ผลของการเลิกจ้างแตกต่างจากการลาออก|ผลของการเลิกจ้างแตกต่างจากการลาออก

ผลของการเลิกจ้างแตกต่างจากการลาออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผลของการเลิกจ้างแตกต่างจากการลาออก

  • Defalut Image

ท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องลูกจ้างขอลาออกจากงาน

บทความวันที่ 28 ก.ย. 2560, 11:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 6221 ครั้ง


ผลของการเลิกจ้างแตกต่างจากการลาออก


           ท่านผู้อ่านหลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องลูกจ้างขอลาออกจากงานว่ามีผลทันทีหรือมีผลเมื่อถึงกำหนดตามหนังสือขอลาออก ปัจจุบันได้มีคำพิพากษาของศาลวินิจฉัยแล้วว่าหนังสือลาออกมีผลทันทีในวันที่ลูกจ้างยื่นโดยตรงกับนายจ้าง หรือมีผลทันทีที่จดหมายลาออกไปถึงนายจ้าง หลังจากนั้นลูกจ้างไม่สามารถเปลี่ยนใจโดยการถอนการแสดงเจตนาได้ นอกจากนี้นายจ้างยังมีสิทธิที่จะเลิกจ้างก่อนถึงกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือลาออกได้ ลูกจ้างมีสิทธิเรียกค่าจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างอนุมัติให้ออกก่อนกำหนดจนถึงวันที่กำหนดไว้ในหนังสือลาออกได้เท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยตามกฎหมาย ส่วนการเลิกจ้างหมายถึง การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ความหมายของการเลิกจ้างและการลาออกจึงต่างกันโดยสิ้นเชิง ลูกจ้างต้องทำความเข้าใจให้ดี ถ้ายังไม่มั่นใจก็อย่าเพิ่งยื่นหนังสือลาออก เพราะจะมีผลทันที ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องการลาออกและการเลิกจ้างมีดังนี้
  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10161/2551
          โจทก์แสดงความประสงค์ลาออกจากงานต่อจำเลยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 โดยให้มีผลวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งการเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้นนายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมตกลงหรืออนุมัติ จึงมีผลในวันที่โจทก์แจ้งไว้ และไม่อาจถอนเจตนานั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจ้างแรงงานย่อมจะมีผลสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 แม้จำเลยจะให้โจทก์ออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่โจทก์ประสงค์โดยโจทก์ไม่มีความผิด ก็มีผลทำให้โจทก์เสียหายเพียงเท่าที่ไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่โจทก์ประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันมีผลที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์    
ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 386 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงเจตนาดั่งกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่ 
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน   พ.ศ. 2541

มาตรา 17  วรรคสอง  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าว ล่วงหน้า เป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึง หรือก่อนจะ ถึงกำหนดจ่าย ค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผล เลิกสัญญากัน  เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง คราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า เกินสามเดือน
มาตรา 118  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง  ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
          ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
          การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
         ก่อนที่ลูกจ้างจะยื่นใบลาออกต้องทบทวนให้ดี มิฉะนั้นไม่สามารถถอนการลาออกได้ 

    

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ดิฉันทำงานในบริษัท แห่งหนึ่งอ.หัวหิน จ.ประจวบฯ เริ่มเข้าทำงาน ปลายปี 52 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วก็เกือบ 8 ปี  จมเมื่อวันที่ 3/10/60 ผู้จัดการมาแจ้งด้วยวาจาว่าจะให้ย้ายไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ (รังสิต) วันที่ 16/10/60 นี้ ดิฉันได้แจ้งกลับไปว่าไม่สามารถไปได้ เนื่องจากมีบ้านที่ซ์ื้อไว้ที่นี่และลูกที่เรียนหนังสือที่นี่  จึงขอไม่ย้ายไป ผู้จัดการแจ้งกลับมาว่า ไม่ไปก้อมีทางเดียว คือ ต้องออก // วันที่ 4/10/60 ผู้จัดการกลับมาแจ้งใหม่อีกครั้งว่า ถ้าไปปฎิบัติงานที่รังสิตไม่ได้ ก้อจะให้ปฏิบัติงานถึงสิ้นเดือนนี้ 31/10/60 และจะชดเชยให้ 3 เดือน ดิฉันจึงแจ้งกลับไปว่า ขอให้ทำหนังสือเลิกจ้างมา เพื่อไปยืนยันกับทางจัดหางาน แต่ทางผู้จัดการแจ้งว่าจะไม่มีหนังสือแจ้งหรือหนังสือเลิกจ้างให้ดิฉันเขียนจดหมายลาออกมาเอง แล้วจะทำเรื่องเงินชดเชยให้ ถ้าไม่พอใจจะไปฟ้อง ก้อจะไม่ได้หนังสือรับรองการทำงานและจะเสียประวัติ  

รบกวนสอบถามว่าควรทำเช่นไร และสิ่งที่บริษัทชดเชยและปฎิบัติกับพนักงานถูกต้องหรือไม่


** เหตุผลทีจะย้ายไปปฏิบัติงานที่รังสิต เนื่องจากว่า มีทัศนคติกับ ผู้จัดการ ทางไม่ดีในเรื่องงาน จึงไม่สามารถร่วมงานกันได้ จึงต้องย้ายไปปฏิ่บัิตงานที่ิอื่นแทน  และทางบริษัททราบดีว่า ดิฉันไม่สามารถไปได้แน่นอน **   

โดยคุณ koryoa 4 ต.ค. 2560, 14:10

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก