ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้จำนอง|ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้จำนอง

ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้จำนอง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้จำนอง

  • Defalut Image

1.หนี้จำนอง ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระจะขอรับชำระหนี้จำนองไม่ได้แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิ์ของผู้รับจำนอ

บทความวันที่ 16 ก.ค. 2560, 11:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 7221 ครั้ง


ความรู้เกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้จำนอง

1.หนี้จำนอง ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระจะขอรับชำระหนี้จำนองไม่ได้แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิ์ของผู้รับจำนองโดยขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและขอกันเงินจากการขายทอดตลาดได้ อ้างอิงฎีกาที่ 378/2559
2. เจ้าหนี้จำนองต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อน วันขายทอดตลาด ได้แล้วเป็นเกณฑ์ หากมีการเลื่อน ให้ยื๋นได้ก่อนวันขายทอดตลาดครั้งหลังฎีกาที่ 1995/2535 ฎีกาที่ 7569/2549
3.เจ้าหนี้ผู้รับจำนองแม้จะไม่ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนขายทอดตลาดก็ไม่ทำให้จำนองระงับเพราะการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่ใช่เหตุทำให้การจำนองระงับตามมาตรา 744 และไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่มีอยู่ตามกฎหมายการจำนองจึงยังคงติดไปกับทรัพย์นั้น ฎีกาที่ 1779-1780/2509 และฎีกาที่ 1871/2550
4 ผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ จำนองก่อนขายทอดตลาดการบังคับคดีก็ไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิจำนองผู้รับจำนองอาจร้องขอให้บังคับ เหนือทรัพย์สินนั้นได้ ดังนั้นถ้าได้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองผู้รับจำนองก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาด ฎีกาที่ 2698/2546 ฎีกาที่ 1551/2543

ด้วยความปรารถนาดีจาก
ทนายเดชา  กิตติวิทยานันท์ 
ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์
วิทยาลัยวิทยากรฝึกอบรมด้านกฎหมาย สินเชื่อสถาบันการเงิน

คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2559

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติให้มาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้แห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 มีความหมายว่า หากบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ นั้น เป็นสิทธิประเภทที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามมาตรา 288 หรือบังคับให้ชำระหนี้ตามมาตรา 289 ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่แม้มิได้ใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนตามบทบัญญัติดังกล่าว การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ดังกล่าวอยู่นั่นเอง ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึด หนี้ตามสัญญาจำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้กันเงินจากการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองไว้ให้แก่ผู้ร้องด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 หาใช่เป็นการร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ แม้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระอันจะขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ก็ตาม แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิอื่น ๆ ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287 และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2535
การยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้ของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสองนั้น ต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์นั้นขายทอดตลาด ดังนั้นเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นภายหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้เอาเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้จำนองของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้.

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2549
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพื่อใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองได้กำหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอด เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกไม่มีผู้สนใจเข้าประมูลราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีได้งดการขายและประกาศขายทอดตลาดใหม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนวันที่ประกาศขายทอดตลาดใหม่ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์จำนองนั้นออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายกำหนด
การยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 มีผลเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำนองและตาม ป.พ.พ. มาตรา 715 (1) ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ย ทั้งสัญญาจำนองที่ดินก็ระบุให้ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้ง ดังนี้ วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นไม่รวมถึงหนี้ดอกเบี้ย ผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้แต่หนี้จำนองเป็นเพียงอุปกรณ์ การบังคับจำนองได้เพียงใดต้องพิจารณาจากหนี้ประธานว่ามีจำนวนเท่าใด ถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธาน

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779 - 1780/2509
จำเลยเอาที่ดินมาวางเป็นหลักประกันทุเลาการบังคับคดีในระหว่างพิจารณาคดี จำเลยตายไปเกินกว่า 1 ปี ไม่มีผู้ใดขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คดีเฉพาะตัวจำเลยจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับแก่การประกันนั้นได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 และอายุความเจ้าหนี้ของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 จะนำมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสองให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด แต่ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองหมดสิทธิไปไม่ ดังนั้นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่กระทบถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2550
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่ามีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นยึดทรัพย์จำนองไว้แล้วหรือไม่ และไม่เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนอง เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับคดีเหนือทรัพย์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการไม่บังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 271 ก็ไม่เป็นเหตุให้หนี้จำนองระงับสิ้นไป ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์ที่จำนอง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะขยายระยะเวลาบังคับคดีให้ตามคำร้องของโจทก์

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ขอสอบถามครับท่าน กรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีการยึดที่ดินไว้แล้ว มีการร้องขอรับชำระหนี้จำนองแล้ว และศาลสั่งให้ทรัพย์หลุดเป็นสิทธิของผู้รับจำนองและศาลลงในรายงานให้แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีเช่นนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองจะต้องขอออกหมายตั้งบังคับคดีหรือไม่ครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
โดยคุณ นายกันตภณ อรรถวรรธน 2 ก.พ. 2567, 18:26

ความคิดเห็นที่ 1

สอบถามค่ะ ตอนนี้ผ่อนบ้านกับcimb ไม่ไหว เข้าเดือนที่4ที่ไม่ได้ชำระค่างวดบ้าน เคยทำการขอปรับลดวงเงินแล้ว1ครั้งแต่รายจ่ายที่แสนจะเยอะต่อเดือนทำให้หาเงินมาจ่ายค่างวดบ้านไม่พอ มีวิธีไหนที่จะเจรจากับทางธนาคารได้มั้ยค่ะ เจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าถ้าเดิอนนี้ยังไม่ได้จ่าย จะส่งเรื่องเข้าทางกฎหมาย อยากจะขอเจรจาพักชำระหนี้สัก3เดือนหรือปรับวงเงินอีกรอบทำได้มั้ยค่ะ

โดยคุณ Baifren Na 6 ส.ค. 2560, 07:13

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ท่านสามารถเข้าเจรจากับเจ้าหนี้ได้ตลอดครับ เพื่อหาทางออกปัญหาหนี้ เพราะหากเจรจาไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ ท่านจะไม่ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 29 ส.ค. 2560, 14:35

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก