การประกาศข้อบังคับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามกฎหมายใหม่|การประกาศข้อบังคับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามกฎหมายใหม่

การประกาศข้อบังคับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามกฎหมายใหม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การประกาศข้อบังคับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามกฎหมายใหม่

  • Defalut Image

พรบ. คุ้มครองแรงงานพ. ศ. 2541 มาตรา 108 วรรค 2 ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับภายใน 15 วัน

บทความวันที่ 29 ส.ค. 2560, 11:55

มีผู้อ่านทั้งหมด 7612 ครั้ง


การประกาศข้อบังคับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามกฎหมายใหม่

           พรบ. คุ้มครองแรงงานพ. ศ. 2541 มาตรา 108 วรรค 2 ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา  มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่แก้ไขภายใน 15 วัน นับแต่แก้ไข และให้เผยแพร่หรือปิดประกาศ ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ระยะเวลาประกาศข้อบังคับเดิม 7 วันแก้ใหม่เป็น 15 วัน ของเดิม ต้องส่งสำเนาให้อธิบดี ของใหม่ไม่ต้องส่งครับ
            ทนายคลายทุกข์นำมาฝากครับ มาตรา 108, มาตรา 110 แก้ไขตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 6 พ.ศ 2560

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541
มาตรา 108
 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้
(1) วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
(2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
(3) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
(4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
(6) วินัยและโทษทางวินัย
(7) การร้องทุกข์
(8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา
ให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและดูได้โดยสะดวก

มาตรา 110  ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้นำมาตรา 108 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ตอนนี้ หากจะทำการแก้ไข ข้อบังคับการทำงานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติต่างๆ

สามารถแก้ไขแล้วติดประกาศได้เลยหรือไม่ครับ

หรือ

ต้องทำเอกสารให้ลูกจ้างเซ็นยินยอมให้มีการแก้ไขก่อนครับ (ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์)

โดยคุณ เกรท 3 ต.ค. 2562, 14:18

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ถ้าหากข้อที่เปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อสวัสดิการของลูกจ้าง ต้องให้ลูกจ้างเซ็นยินยอมก่อนค่ะ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 18 ต.ค. 2562, 15:10

ความคิดเห็นที่ 1

ค่าชดเชยเกษียณอายุเมือทำงานเกิน 20ปี จะได้ 400 วัน รึยังมีผลบังคับใช้วันไหนปีไหน

และจะได้ชดเชยอะไร เวลาเกษียณ และอายุเกษียณจะต้อง 60 -65 บังคับบริษัททุกที่ไหมต้องอย่างต่ำ60

โดยคุณ frist 20 ธ.ค. 2561, 14:18

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ยังไม่มีการใช้บังคับค่ะ เนื่องจากต้องรอให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนค่ะ และตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 มาตรา 118/1 หากบริษัทไหนกำหนดอายุเกษียณเกิน 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ค่ะ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 ธ.ค. 2561, 16:28

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก