ลูกจ้างส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดถูกไล่ออก|ลูกจ้างส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดถูกไล่ออก

ลูกจ้างส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดถูกไล่ออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ลูกจ้างส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดถูกไล่ออก

  • Defalut Image

ใบแจ้งหนี้ถือเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับหนี้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดแล้วเจ้าหนี้ก็จะมีใบแจ้งหนี้แจ้งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เป็นการเตือนครั้งแรก

บทความวันที่ 4 ส.ค. 2560, 09:33

มีผู้อ่านทั้งหมด 2690 ครั้ง


ลูกจ้างส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดถูกไล่ออก

            ใบแจ้งหนี้ถือเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับหนี้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดแล้วเจ้าหนี้ก็จะมีใบแจ้งหนี้แจ้งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เป็นการเตือนครั้งแรก ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นหนี้สินของลูกค้าถือเป็นความลับ หากเจ้าหนี้หรือตัวแทนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นหนี้ให้กับบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบก็จะมีความผิดตามกฎหมายทวงหนี้ มีโทษจำคุกและปรับ ลูกจ้างที่มีหน้าที่ออกใบแจ้งหนี้และส่งใบแจ้งหนี้จึงต้องระมัดระวัง ถ้าลูกจ้างออกใบแจ้งหนี้ไปยังลูกหนี้ผิดคน เช่น มีลูกหนี้หลายคนส่งใบแจ้งหนี้ของนายก.ไปให้นายข.และส่งใบแจ้งหนี้ของนายข.ไปให้นายก. นายจ้างซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ ดังนั้น ถ้าส่งใบแจ้งหนี้ผิดพลาดนายจ้างไล่ออกได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยยกเว้นลูกจ้างยับยั้งกับไปรษณีย์ไม่ให้ส่ง ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น ถ้าเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ไม่ต้องจ่ายค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรรม

คำพิพากษาฎีกา 10006/2559

            ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ลักลอบใช้ตราประทับของจำเลยที่ 1 ซึ่งคำว่าลักลอบไม่ได้ปรากฏอยู่ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ทั้งการลักลอบมีลักษณะเป็นการกระทำผิดทางอาญาซึ่งจักต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตหรือเจตนาร้อยหรือไม่ และการวินิจฉัยเกิดจากการรับฟังคำเบิกความของ น. ตอบคำถามทนายจำเลยทั้งสองที่ได้รับอนุญาตให้ถามเพียงอย่างเดียวไม่รับฟังที่ตอบคำถามทนายโจทก์ด้วย โจทก์จึงขาดเจตนาทุจริตหรือเจตนาร้ายเป็นการโต้เถียงพฤติการณ์แห่งคดีและพฤติกรรมของโจทก์อันเป็นแห่งคดีโดยหยิบยกคำพยานขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าโจทก์มีเหตุอันควรในการนำตราประทับของจำเลยที่ 1 ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจริง จึงไม่ใช่การกระทำที่พยายามปกปิดการปฏิบัติงานที่ประมาทเลินเล่อของตน ซึ่งเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

          แม้โจทก์จัดส่งจดหมายใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกค้าสองรายสลับซองกันเป็นการปฏิบัติงานที่ประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่การที่โจทก์นำตราประทับของจำเลยที่ 1 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ศ. ไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนส่งผลให้สำนักงานไปรษณีย์ได้ระงับการส่งจดหมายใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกค้าสองรายสลับซองกันแล้วมอบจดหมายคืนแก่โจทก์ เห็นได้ชัดว่าโจทก์กระทำไปโดยประสงค์จะปกป้องผลประโยชน์และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการให้บริการที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้แก่ลูกค้าของของจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความลับของลูกค้า หากมีการส่งจดหมายใบแจ้งหนี้สลับซองไปย่อมทำให้ความลับรั่วไหลส่งผลเสียแก่จำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนวิธีปฏิบัติการรับส่งเอกสารของจำเลยที่ 1 ไปบ้าง แต่ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพราะมีเหตุจำเป็น เมื่อจดหมายใบแจ้งหนี้สลับซองยังไม่ถูกส่งไปยังลูกค้าเพราะสำนักงานไปรษณีย์ได้ระงับการส่ง และต่อมาโจทก์ได้จัดส่งจดหมายใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกค้าโดยถูกต้องแล้ว ก็ย่อมถือว่าความเสียหายอย่างร้ายแรงยังไม่ได้เกิดขึ้นแก่จำเลยที่ 1 การกระทำของโจทก์เช่นนี้ไม่ใช่เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยทั้งสองไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (3) และ (4) จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างแก่โจทก์ ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง

           โจทก์จัดส่งจดหมายใบแจ้งหนี้ให้แก่ลูกค้าสองรายสลับซองกันซึ่งเป็นการปฏิบัติงานที่ประมาทเลินเล่อจนทำให้เกิดความวุ่นวายในองค์กร และโจทก์ใช้วิธีแก้ไขข้อผิดพลาดโดยที่ผิดแนวทางปฏิบัติลักลอบนำตราประทับของจำเลยที่ 1 ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำที่พยายามปกปิดการปฏิบัติงานที่ประมาทเลินเล่อของตน แม้จำเลยที่ 1 จะยังไม่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแต่เป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องสุจริต จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 และมีเหตุผลที่จะไม่ไว้วางใจ ให้โจทก์ทำงานต่อไปถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยทั้งสองไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์

             แม้จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 และมาตรา 820 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์

           บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ก. ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วมีหน้าที่จ่ายเงินให้โจทก์เมื่อสิ้นสมาชิกภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 7 และมาตรา 23 เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ แม้โจทก์จะได้รับหนังสือแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพกองทุนของโจทก์จากจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ว่ากล่าวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 119  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

มาตรา 49  การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก