขอโทษ ผมไม่เชื่อว่าถ้าไม่พอใจการให้บริการแล้วมีสิทธิเบี้ยวไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ไม่น่าจะเป็นธรรมเนียมของไต้หวัน น่าจะเป็นการแกล้งโง่หรือที่โซเชียลมีเดียเรียกว่า “ทำเนียน” มากกว่าครับ หากลูกค้าเห็นว่าน้ำเย็นไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันก็น่าจะให้คนสระผมหยุดสระผมทันทีเพราะอ้างว่ากลัวเป็นหวัด แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้สระผมจนเสร็จแล้วไม่จ่ายค่าบริการ ถือว่าลูกค้าผิดสัญญา
    ประเด็นที่สี่ มีการด่าทอกันใช้ถ้อยคำหยาบคาย การประกอบธุรกิจผู้ให้บริการต้องมีจิตใจให้บริการไม่ควรแสดงกริยาก้าวร้าวหรือใช้คำพูดหยาบคายกับลูกค้า ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก เพราะเมื่อออกสื่อไปจะทำให้ภาพลักษณ์การบริการของประเทศเสียหาย และอาจมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 445/2522, ฎีกาที่ 73173/2558 
    ประเด็นที่ห้า มีการทำลายมือถือของลูกค้า โดยตบมือถือล่วงลงกับพื้นแต่ไม่เสียหาย มีความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, มาตรา 358
    ประเด็นที่หก เมื่อลูกค้าไม่จ่ายเงิน ปิดไฟแล้วขังลูกค้าไว้ในร้านไม่ให้ออกไปไหน แล้วบังคับให้ชำระค่าบริการ 250 บาท มีความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, มาตรา 310ทวิ
    ประเด็นที่เจ็ด ความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 341 มีองค์ประกอบความผิดสองอย่างดังนี้ 
    (1) โดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
    (2) โดยการหลอกลวงเช่นว่านั้น ได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ
   ประเด็นที่แปด ความผิดฐานฉ้อโกง ต้องเป็นการหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินไป การหลอกลวงที่จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น หลังจากหลอกลวงแล้วผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามต้องมีการสูญเสียทรัพย์สิน หรือส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้หลอกลวงหรือบุคคลที่สาม อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2728/2557 ถ้าผลของการหลอกลวง ทำให้ได้รับบริการเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้ทรัพย์สินไปจากผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 7262/2543 
    ประเด็นที่เก้า ไปสั่งอาหารกินในภัตตาคารสั่งเสร็จก็บริโภคเสร็จในสถานที่ในเวลาต่อเนื่องกันที่ร้านอาหารของผู้ขายพอกินอิ่มก็ไม่ชำระราคาค่าอาหาร ผิดฐานฉ้อโกงค่าอาหารตามมาตรา 345 หรือไม่ ที่ผ่านมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการสั่งซื้อสินค้าหรือบริโภคอาหารหรือเข้าจองโรงแรมเพื่อพักอาศัย รู้อยู่แล้วว่าไม่มีเงินที่จะชำระแต่ก็ยังเข้าไปใช้บริการ ถือว่าเป็นการฉ้อโกงค่าอาหารหรือค่าโรงแรงตามมาตรา 345 อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2505
    ประเด็นสุดท้าย มีท่านผู้อ่านถามว่าจัดงานแต่งงานแล้วสั่งจองโต๊ะจีนมาในงานแต่ง หลังจากโต๊ะจีนมาส่งเรียบร้อยแล้ว เจ้าของงานแต่งเบี้ยวไม่จ่ายค่าโต๊ะจีน จะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ศาลฎีกาเคยตัดสินแล้วว่าไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เพราะเป็นการซื้อของเชื่อผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1077/2511 


การให้บริการผู้ประกอบธุรกิจต้องใจเย็น ไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการใช้คำพูดที่รุนแรง

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก