ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถูกเอาประกันภัยชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง|ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถูกเอาประกันภัยชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถูกเอาประกันภัยชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถูกเอาประกันภัยชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

  • Defalut Image

ปัจจุบันผู้เอาประกันถูกบอกล้างสัญญาเป็นจำนวนมาก เมื่อตัวผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย

บทความวันที่ 22 ก.ย. 2560, 11:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 3190 ครั้ง


ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ถูกเอาประกันภัยชีวิตมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

            ปัจจุบันผู้เอาประกันถูกบอกล้างสัญญาเป็นจำนวนมาก เมื่อตัวผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตก็จะไปสืบหาข้อมูลว่าผู้เอาประกันชีวิตเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลไหน ถ้ามีข้อมูลทางการแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรง และไม่ได้แจ้งให้ตัวแทนของบริษัทประกันชีวิตทราบ ก็จะเอามาเป็นเหตุในการบอกล้างสัญญา และไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ โดยเฉพาะประกันที่โฆษณาชวนเชื่อว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ ดังนั้นทนายคลายทุกข์จึงขออธิบายข้อกฎหมายมายังผู้อ่านว่าถ้าท่านจะทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิต ท่านมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของท่าน โรคร้ายแรงต่างๆ มิฉะนั้นก็อาจถูกบอกล้างสัญญาในภายหลังได้ซึ่งทำให้เป็นโมฆียะ 
ตัวอย่างของคดีที่ศาลตัดสินเกี่ยวกับคดีประกันชีวิต
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2535

             การที่สัญญาประกันชีวิตจะเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 ต้องเป็นกรณีที่บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจ จะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้ บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ ซึ่ง กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นคือบุตรโจทก์ หาใช่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความ จริง ที่ บุตร โจทก์เป็นโรคลมชักให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ.
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2501
            กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ บริษัทต่ออายุให้ เพราะผู้ถูกประกันชีวิตทำใบรับรองว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงผู้ถูกประกันชีวิตรู้อยู่ว่า ป่วยเกี่ยวกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์เป็นการปกปิดความจริงอันควรต้องแจ้งให้บริษัททราบบริษัทบอกล้างสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะได้
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2516 
            กรณีมีการยื่นคำเสนอขอประกันภัย หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับโรคร้ายแรงมีอยู่จนถึงเวลาที่ผู้รับประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญา    
4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2524
          ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่รู้ข้อความจริง เป็นคนอ่านหนังสือไม่ออก ไม่ทราบถึงความร้ายแรงของโรคความดันโลหิตสูงที่กำลังเป็นอยู่ ถือไม่ได้ว่า ผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว ละเว้นเสีย ไม่เปิดเผยข้อความจริง ดังนั้นสัญญาประกันชีวิตจึงสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2536
          นายล.ตัวแทนหาประกันชีวิตของจำเลยเอาแบบคำขอเอาประกันชีวิตให้เด็กหญิง ป. อายุเพียง 8 ปี ลงลายมือชื่อ ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วนายล.นำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าวไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิง ป. จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความป่วยเจ็บของตนให้ทราบได้ และไม่สามารถจะทราบความร้ายแรงของโรคที่ตนเป็นอยู่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 865 วรรคแรก คำขอเอาประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246 - 3250/2559
          สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องการความสุจริตหรือความไว้วางใจระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยรับรู้ ขณะที่ ส. ขอทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยทั้งห้า ส. ได้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยรายอื่นอีกนับสิบรายเป็นจำนวนหลายสิบกรมธรรม์ รวมเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยกว่า 47 ล้านบาท ย่อมถือได้ว่า ส. เป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการขอเอาประกันภัยไว้เป็นจำนวนเงินที่สูง โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเหมาะสมกับฐานะหรืออาชีพของ ส. หรือไม่อย่างไร และอาจมีมูลเหตุไปในทางไม่สุจริต การเอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยรายอื่นจึงถือเป็นสาระสำคัญที่ ส. ต้องเปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าทราบ เพราะอาจจูงใจให้จำเลยทั้งห้าเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่รับประกันภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้การที่จำเลยทั้งห้ายอมตกลงเข้าทำประกันภัยตามฟ้องกับ ส. จึงเกิดจากความไม่สุจริตของ ส. ที่ไม่เปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ สัญญาประกันภัยตามฟ้องย่อมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งห้าบอกล้างโดยชอบแล้ว สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2500
         การปกปิดข้อความจริงในเรื่องอาชีพของผู้เอาประกันชีวิตในเรื่องการชำระเบี้ยประกันของผู้เอาประกัน หรือแม้ในเรื่องที่ผู้เอาประกันชีวิตได้เอาประกันชีวิตไว้ก่อนแล้ว ถือว่าเป็นการปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งถ้าบริษัทรับประกันชีวิตทราบความจริงแล้วย่อมจะบอกปัดไม่รับประกัน สัญญาประกันชีวิตเช่นว่านี้เป็นโมฆียะ
         การบอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าว กฎหมายไม่ได้บังคับว่าให้บอกล้างกับผู้เอาประกันโดยตรง เมื่อบริษัทผู้รับประกันทราบถึงมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ย่อมบอกล้างแก่ผู้ซึ่งจะได้รับประโยชน์ในการประกันจากบริษัทผู้รับประกันได้
        ถึงแม้จะไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันก็ยังมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก