สัญญาต่างตอบแทน|สัญญาต่างตอบแทน

สัญญาต่างตอบแทน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สัญญาต่างตอบแทน

  • Defalut Image

มีท่านผู้อ่านหลายท่านขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำสัญญาต่างตอบแทนทางการค้า

บทความวันที่ 25 ส.ค. 2560, 10:56

มีผู้อ่านทั้งหมด 8684 ครั้ง


สัญญาต่างตอบแทน

    มีท่านผู้อ่านหลายท่านขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำสัญญาต่างตอบแทนทางการค้าและการทำสัญญาต่างตอบแทนทั่วไป มายังทนายคลายทุกข์ ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสัญญาต่างตอบแทนมาเสนอท่านผู้อ่าน ดังนี้
          1.สัญญาทางกฎหมายมีทั้งสัญญาที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน แต่ในทางปฏิบัติ สัญญาเกือบทั้งหมดเป็นสัญญาต่างตอบแทนทั้งสิ้น เช่น สัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างก็มีหน้าที่ที่ต้องทำงานให้กับนายจ้าง ไม่ใช่มานั่งอยู่เฉยๆอู้งานไปวันๆหนึ่งแล้วไม่ทำงาน จะต้องทำงานตอบแทนนายจ้างด้วย นายจ้างจึงจะมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง สัญญาซื้อขายรถยนต์ หรือซื้อขายบ้านหรือที่ดิน ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องสงมอบรถยนต์หรือบ้านตามข้อตกลงในสัญญา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและเงื่อนเวลา ถ้าไม่ดำเนินการดังกล่าวผู้ซื้อก็ไม่ต้องชำระราคาตอบแทน นอกจากนี้ก็มีสัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินให้กับผู้เช่า ถ้าไม่ส่งมอบที่ดินให้กับผู้เช่า ผู้เช่าก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการเช่า ผู้เช่าก็ไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้กับเจ้าของที่ดิน สัญญาจองบ้านจองคอนโด หรือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านหรือคอนโดก็เช่นกัน ถ้าเจ้าของโครงการไม่ยอมสร้างปล่อยทิ้งร้าง ผู้ที่จองบ้านก็ไม่ต้องผ่อนดาวน์หรือชำระราคาตามที่ตกลง เพราะ ผู้ซื้อไม่ได้ประโยชน์ตอบแทนจึงไม่ต้องชำระหนี้ตอบแทนเช่นเดียวกัน
          2.ในกรณีคู่สัญญาฟ้องร้องดำเนินคดีกับคู่กรณีตามสัญญาต่างตอบแทน หากผู้ถูกฟ้องเห็นว่าโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ตอบแทน หรือมิได้ปฏิบัติตามสัญญาตอบแทน จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาที่ถูกฟ้อง ก็สามารถยกข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ขึ้นต่อสู้คดีกับโจทก์เพื่อให้ศาลเห็นว่าตัวเองไม่ต้องรับผิด เพราะตัวเองจะต้องรับผิดชำระหนี้ต่อเมื่อโจทก์จะต้องชำระหนี้ในส่วนของโจทก์หรือกระทำการใดๆตามสัญญาให้กับจำเลยด้วย  หากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน แต่ไม่ชำระหนี้ตอบแทน จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดตามฟ้อง หากฟังได้จำเลยก็จะชนะคดี 
    ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกา เกี่ยวกับสัญญาต่างตอบแทน
    1.ฎีกาที่ 1861/2535 (สัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดิน)

    เอกสารที่จำเลยโฆษณาขายอาคารพร้อมที่ดินปรากฏใจความและรูปภาพแสดงว่าจำเลยได้โฆษณาเสนอขายอาคารพาณิชย์มากกว่า 800 ห้องโดยระบุว่าเป็นโอกาสทองของผู้ลงทุนเพราะเป็นศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรมโรงภาพยนตร์ และตลาดสด ทั้งกำหนดโครงการสร้างเสร็จภายใน 1 ปีซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคาร 5 ห้อง พร้อมที่ดิน แม้จะไม่ปรากฏข้อความตามคำโฆษณาดังกล่าวสัญญานั้นก็ตาม แต่แผนผังแนบท้ายสัญญาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นแผนผังศูนย์การค้าที่จำเลยจะสร้าง แสดงที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรม โรงภาพยนตร์ ตลาดสด และอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อ ดังนี้ ศูนย์การค้าตามแผนผังจะมีรายละเอียดอย่างไร กำหนดสร้างเสร็จเมื่อไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำคำโฆษณาเสนอขายของจำเลยตอนทำสัญญาจะซื้อจะขายมานำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสาร สัญญาจะซื้อจะขาย มิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องสร้างศูนย์รวมรถเมล์ โรงแรมโรงภาพยนตร์ และตลาดสดในบริเวณศูนย์การค้าดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้โดยไม่สร้างศูนย์การค้าภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันถือว่าผิดสัญญา โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าซื้อก็ไม่จำต้องชำระเงินค่าซื้อต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 และยังมีสิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยได้ตามมาตรา 387 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วให้โจทก์ตามมาตรา 391
    2.ฎีกาที่ 2198/2514 (ประชุมใหญ่) (สัญญาประนีประนอมยอมความ)
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลว่า จำเลยยอมออกจากบ้านพิพาทภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันทำสัญญาในวันที่จำเลยขนย้ายออกจากบ้านโจทก์โจทก์ยอมจ่ายเงินให้จำเลยหนึ่งหมื่นบาททันที พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมออกไปตามสัญญายอมจนโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จับจำเลยมาขังไว้จนกว่าจำเลยจะออกไปดังนี้ สัญญายอมดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญา และการที่จำเลยออกจากบ้านพิพาทเพราะการบังคับคดีของศาล โจทก์จึงมิต้องจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาทให้จำเลย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2514)
    3.ฎีกาที่ 277/2553 (สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้าง)
    สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาการเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยต้องรีบลงมือก่อสร้างและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควรอันเป็นไปตามหลักสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 มิใช่ขึ้นอยู่กับความพอใจจำเลยว่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อใดก็ได้ แต่จำเลยมีหน้าที่ต้องรีบลงมือก่อสร้างโดยพลันตามมาตรา 203 
    ตัวบทกฎหมายอ้างอิง 
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
    มาตรา 369
ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระ หนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่งยังไม่ถึงกำหนด
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

โดนลูกแชร์โกงแชร์จะทำยังไงดีคะ จำนวนเงินเยอะมากค่ะ หลายคน สามารถฟ้องร้องได้มั๊ยคะ เดือดร้อนมากค่ะ เอาเงินต้นไปแล้วไม่ส่งต่อ  ติดต่อกลับ 093-9569926

โดยคุณ สุภาวัตน์ 4 ส.ค. 2561, 08:24

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก