เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้|เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้

  • Defalut Image

ตามกฎหมายใหม่ ป.วิพ.มาตรา 297 มาตรา 298

บทความวันที่ 4 ต.ค. 2560, 13:56

มีผู้อ่านทั้งหมด 9115 ครั้ง


เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้

         เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งไม่ได้เป็นชื่อของลูกหนี้ก็ได้  ตามกฎหมายใหม่ ป.วิพ.มาตรา 297 มาตรา 298 ถ้ามีพยานหลักฐานยืนยันได้ว่าทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อของบุคคลอื่นนั้นเป็นของลูกหนี้ก็ยืนยันยึดได้เลยนะครับ  ในวันนี้มีญาติของ ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์มาปรึกษาทนายคลายทุกข์ให้คำแนะนำดังนี้
          1) ถ้าจะร้องขอต่อเจ้าพนักงานคดีให้เพิกถอนคำสั่งก็ต้องหาเงินมาวางประกัน ตามมาตรา 299
          2) หากเจ้าพนักงานไม่เพิกถอนคำสั่ง ก็ไปร้องต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันทราบคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
          3) ส่วนการร้องขัดทรัพย์ ก็ต้องวางเงินร้อยละ 2 ของราคาทุนทรัพย์ที่โดนยึดเหมือนกับการฟ้องคดีทั่วไป และต้องยื่นร้องขัดทรัพย์ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการยึดตามมาตรา 323 นะครับ
อย่าลืมกฎหมายใหม่ มีประโยชน์กับเจ้าหนี้มากลูกหนี้ค่อนข้างจะอยู่ในอาการลำบาก
อธิบายข้อกฎหมายโดยทนายคลายทุกข์

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 297  ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจบังคับคดีเอากับทรัพย์สินดังต่อไปนี้ได้เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296
         (1) สินสมรสของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและคู่สมรสเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือทรัพย์สินของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งตามกฎหมายอาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
         (2) ทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งตามกฎหมายอาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
         ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 แห่งภาคนี้ที่เกี่ยวกับการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาใช้บังคับในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของบุคคลตามมาตรานี้โดยอนุโลม
 
มาตรา 298 ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น หากเจ้าพนักงานบังคับคดีสงสัยว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ยอมทำการยึดหรืออายัด ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายืนยันให้ยึดหรืออายัดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น หรือจะสั่งงดการยึดหรือการอายัดก็ได้ในกรณีที่สั่งงด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งห้ามการโอน ขาย ยักย้าย จำหน่าย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไว้ก่อน
         คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่งให้มีผลใช้บังคับได้ทันที และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคำสั่งห้ามให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบโดยเร็ว ในกรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จะต้องจดทะเบียนหรือได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งคำสั่งห้ามดังกล่าวให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทราบด้วยถ้าได้มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ในทะเบียน  ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 315 (1) และมาตรา 320 (1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
           เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งงดการยึดหรือการอายัดตามวรรคหนึ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและบุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่นทราบและบุคคลดังกล่าวอาจคัดค้านว่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ โดยยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับสำเนาคำร้อง และให้นำบทบัญญัติมาตรา 323 หรือมาตรา 325 แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยหากศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องแล้ว บุคคลดังกล่าวที่ได้ยื่นคำคัดค้านตามวรรคนี้จะใช้สิทธิตามมาตรา 323 หรือมาตรา 325  แล้วแต่กรณี อีกหาได้ไม่
         ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคสามหรือศาลมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องในวรรคสาม แต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้คำสั่งห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นอันยกเลิกไป และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าวให้บุคคลตามวรรคสองทราบด้วย
 
มาตรา 299  ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งห้ามตามมาตรา 298 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องตามที่ปรากฏในทะเบียนหรือหลักฐานอย่างอื่น หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น จะร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เพิกถอนคำสั่งห้ามดังกล่าวโดยวางเงินหรือหาประกันมาให้แทนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นก็ได้ ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีพอใจในเงินหรือประกันก็ให้เพิกถอนคำสั่งห้ามดังกล่าวและรับเงินหรือประกันนั้นไว้
ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องนั้นจะยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งห้ามโดยวางเงินหรือหาประกันมาให้ก็ได้ ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อทำการไต่สวนเป็นการด่วน คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด
          ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 298 วรรคสาม ถ้าไม่อาจยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นได้ แต่ได้มีการวางเงินหรือประกันไว้แทนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีแก่เงินหรือประกันที่รับไว้หรือแก่ผู้ประกันได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
         ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำร้องหรือศาลมีคำสั่งยกคำร้องตามมาตรา 298 วรรคสาม ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินหรือประกันที่รับไว้แก่ผู้วางเงินหรือประกันนั้นหรือยกเลิกการประกัน

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

มีคำสังบังคับคดีแก่ผู้ค้ำ ผู้ค้ำควรทำอย่างไรได้บ้างคะ

โดยคุณ หนี้กู้ยืมเงิน มีคำสังบังคับคดีแก่ผู้ค้ำ ผู้ค้ำควรทำอย่างไรได้บ้างคะ 31 ม.ค. 2561, 18:34

ตอบความคิดเห็นที่ 3

เจรจาชำระกับเจ้าหนี้ครับ แล้วค่อยไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 22 ก.พ. 2561, 16:26

ความคิดเห็นที่ 2

ในกรณีที่คนที่มีความผิดโอนที่ดินหรือบ้านให้ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยว่ามีความผิดในคดีอาญาต้องยึดทรัพย์  

ทรัพย์สินเป็นพวกมรดกที่ดิน บ้าน ที่โอนก่อนหน้าที่ศาลจะประกาศว่ามีความผิดจริงจะโดนยึดไปด้วยไหมค่ะ

โดยคุณ Panida 21 ม.ค. 2561, 10:39

ตอบความคิดเห็นที่ 2

กรณีตามปัญหา  แนะนำให้ท่านโทรปรึกษาทนายความโดยตรงที่เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 30 ม.ค. 2561, 14:22

ความคิดเห็นที่ 1

-1.แล้วถ้าลูกหนี้มีที่ 1 ไร่ ปลูกบ้านเลขที่ 65 หมู่2  

-2.ญาติปลูกบ้านเพิ่มในพื้นที่ 1 ไร่แล้วขอแยกเลขที่บ้านเป็น 65/1 หมู่2

-3.อาปลูกบ้านเพิ่ม แยกเลขที่บ้านเป็น 65/2 หมู่ 2

  อยากถามว่า กรณีนี้จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ ที่เป็นที่ดิน ที่ระบุไว้ 1 ไร่ ได้หรือไม่ครับ 

โดยคุณ suriyo 7 ต.ค. 2560, 13:37

ตอบความคิดเห็นที่ 1

เจ้าหนี้ขอยึดได้ครับ หากลูกหนี้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลง 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ต.ค. 2560, 15:19

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก